กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 1,836

[16.3937891, 98.9529695, กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์]

           การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก 
           การสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมายตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีรกาสัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพล ลงไปสร้างเมืองละโว้ได้ 19 ปี เมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ 1011 พรรษา จุลศักราชได้ 10 ปีระกาสัมฤทธิศก แล้วพระยากาฬวรรณดิศราช ให้พระยาทั้งหลายไปตั้งเมืองอยู่ทุกแห่ง แลขุนนางขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี เมืองสันตนาหะ แลเมืองอเส เมืองโกสัมพี แล้วมานมัสการที่พระพุทธเจ้าตั้งบาตรตำบลบ้านแม่ซ้องแม้ว จากพงศาวดารเหนือ และประวัติเมืองตาก ทำให้เราสามารถประมวลได้ว่าเมืองโกสัมพีนคร น่าจะสร้างราว พ.ศ. 1011 โดยพระยากาฬวรรณดิศ เจ้าเมืองตาก ได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นสี่เมือง มีนครโกสัมพีด้วย หลังจากนั้นได้ทิ้งเมืองตากให้ร้าง และเสด็จไปสร้างเมืองละโว้ และครองละโว้ พระราชธิดาคือนางจามเทวี ได้เสด็จตามลำน้ำปิง ทำสงครามกับเจ้าชายแห่งโกสัมพี เป็นศึกแห่งความรัก และเจ้าชายโกสัมพี สิ้นพระชนม์ที่วังเจ้า พระนางได้บูรณะ เมืองตากขึ้นใหม่เมื่อเสร็จแล้วจึงเสด็จไปครองเมืองหริกุญชัย (ลำพูน)  
          เมืองโกสัมพี สันนิษฐานว่าเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์ เราได้สำรวจพบ ขวานหินในยุคหิน กลางเมืองโกสัมพี จำนวนมาก และอาจเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเป็นเมืองโกสัมพี ในยุคทวาราวดี และ กลายเป็นเมืองร้าง ในราวพุทธศกัราช 1800 และร้างมานาน กว่า 700 ปี เมื่อไปสำรวจ จึงไม่พบ สิ่งก่อสร้างใดๆ เลย นอกจากกองอิฐกองแลง แร่ตระกรัน จำนวนมากเท่านั้น สิ่งที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งในนครโกสัมพี คือศาลท้าวเวสสุวรรณ อาจจะเป็นหลักเมืองของเมืองโกสัมพี ในสมัยโบราณ ปัจจุบันยังมีผู้คนกราบไหว้มิได้ขาด เมืองเป็นรูปวงรีคล้ายกับเมืองไตรตรึงษ์ มีคันดินและคูเมือง โดยรอบ ยังมีหลักฐานให้เห็นรอบเมือง ลักษณะเมืองตั้งอยู่บนเนินเขา ริมน้ำปิงมีคลองเมือง เป็นคูเมืองด้านเหนือ นับว่านครโกสัมพี มีชัยภูมิที่เหมาะในการรักษา                     
          ปัจจุบันสภาพเมืองโกสัมพี จึงรกร้างขาดผู้ดูแล ครั้งในอดีตเคยเป็นป่าช้า ประจำตำบล โกสัมพี มีเรื่องเล่าที่พิสดารมากมาย จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เช่นเล่าว่าเป็นเมืองลับแล เมืองอาถรรพณ์ ทำให้น่าสนใจยิ่งนัก นครโกสัมพีเป็นเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่สมควรได้รับการขุดแต่ง และหาหลักฐานให้กระจ่าง ผู้คนอายุต่ำกว่าหกสิบปี ในบริเวณเมืองเก่าโกสัมพีนี้ ต่างไม่ทราบประวัตินครโกสัมพีแล้ว นับว่าเป็นเรื่องเศร้านัก ฝากกรมศิลปากร ได้มาศึกษานครโกสัมพีอีกครั้ง ก่อนที่หลักฐานทั้งหมดจะหายไป
          เมืองรอ หลักฐานตามพงศาวดารเหนือมีในความว่า พระมหาพุทธสาครเป็นเชื้อสายมา ได้เสวยราชสมบัติอยู่ริม เกาะหนองโสน ที่วัดเดิมกันมีพระมหาเถร ไสยลายองค์หนึ่งเป็นเชื้อมาแต่พระรามเทพได้พระบรมธาตุ 650 พระองค์ กับพระศรีมหาโพธิสองต้น จากเมืองลังกาได้พาพระมหาสาครไปเมืองสาวัตถี ถ่ายเอาอย่างวัดเชตวนาราม มาสร้างไว้ต่อเมืองรอ แขวงบางทานนอก เมืองกำแพงเพชร ชื่อวัดสังฆคณาวาศ แล้วเอาพระศรีมหาโพธิใส่อ่างทองคำมาปลูกไว้ริมหนองนา กะเล นอกวัดเสมาปากน้ำแล้วเชิญพระบรมธาตุบรรจุไว้ด้วย 36 พระองค์ จึงให้ชื่อว่าวัดพระศรีมหาโพธิ  แสดงว่า เรื่องเมืองรอ มีเค้าความจริงอยู่ เราจึงลงมือสำรวจเมืองรอ โดยมีแผนที่วังลอ ของเทศบาลตำบลพรานกระต่ายเป็นแผนที่นำทางมีอาจารย์นิรันดร์ กระต่ายทองและคณะ ประกอบด้วย นายเสน่ห์ หมีพรพฤกษ์ ผู้ใหญ่บ้าน นายสมบูรณ์ ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้านวังลอ นายปั่ง ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน นายสว่าง สร้อยพะยอม อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางปิ่น กระต่ายทอง ผู้อาศัยวังลอมาช้า โดยนัดกันที่บ้านอาจารย์ นิรันดร์ กระต่ายทอง วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.00 น. หลังจากประชุมหาข้อมูลกันประมาณหนึ่งชั่วโมง แล้วจึงลงมือสำรวจ โดยการนไของผู้นำทางข้างต้นและมีผู้ติดตามไปอีกเกือบ 20 คน สำหรับสายน้ำวังรอ ซึ่งมีความน่าจะเป็นคูเมืองรอในอดีต ปัจจุบันได้ถมทำถนนไปกว่าร้อยละ 80 เปิดเป็นแนวคูเมืองให้เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ภายในเขตเมืองรอที่คณะของเราค้นหาเต็มไปด้วยเตาถลุงเหล็ก อย่างมากมาย อาจเป็นเพราะว่าเมืองรอนี้น่าจะสร้างราวปีพุทธศักราช 1600 มีพระมหากษัตริย์ ที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ คือ พระมหาพุทธสาคร ที่นำพระบรมธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานในเมืองรอ ตามข้อความจากพงศาวดารเหนือ พระราชพงศาวดารเหนือได้เรียงลำดับกษัตริย์ในสมัยอโยธยา เริ่มตั้งแต่จุลศกัราช 501 ตรงกับพ.ศ. 1682 มีรายพระนามดังต่อไปนี้ 
          1. พระเจ้าปทุมสุริยวงศ ์ปฐมกษัตริย์
          2. พระเจ้าอินทราชา โอรสพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์
          3. พระเจ้าจันทราชา โอรสพระเจ้าปทุมสุริยงศ์
          4. พระร่วง โอรสพระจันทราชา    
          5. พระเจ้าลือ อนุชาพระเจ้าร่วง
          6. พระมหาพุทธสาคร เชื้อกษัตริย์มาจากที่อื่น 
          7. พระยาโคตรบอง โอรสพระมหาพุทธสาคร 
          8. พระยาแกรก พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่ 
          9. พระเจ้าสายน้ำผึ้ง พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่
         10. พระยาธรรมิกราช โอรสพระเจ้าสายน้ำผึ้ง   
          เราไปพบวัดที่อาจเชื่อได้ว่า คือ วัดสังฆคณาวาศ ในเมืองรอปัจจุบันมีชื่อว่า วัดโพธาราม เป็นวัดร้างมีหลักฐานอยู่ไม่กี่แห่ง ที่สำคัญที่วัดโพธาราม มีต้นโพธ์ขนาดใหญ่ อาจจะเป็นต้นโพธ์ที่พระมหาพุทธสาคร เจ้าแห่งเมืองบางพาน นำมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองรอ แห่งนี้อาจจะเป็นไปได้ จากคำบอกเล่าของภูมิปัญญาที่น คณะของเรามาชมเมืองรอแห่งนี้ 
          เมื่อถามว่า วังลอแห่งนี้ ใช่เมืองรอ ในอดีตหรือไม่ คำตอบคือมีโอกาสเป็นไปได้สูง แต่ต้อง ค้นคว้าหาความจริงกันต่อไป เมื่อมีหลักฐานแน่นอน เราจึงฟันธง ได้ว่าวังลอในปัจจุบัน คือ เมืองรอในอดีต ขอบคุณประชาชนชาววังลอ ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการสำรวจครั้งนี้อย่างดียิ่ง เราเริ่มเห็นความเป็นไปได้ของเมืองรอ ว่าคือ วังลอ ในปัจจุบันที่เทศบาลตำบลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อาจเป็นการเริ่มต้นสำรวจอย่างจริงจังต่อไป

คำสำคัญ : กำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1289&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1289&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,370

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพ.ศ. 2315 พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง 3 ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,929

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,517

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,729

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 6,758

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย 

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,191

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,146

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 790

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,257

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,604