เต็งหนาม

เต็งหนาม

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 4,684

[16.4258401, 99.2157273, เต็งหนาม]

เต็งหนาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Bridelia retusa (L.) A.Juss. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bridelia spinosa (Roxb.) Willd., Clutia retusa L., Clutia spinosa Roxb.)[1],[2] ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)
สมุนไพรเต็งหนาม มีชื่อเรียกอื่นว่า เปาหนาม (ลำปาง), ฮังหนาม (นครพนม), รังโทน (นครราชสีมา), เต็งหนาม (ราชบุรี), จาลีลึกป๊วก (เขมร-สุรินทร์), ว้อโบ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของเต็งหนาม
        ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร
        ใบเต็งหนาม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขนาดใบที่ปลายกิ่งจะมีขนาดเล็กลงกว่าใบที่อยู่ถัดใบ ใบเรียงตัวในแนวระนาบ ยอดอ่อนมีขนสีเทา แต่ใบแก่ด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นบนเส้นใบ ส่วนด้านล่างมีขนหรือเรียบเกลี้ยง มีเส้นใบข้างตรงและขนานกัน 16-24 คู่ เส้นใบข้างจรดกับเส้นใบย่อยที่ขอบใบ เนื้อใบหนา ท้องใบมีขนนุ่มสีขาว ใบเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลออกชมพูก่อนทิ้งใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร ไม่มีต่อม มีหูใบแหลมขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร หลุดร่วงได้ง่าย
         ดอกเต็งหนาม ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงตามซอกใบ และมักออกตามปลายยอดกิ่งที่ใบหลุดร่วงเป็นส่วนใหญ่ ช่อดอกมีลักษณะยาวเรียว ช่อแน่น มีดอกย่อยจำนวนมากประมาณ 8-15 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ กลีบดอกเป็นสีเขียวหรือสีเขียวออกเหลือง อาจพบที่มีประสีส้มหรือสีแดงบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแตกออกเป็นซี่ ๆ ก้านดอกมีลักษณะอ้วน ขนาดสั้นกว่า 2 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ แต่เกสรเพศเมียเป็นหมันเชื่อมเป็นแท่งตรงกลางดอก ขนาดประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ปลายแท่งแผ่ออกเป็น 5 อับเรณู ส่วนดอกเพศเมียมีก้านชูเกสร 2 อัน ที่ปลายแยก รังไข่มีขนาดเล็กกว่า 1.5 มิลลิเมตร มีส่วนของหมอนรองดอกเป็นรูปคนโทปิดไว้ ส่วนกลีบเลี้ยงหนา มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
          ผลเต็งหนาม ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ แข็งและไม่แตก มีขนาดประมาณ 0.5-0.9 เซนติเมตร ผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีฟ้าอมม่วง เนื้อในบาง เป็นผลเมล็ดเดียว เมล็ดค่อนข้างกลม มีสีน้ำตาลแดง ขนาดประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร จะติดผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของเต็งหนาม
1. ตำรายาไทยจะใช้เปลือกต้นเต็งหนาม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมานอย่างแรง และใช้รากเข้ายาสมานท้อง แก้บิด แก้ท้องร่วง และใช้เป็นยาห้ามเลือด (เปลือกต้น, ราก)
2. ยาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะนำเปลือกต้นเต็งหนามมาปิ้งไฟ แล้วแช่น้ำเกลือ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น)
3. ตำรายาอายุรเวทของอินเดียจะนำใบเต็งหนามมาต้มกินเป็นยารักษาบิด และใช้ใบเป็นยารักษาโรคติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ (ใบ)
4. น้ำต้มจากเปลือกใช้กินเป็นยาสลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (เปลือกต้น)
5. เปลือกต้นใช้ต้มกินเป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี (เปลือกต้น)
6. ใบเต็งหนามใช้ร่วมกับพืชอื่นและน้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันขิง ใช้เป็นยาทารักษาแผล (ใบ)
7. เปลือกต้นใช้ตำผสมกับผักเสี้ยนผีทั้งต้น และหัวแห้วหมู ทำเป็นลูกประคบแก้ปวดหัวเข่า (เปลือกต้น)
8. ยางจากเปลือกต้นนำมาผสมกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาทาถูนวดแก้อาการปวดข้อ (ยางจากเปลือกต้น)
9. ในประเทศศรีลังกาจะใช้เปลือกต้นและรากเต็งหนามเป็นยารักษาโรคข้อรูมาติซึม และใช้เป็นยาฝาดสมาน (เปลือกต้น, ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเต็งหนาม
1. เปลือกต้นเต็งหนามพบสารในกลุ่ม bisabolane sesquiterpenes ได้แก่ (E)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-1-hexenyl) benzoic acid, (E)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-1,4-hexadienyl) benzoic acid, (R)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-4-hexenyl) benzoic acid, (-)-isochaminic acid, (R)-4-(1,5-dimethyl-3-oxohexyl) benzoic acid (ar-todomatuic acid) และสารอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ 5-allyl-1,2,3-trimethoxybenzene (elemicin), (+)-sesamin and 4-isopropylbenzoic acid (cumic acid)
2. สารสกัดแอลกอฮอล์จากเปลือกต้นเต็งหนาม มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านเนื้องอก ไม่มีความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง
3. สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบและต้นเต็งหนาม มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และต้านเชื้อไวรัสเอดส์ได้โดยการยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ในหลอดทดลอง
4. สารสกัดเมทานอลจากใบเต็งหนาม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินปัสสาวะ ดังนี้ Staphylococcus aureus, Enterococcus faecalis, Enterobacter aerogenes, Acinetobacter baumannii และ Pseudomonas aeruginosa โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อได้ (MBC) เท่ากับ 1.51, 3.41, 3.41, 4.27 และ 9.63 mg/ml ตามลำดับ
5. สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ก่อโรคพืช (Cladosporium cladosporioides)
6. สารไอโซฟลาโวนจากใบเต็งหนาม มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมลบและแกรมบวกได้หลายชนิด

ประโยชน์ของเต็งหนาม
1. ผลมีรสฝาด รับประทานได้ และเป็นอาหารของนก
2. ใบใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์
3. เปลือกต้นมีสารแทนนินที่ใช้ในทางเภสัชกรรม เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านไวรัสบางชนิด
4. เนื้อไม้เต็งหนามมีสีแดงขุ่น สามารถนำมาใช้ในงานการก่อสร้างได้ เช่น การใช้ทำเสา รวมไปถึงเครื่องมือเครื่องใช้ทางอุตสาหกรรม

คำสำคัญ : เต็งหนาม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เต็งหนาม. สืบค้น 15 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1631&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1631&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,198

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,873

กล้วยไข่

กล้วยไข่

กล้วยไข่เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีลำต้นสูงประมาณ 2.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใบรูปไข่ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม มีร่องกว้าง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง โคนก้านมีปีกสีชมพู บริเวณช่อดอกมีขนอ่อน ส่วนผล 1 เครือ มีประมาณ 6-7 หวี ใน 1 หวีมีผลประมาณ 12-14 ผลด้วยกัน เป็นผลที่ค่อนข้างเล็ก เปลือกบาง ผลสุกสีเหลือง เมื่อผลงอมอาจมีจุดดำๆ ประปราย รสชาติหวานอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 14,812

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,427

ไข่เน่า

ไข่เน่า

ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงสีขาวๆ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ลักษณะผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตื้นตามความยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนนุ่ม กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปีหลังการปลูก

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 8,168

กระชายดำ

กระชายดำ

ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,297

ตำลึง

ตำลึง

ลักษณะของตำลึงต้น ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น ใบ เดี่ยวสีเขียวรูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน  ดอก สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,727

อุโลก

อุโลก

อุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,156

จิกน้ำ

จิกน้ำ

ต้นจิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว กิ่งก้านมักคดงอ ปลายกิ่งมักลู่ลง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในแถบรัฐควีนส์แลนด์ และสำหรับประเทศไทยบ้านเราก็จะพบต้นจิกน้ำได้ทั่วทุกภาคตามริมฝั่งน้ำ ริมคลอง ริมบึง ป่าพรุและป่าชายเลน

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 38,538

โสก

โสก

ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,308