เฟื่องฟ้า
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 20,547
[16.4258401, 99.2157273, เฟื่องฟ้า]
เฟื่องฟ้า ชื่อสามัญ Paper flower, Bougainvillea
เฟื่องฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea glabra Choisy จัดอยู่ในวงศ์บานเย็น (NYCTAGINACEAE)
เฟื่องฟ้า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดอกต่างใบ (กรุงเทพฯ), ดอกกระดาษ ดอกโคม (ภาคเหนือ), ตรุษจีน (ภาคกลาง), เย่จื่อฮวา จื่อซานฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น
ประวัติเฟื่องฟ้า
ต้นเฟื่องฟ้าถูกพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากทางยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2423 (รัชกาลที่ 5) และมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน โดยสายพันธุ์ของต้นเฟื่องฟ้าในประเทศก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่าต่างประเทศ เนื่องมาจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย
ลักษณะของเฟื่องฟ้า
- ต้นเฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน
- ใบเฟื่องฟ้า ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบบาง มีหนามอยู่ตามง่ามใบ มีก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
- ดอกเฟื่องฟ้า ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบและปลายกิ่ง มี 3 ดอก ดอกมีหลายสี ทางจีนนิยมนำมาใช้เป็นยา คือ ดอกสีม่วง หรือสีแดง ดอกที่เป็นสี ๆ ก็คือใบที่เปลี่ยนสี เรียกว่า ใบดอก มีลักษณะบางคล้ายกับกระดาษ ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ในหนึ่งดอกจะมีใบดอก 3 ใบเชื่อมติดกัน ใบดอกจะกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีเกสรเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว
- ผลเฟื่องฟ้า ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นสัน 5 เหลี่ยม เปลือกแข็งและมีเมล็ดติดกับเปลือก
สรรพคุณของเฟื่องฟ้า
- ดอกเฟื่องฟ้ามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจและระบบขับถ่าย (บางข้อมูลระบุว่าดอกเฟื่องฟ้ามีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิตและใช้แทนเครื่องหอมได้ด้วย) (ดอก)
- ดอกเฟื่องฟ้า (สายพันธุ์ Bougainvillea glabra Choisy.) มีรสขมฝาด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี รักษาสตรีที่ประจำเดือนไม่มาหรือมุตกิดตกขาวของสตรี ด้วยการใช้ดอกที่เป็นยาแห้งครั้งละ 10-15 กรัมนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยาตามที่ต้องการ (ดอก)
- เฟื่องฟ้าดอกขาว (Bougainvillea spectabilis Willd.) ในประเทศจีนจะไม่นิยมนำมาใช้ทำยา แต่ในประเทศไทยจะมีการนำรากมาใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ (ราก)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเฟื่องฟ้า
- สารที่พบ ได้แก่ สารจำพวก Bougainvillein เช่น Betanidinm Bougainvillea, 6-o-B-Sophoroside, Verbascose Isobetanidin เป็นต้น
ประโยชน์ของเฟื่องฟ้า
- ดอกเฟื่องฟ้าสามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหารได้ เช่น การทำดอกเฟื่องฟ้าชุบแป้งทอด ด้วยการนำดอกเฟื่องฟ้ามาชุบในแป้งชุบทอด รอให้น้ำมันร้อนจัด แล้วใส่ดอกเฟื่องฟ้าที่ชุบแป้งลงไปทอดจนเหลืองกรอบ แล้วตักขึ้นมารอจนน้ำมันสะเด็ด ใช้รับประทานกับน้ำจิ้มเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกสวยมีหลายสีจากหลากหลายสายพันธุ์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นซุ้มไม้เลื้อย เป็นซุ้มนั่งเล่น ปลูกในที่สาธารณะ สวนข้างทางเดิน ปลูกเป็นแนวรั้ว ปลูกเป็นไม้กระถาง หรือทำเป็นไม้บอนไซหรือไม้แคระ สามารถตัดแต่งทรงพุ่มได้ ดูแลรักษาได้ง่ายและทนความแล้งได้ดี เมื่อมีอากาศเย็นจะมีดอกออกเต็มต้น แต่ไม่ควรนำไปปลูกไว้ใกล้กับสนามเด็กเล่นเพราะมีหนามแหลม
- ในด้านความเป็นมงคล คนไทยโบราณมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะสามารถช่วยสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เนื่องจากต้นเฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ที่ได้รับสมญานามว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้ประดับ" นอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า ต้นเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกได้บานสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน (จึงเป็นที่มาของการเรียกต้นเฟื่องฟ้าว่า "ต้นตรุษจีน") ดังนั้นจึงมีความเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานจะแสดงถึงความเบิกบาน สว่างไสว และความรุ่งเรืองที่ก้าวไกลแห่งชีวิต และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ทางทิศตะวันออก และผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพื่อเอาคุณ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะเฟื่องฟ้าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับ จึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสุภาพสตรี
คำสำคัญ : เฟื่องฟ้า
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เฟื่องฟ้า. สืบค้น 20 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1774&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,065
ต้นมะเขือขื่น สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง สำหรับการปลูกมะเขือขื่นนั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,575
คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่ ใบดกหนาทึบ ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 5,049
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 12 เมตร เปลือกต้นสีเทาเรือนต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 5-7 คู่ รูปขนาน ปลายและโคนกลมมีขนอ่อนนิ่มทั้งหลังและท้องใบ ดอกช่อออกตามกิ่ง สีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นขาว ออกดอกหลังผลัดใบ ผลฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม มีขนนิ่มปกคลุมยาว 30-40 ซม. มีผนังกั้นระหว่างเมล็ดยุ่น ๆ สีขาวแกมเขียว เมื่อแห้งจะแยกกันเป็นชั้น ๆ ปอกเปลือกออกจะเห็นเป็นรูปเหรียญกลม ๆ มีเมล็ดอยู่ภายใน เขย่าได้ ตลอดฝักเมล็ดกลมลีบแบน นิเวศวิทยาขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,088
ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,662
มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,845
ร่างกายมีธรรมชาติของการระบายพลังงานที่เป็นพิษจำนวนมากออกทางมือเท้าอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าแพทย์โบราณหลายประเทศมีการกดจุดหรือขูดระบายพิษจากมือและเท้า เมื่อคนเราใช้มือและเท้าในกิจวัตรประจำวัน กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่มือและเท้า ก็จะเกิดสภาพแข็งเกร็งค้าง ทำให้ขวางเส้นทางการระบายพิษจากร่างกาย การแช่ในน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่แข็งเกร็งค้างคลายตัว พลังงานที่เป็นพิษในร่างกายจึงจะระบายออกได้ดี ทำให้สุขภาพดีขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 14,451
มะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน ผลมะดัน หรือลูกมะดัน ผลมีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,196
ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,443
มะพลับ เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาด เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เปลือกและผลแก่มีสรรพคุณ ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับลม แก้ไข้มาเลเรีย รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ เป็นยาสมาน และใช้ห้านเลือดได้ นอกจากนี้ เปลือกมะพลับยังให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้ยางสีน้ำตาลใช้ละลายน้ำ แล้วนำไปย้อมผ้า แห อวน เพื่อให้ทนทาน ไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,462