ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 2,616

[16.4258401, 99.2157273, ฆ้องสามย่าน]

ฆ้องสามย่าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Kalanchoe laciniata (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบหิน (CRASSULACEAE)
สมุนไพรฆ้องสามย่าน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เถาไฟ ฮอมแฮม (แม่ฮ่องสอน), คะซีคู่ซัวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ส้นเส้า, มือตะเข้, ทองสามย่าน, ใบทาจีน เป็นต้น

ลักษณะของฆ้องสามย่าน
        ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป กลิ่นของพรรณไม้ชนิดนี้สด ๆ จะมีกลิ่นคล้ายการบูรกับผิวส้ม
        ใบฆ้องสามย่าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะองใบมีหลายรูปร่าง ใบบริเวณกลางลำต้นจะเว้าเป็นแฉกลึกแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ดูคล้ายใบประกอบ แต่ละแฉกจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ตรงปลายแหลม ขอบจักเป็นฟันเลื่อยแกมซี่ฟันหยาบ ๆ มีสีเขียวและมีไขเคลือบ ใบมีที่เล็กกว่าขอบใบมักจะเรียบหรือเกือบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และแบน ค่อนข้างจะโอบลำต้นไว้ ส่วนใบบริเวณโคนต้นจะไม่เว้าหรือเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หรือเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ตรงขอบเป็นจักซี่ฟันแกมเป็นคลื่นและไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบสั้น ใบทั้งสองแบบจะเป็นสีเขียวอ่อนและอาจมีสีม่วงแซม
         ดอกฆ้องสามย่าน ออกดอกเป็นช่อชูขึ้นบริเวณปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีใบประดับแคบและเล็ก ส่วนกลีบรองกลีบดอกเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม ตั้งตรง ตรงโคนเชื่อมติดกัน ส่วนตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนกลีบดอกเป็นรูปทรงแจกัน ส่วนโคนนั้นจะพองออกสังเกตเห็นได้ชัด จะมีสีเขียว ส่วนบนจะมีสีเหลือง ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ซึ่งจะมีอยู่ 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน โผล่พ้นกลีบดอกออกมาเล็กน้อย ส่วนท่อเกสรเพศเมียเกลี้ยงและยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปหอก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยงและเป็นสีเขียว
         ผลฆ้องสามย่าน ผลเป็นผลแห้ง ออกผลเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน แตกตามตะเข็บเดียว

สรรพคุณของฆ้องสามย่าน
1. ใบฆ้องสามย่านใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงร่างกาย (ใบ)
2. ใบใช้ผสมกับดีปลี จันทน์ทั้งสอง ใบน้ำเต้า ดอกบัวหลวงขาว ละลายน้ำดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกแคแดง น้ำตำลึง เป็นยาแก้ไข้เพื่อลม ไข้เพื่อโลหิต ไข้เพื่อเสมหะ และทำให้
    ตัวเย็น (ใบ)
3. ตำรายาไทยใช้ใบเป็นยาเย็นดับพิษร้อน แก้ร้อนใน (ใบ)
4. ใบนำมาตากแดดให้แห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ทาลิ้นเด็กอ่อนเป็นยาแก้ละอองซางได้ชะงัด (ใบ)
5. ใบใช้ตำพอกหน้าอกรักษาอาการไอและเจ็บหน้าอก (ใบ)
6. ใบใช้รับประทานเป็นยาแก้บิด รักษาอาการท้องร่วง (ใบ)
7. ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ใบ)
8. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบนำมาตำพอกรักษาบาดแผลมีดบาด น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาห้ามเลือดในแผลสดได้ดี (ใบ)
9. ใบใช้เป็นยาพอกบาดแผล บรรเทาอาการระคายเคืองและทำให้แผลหายได้โดยมีเนื้องอกมาปิดแทน เป็นยาสมานและฆ่าเชื้อบาดแผล (ใบ)
10. ใบใช้ตำพอกกันแผลฟกช้ำ แผลไหม้ แผลเรื้อรัง แผลฝีมีหนอง (ใบ)
11. ใบใช้ตำพอกฝีทำให้เย็นเป็นยาถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน รักษาอาการเจ็บปวด แก้พิษอักเสบปวดบวม พิษตะขาบ แมงป่องต่อย (ใบ)
13. ใช้เป็นยาแก้งูพิษกัด ด้วยการใช้ใบสด 5 กรัม ผสมกับต้นสดฟ้าทะลายโจร 15 กรัม (Andrographis paniculate Nees) เอาไปตำชงด้วยเหล้าที่หมักจากข้าว ใช้กินครั้งเดียวหมด (ใบ)
14. ใบนำมาคั้นเอาน้ำมาผสมปรุงกับน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาโรคอวัยวะโตที่เรียกกันว่าโรคเท้าช้างให้ทุเลาหรือชะงักได้ (ใบ)

ประโยชน์ของฆ้องสามย่าน
      มักนำมาปลูกเป็นไม้ดับในกระถาง หรือปลูกกันไว้ตามบ้านหมอและตามสวนยาจีนทั่วไป

คำสำคัญ : ฆ้องสามย่าน

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ฆ้องสามย่าน. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1587

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1587&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง

ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง

  • ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 1,854

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,694

ใบระบาด

ใบระบาด

ใบระบาด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ตามเถามีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมียางสีขาว เถาอายุน้อยจะนุ่มและอวบน้ำ แต่พอแก่แล้วเถาจะแข็งเป็นไม้ ทอดยาวเหยียดไปได้ไกล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน ทาบกิ่ง และปักชำ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 3,885

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,366

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 23,028

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร ยา น้ำมนต์ที่อาบให้บทหนึ่ง ชินบัญชรนี้ สัมพุทโธ รวม แล้วอ้ายพวกต่ออายุนะโมเม มะหิติโต เอาแต่หัวข้อก็ได้ แล้วตำราของพ่อแม่ที่เป็นของปู่ สมุนไพรี ตำราน้ำมนต์ไม่รู้เลย ยาเขาได้ น้ำมนต์ไม่ได้เลย เสียดายเมื่อพ่อสังพ่อตำราดี ๆ ทั้งนั้น รักษาคน เมื่อก่อนต้องมีการไหว้ครู ต้องมีข้าวต้มขาว ใบศรี เมื่อก่อนตุ๊กแก้ม (จิ้งจก) ตกใส่ตู้ยังตายเลย เมื่อสังขารแม่ยังอยู่ลูก ๆ ไม่เจ็บป่วย เข้าไว้ทุกปี ปวดหัวปวดตา ไว้บนวันนี้สองวันก็หาย

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 875

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,042

กุยช่าย

กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,564

สังกรณี

สังกรณี

สังกรณี จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ ต้นมากมาย มีความสูงของลำต้นประมาณ 60-120 เซนติเมตร ตามต้นไม่มีหนาม ตามกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากตามป่าเต็งรัง ป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,775

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 17,697