ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 2,435

[16.4258401, 99.2157273, ฆ้องสามย่าน]

ฆ้องสามย่าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Kalanchoe laciniata (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบหิน (CRASSULACEAE)
สมุนไพรฆ้องสามย่าน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เถาไฟ ฮอมแฮม (แม่ฮ่องสอน), คะซีคู่ซัวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ส้นเส้า, มือตะเข้, ทองสามย่าน, ใบทาจีน เป็นต้น

ลักษณะของฆ้องสามย่าน
        ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป กลิ่นของพรรณไม้ชนิดนี้สด ๆ จะมีกลิ่นคล้ายการบูรกับผิวส้ม
        ใบฆ้องสามย่าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะองใบมีหลายรูปร่าง ใบบริเวณกลางลำต้นจะเว้าเป็นแฉกลึกแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ดูคล้ายใบประกอบ แต่ละแฉกจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ตรงปลายแหลม ขอบจักเป็นฟันเลื่อยแกมซี่ฟันหยาบ ๆ มีสีเขียวและมีไขเคลือบ ใบมีที่เล็กกว่าขอบใบมักจะเรียบหรือเกือบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และแบน ค่อนข้างจะโอบลำต้นไว้ ส่วนใบบริเวณโคนต้นจะไม่เว้าหรือเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หรือเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ตรงขอบเป็นจักซี่ฟันแกมเป็นคลื่นและไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบสั้น ใบทั้งสองแบบจะเป็นสีเขียวอ่อนและอาจมีสีม่วงแซม
         ดอกฆ้องสามย่าน ออกดอกเป็นช่อชูขึ้นบริเวณปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีใบประดับแคบและเล็ก ส่วนกลีบรองกลีบดอกเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม ตั้งตรง ตรงโคนเชื่อมติดกัน ส่วนตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนกลีบดอกเป็นรูปทรงแจกัน ส่วนโคนนั้นจะพองออกสังเกตเห็นได้ชัด จะมีสีเขียว ส่วนบนจะมีสีเหลือง ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ซึ่งจะมีอยู่ 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน โผล่พ้นกลีบดอกออกมาเล็กน้อย ส่วนท่อเกสรเพศเมียเกลี้ยงและยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปหอก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยงและเป็นสีเขียว
         ผลฆ้องสามย่าน ผลเป็นผลแห้ง ออกผลเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน แตกตามตะเข็บเดียว

สรรพคุณของฆ้องสามย่าน
1. ใบฆ้องสามย่านใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงร่างกาย (ใบ)
2. ใบใช้ผสมกับดีปลี จันทน์ทั้งสอง ใบน้ำเต้า ดอกบัวหลวงขาว ละลายน้ำดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกแคแดง น้ำตำลึง เป็นยาแก้ไข้เพื่อลม ไข้เพื่อโลหิต ไข้เพื่อเสมหะ และทำให้
    ตัวเย็น (ใบ)
3. ตำรายาไทยใช้ใบเป็นยาเย็นดับพิษร้อน แก้ร้อนใน (ใบ)
4. ใบนำมาตากแดดให้แห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ทาลิ้นเด็กอ่อนเป็นยาแก้ละอองซางได้ชะงัด (ใบ)
5. ใบใช้ตำพอกหน้าอกรักษาอาการไอและเจ็บหน้าอก (ใบ)
6. ใบใช้รับประทานเป็นยาแก้บิด รักษาอาการท้องร่วง (ใบ)
7. ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ใบ)
8. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบนำมาตำพอกรักษาบาดแผลมีดบาด น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาห้ามเลือดในแผลสดได้ดี (ใบ)
9. ใบใช้เป็นยาพอกบาดแผล บรรเทาอาการระคายเคืองและทำให้แผลหายได้โดยมีเนื้องอกมาปิดแทน เป็นยาสมานและฆ่าเชื้อบาดแผล (ใบ)
10. ใบใช้ตำพอกกันแผลฟกช้ำ แผลไหม้ แผลเรื้อรัง แผลฝีมีหนอง (ใบ)
11. ใบใช้ตำพอกฝีทำให้เย็นเป็นยาถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน รักษาอาการเจ็บปวด แก้พิษอักเสบปวดบวม พิษตะขาบ แมงป่องต่อย (ใบ)
13. ใช้เป็นยาแก้งูพิษกัด ด้วยการใช้ใบสด 5 กรัม ผสมกับต้นสดฟ้าทะลายโจร 15 กรัม (Andrographis paniculate Nees) เอาไปตำชงด้วยเหล้าที่หมักจากข้าว ใช้กินครั้งเดียวหมด (ใบ)
14. ใบนำมาคั้นเอาน้ำมาผสมปรุงกับน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาโรคอวัยวะโตที่เรียกกันว่าโรคเท้าช้างให้ทุเลาหรือชะงักได้ (ใบ)

ประโยชน์ของฆ้องสามย่าน
      มักนำมาปลูกเป็นไม้ดับในกระถาง หรือปลูกกันไว้ตามบ้านหมอและตามสวนยาจีนทั่วไป

คำสำคัญ : ฆ้องสามย่าน

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ฆ้องสามย่าน. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1587&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1587&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักชี

ผักชี

ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ผักชีโรยหน้า" ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอกหรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,557

ไทร

ไทร

ลักษณะทั่วไป  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีลำต้นแข็งแรง บางชนิดมีเรือนยอดพุ่มทรงหนาทึบและบางชนิดเป็นทรงพุ่มโปร่งแต่บางชนิดตามลำต้น จะมีรากอากาศห้อยย้อยตามกิ่งก้าน  ใบต้นไทร มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของมันแต่โดยมากสีของใบจะมีสีเขียวด่างขาว ด่างดำปนเทา หรือสีครีมก็มี  ถิ่นกำเนิดอยู่แถบทวีปเอเชีย อินเดีย ไทย จีน  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนหรือปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,613

อัญชัน

อัญชัน

อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,463

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ประเทศไทยเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย พืชผักที่ปลูกกันในปัจจุบัน มีทั้งผักที่เป็นของไทยดั้งเดิม และผักที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว เป็นต้น ผักเหล่านี้ได้ปลูกมานานจนคนรุ่นใหม่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นผักของไทย และนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ได้มองข้ามคุณค่าของผักพื้นบ้านดั้งเดิมไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ผักเหล่านี้มีแมลงศัตรูพืชรบกวนมาก ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่สูง ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทำลายระบบนิเวศน์วิทยา และสิ้นเปลืองงบประมาณในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,259

ผักกูด

ผักกูด

ต้นผักกูด จัดเป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ โดยเฟิร์นชนิดนี้มักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์หรือไหล มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วไปของเอเชีย ส่วนในประเทศไทยบ้านเราจะพบผักกูดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาคในที่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,982

ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,349

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,490

ผักหนาม

ผักหนาม

ผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตามริมน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,937

เข็มป่า

เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร  ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว  ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว   ผลมีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว  เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป  ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร  เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,885

เครือพูเงิน

เครือพูเงิน

ต้นเครือพูเงิน จัดเป็นพรรณไม้เถาวัลย์เนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ มีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร ส่วนของลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีขนยาวและราบขึ้นหนาแน่น โดยขนจะเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ หรือบางทีจะมีคราบสีขาวๆ ติดอยู่ด้วย ส่วนเปลือกลำต้นจะเป็นสีเทาแกมขาว พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักพบขึ้นตามป่ารุ่น ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ และตามสองข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 1,591