จิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่าย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้ชม 5,970

[16.3937891, 98.9529695, จิงจูฉ่าย]

          ในมื้ออาหารแต่ละมื้อส่วนใหญ่มักมีผักเป็นส่วนประกอบอาจโรยไว้บนจานหรือข้างๆ จาน ซึ่งหากใครที่รับประทานต้มเลือดหมูต้องเคยกินหรือเคยเห็นเจ้าผักคล้ายขึ้นฉ่ายลอยเด่นอยู่ในชามกันอย่างแน่นอน ซึ่งก็คือ “จิงจูฉ่าย” นั่นเอง จิงจูฉ่ายเป็นผักที่มีชื่อไม่คุ้นหูนัก แต่ชื่อก็บ่งบอกว่าน่าจะเป็นพืชจากประเทศจีนแม้จะไม่ใช่พืชผักเศรษฐกิจแต่ชาวจีนก็นิยมปลูกกินกันอย่างแพร่หลาย หลายคนที่ได้ยินก็อาจสงสัยว่ามันคือผักอะไรกัน

ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
อันดับ : Ericales
วงศ์ : Myrsinaceae
สกุล : Lysimachia L.
สปีชีส์ : Lysimachia nemorum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia lactiflora Wall
ชื่อสามัญ : White mugwort

ลักษณะของจิงจูฉ่าย
        “จิงจูฉ่าย” หรือ “โกศจุฬาลัมพา” หรือที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกว่า “เซเลอรี” (Celery) อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกายนั่นเอง
          จิงจูฉ่ายนั้นเป็นพืชผักของจีนชนิดหนึ่ง นิยมนำไปทำเป็นอาหารรับประทานในประเภทแกงจืดทั้งหลาย หรือผัดผัก แต่โดยส่วนใหญ่จะใส่ในต้มเลือดหมูเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว และมีสรรพคุณทางสมุนไพรเป็นที่นิยมของชาวจีนเป็นอย่างมาก เพราะชาวจีนเปรียบจิงจูฉ่ายเป็นหยิน (ยาเย็น) มีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยในใบและลำต้น เมื่อนำไปต้มร้อนๆ หรือกินแบบสดๆ ในผักนั้นจะมีสารไลโมนีน ซิลนีน และกลัยโคไซด์ ชื่อ อะปิอิน ที่ช่วยปรับสมดุลความดันเลือดในร่างกาย และช่วยขับลมในกระเพาะอาหารได้ดี อีกทั้งลำต้นสดและเมล็ดนั้นมีปริมาณโซเดียมต่ำผู้เป็นโรคไตจึงรับประทานได้ดี

ประโยชน์และสรรพคุณของจิงจูฉ่าย
          จิงจูฉ่ายนั้นมีประโยชน์มากมายนอกจากช่วยปรับสมดุลและขับลมภายในร่างกายได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ที่น่าอัศจรรย์ก็คือสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้โดยการนำใบจิงจูฉ่ายมาประมาณ 1 กำมือ แล้วปั่นหรือตำคั้นน้ำออกมารับประทานเช้า-เย็น 1 – 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงก่อนรับประทานอาหารสัก 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 2 – 3 เดือน ก็สามารถต้านทานต่อเซลล์มะเร็งได้ แต่ในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานจิงจูฉ่ายเนื่องจากอาจทำให้แท้งลูกได้
           เมื่อเปรียบเทียบผลมะนาวกับผักอย่างจิงจูฉ่ายปรากฏว่าพบปริมาณวิตามินซีในจิงจูฉ่ายมากกว่าในมะนาวถึง 58 เท่าเลยทีเดียว และให้สรรพคุณทางยาสูง อีกทั้งมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อาทิ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซีสูง วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินบี 6 เป็นต้น รวมทั้งผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาไข้มาลาเรียซึ่งคล้ายๆ กับเซลล์ของมะเร็ง คือจะมีประมาณธาตุเหล็กสูงกว่าเซลล์ปกติประมาณ 5 – 1,000 เท่า ซึ่งการทานใบสดจะได้ผลดีกว่าผ่านกระบวนความร้อน
อย่างไรก็ตาม จิงจูฉ่ายนั้นก็นับเป็นสุดยอดสมุนไพรที่บำรุงเลือดลมได้ดีมากๆ และผักชื่อแปลกชนิดนี้ก็สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้จริง ขึ้นชื่อว่าผักอย่างไรเสียก็มีประโยชน์แก่ร่างกายเราอยู่แล้ว ใครที่ไม่ชอบรับประทานผัก ลองเริ่มหันมารับประทานกันดูนะคะแล้วร่างกายจะรู้ว่าร่างกายที่แข็งแรงไม่อ่อนแอนั้นเป็นอย่างไรค่ะ

คำสำคัญ : จิงจูฉ่าย

ที่มา : https://medthai.com/จิงจูฉ่าย/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จิงจูฉ่าย. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1490

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1490&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

คูณ

คูณ

คูนเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล  ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอ่อน 3-8 คู่ ก้านช่อใบยาว 7-10 ซม. แก่นช่อใบยาว 15-25 ซม. ใบย่อยรูปป้อม ๆรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกนรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบมน เนื้อไม้เกลี้ยงค่อนข้างบางเส้นใบแขนงใบถี่ โค้งไปตามรูปใบก้านใบอ่อน หูใบค่อนข้างเล็ก ออกเป็นช่อเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ห้อยย้อยลงมาจากกิ่งช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ก้านดอกย่อย ใบประดับยาว กลีบรองดอกรูปมนแกมไข่ ผิวนอกกลีบสีเหลือง ผลรูปทรงกระบอกยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนฝักอ่อนมีสีเขียวและออกสีดำ เมื่อแก่จัดในฝักมีหนังเยื่อบาง ๆ ตามขวางของฝัก ตามช่องมีเมล็ดรูปมน แบนสีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,562

แตงไทย

แตงไทย

แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,068

ขิง

ขิง

ขิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อในจะเป็นสีนวลๆ มีกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของขิง ขึ้นโดยการแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาบนดิน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับกันเป็นรูปขอบขนาน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อสีเหลืองอมเขียว แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ส่วนผลจะมีลักษณะกลมและแห้ง ข้างในมีเมล็ดมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,563

มะดัน

มะดัน

มะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน ผลมะดัน หรือลูกมะดัน ผลมีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,010

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (Prickly Leaved Elephant’s Foot) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก หนาดผา, หญ้าสามสิบสองหาบ หรือหญ้าไก่นกคุ้ม ส่วนภาคใต้เรียก หญ้าปราบ ชัยภูมิเรียก คิงไฟนกคุ้ม สุราษฎร์ธานีเรียก หนาดมีแคลน ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตะชีโกวะ ชาวกะเหรี่ยงเรียก นกคุ้มหนาดผา หรือหญ้าไฟ ส่วนชาวจีนแต้จิ๋วเรียก โช่วตี่ต้า และชาวจีนกลางเรียก ขู่ตี่ต่าน เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษตามชื่อของต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้คือ เมื่อถูกเหยียบหรือถูกทับแล้วจะสามารถดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เรียกว่าสมชื่อโด่ไม่รู้ล้มจริงๆ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นตามป่าโปร่ง, ป่าดิบ, ป่าเต็งรัง, ป่าสนเขา หรือดินทราย เรียกได้ว่าแทบทุกภาคในประเทศไทยเลยทีเดียว รวมทั้งประเทศในเขตร้อนด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,896

เห็ด

เห็ด

หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 14,755

เก๋ากี้

เก๋ากี้

เก๋ากี้ (Goji berry) หรือ Lycium Barbarum นั้นเป็นเม็ดเล็กๆ สีแดง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเบอร์รี โดยชาวจีนนิยมรับประทานตุ๋นร่วมกับยาจีนถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยมที่มีค่า ORAC ที่สามารถดูดซับอนุมูลอิสระในออกซิเจนได้ถึง 25,300 unite ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาในร่างกายเราเองหรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย ทั้งความชราก่อนวัยอันควร หรือโรคมะเร็งต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,820

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ที่มีเนื้ออ่อนลำต้นกลวง มีข้อปล้องสีเขียว  ขึ้นเลื้อยตามหน้าน้ำ หรือดินแฉะ  ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม คล้ายๆกับปลายหอก เป็นไม้ใบเดี่ยว อออกสลับทิศทางกันตามข้อต้น ใบยาว ประมาณ 2-3 นิ้ว  ดอกลักษณะของดอก เป็นรูประฆังเล็ก มีสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีชมพูด้านในของโคนดอก จะมีสีเข้มกว่าด้านนอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 2 นิ้วและจะตกในฤดูแล้ง  ผลเป็นรูปมนรี คล้ายกับ capsule

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,548

ผักหนาม

ผักหนาม

ผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตามริมน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,280

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,342