คูณ

คูณ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 1,574

[16.5055083, 99.509574, คูณ]

        คูน หรือ ราชพฤกษ์ (Golden Shower, Indian Laburnum) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ราชพฤกษ์, ลมแล้ง หรือชัยพฤกษ์ ส่วนปัตตานีเรียก ลักเคย หรือลักเกลือ และกะเหรี่ยง-กาญจนบุรีเรียก กุเพยะ เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรพื้นเมืองของเอเชียใต้ไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา และพม่า รวมทั้งคูนหรือราชพฤกษ์นี้ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของไทยอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของคูน
        สำหรับต้นคูนนั้นจัดว่าเป็นไม้ต้นขนาดกลาง โดยลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา มักขึ้นตามป่าผลัดใบ หรือในดินที่สามารถถ่ายเทน้ำได้ดี ส่วนใบจะมีสีเขียวเป็นมัน โคนมน เนื้อใบเกลี้ยงและบาง ดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบรูปทรงไข่กลับอยู่ 5 กลีบ และเห็นเส้นกลีบชัดเจน ฝักอ่อนมีสีเขียวและจะเป็นสีดำเมื่อแก่จัด และในฝักจะมีผนังเยื่อบางๆ กั้นเป็นช่องๆ อยู่ตามแนวขวางของฝัก และภายในช่องเหล่านี้จะมีเมล็ดสีน้ำตาลแบนๆอยู่

ประโยชน์และสรรพคุณของคูน
         ใบ – ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ช่วยระบายท้อง สามารถใช้พอกแก้อาการปวดข้อ หรือแก้ลมตามข้อ รวมทั้งช่วยแก้โรคอัมพาตของกล้ามเนื้อบนใบหน้า หรือนำไปต้มรับประทานแก้เส้นพิการ และโรคเกี่ยวกับสมอง ให้รสเมา
         ดอก – ช่วยระบายท้อง แก้ไข้ แก้พรรดึก (ท้องผูก) รวมทั้งโรคกระเพาะอาหาร และแผลเรื้อรัง ให้รสขมเปรี้ยว
         ราก – ช่วยในการฆ่าเชื้อคุดทะราด ระบายพิษไข้ แก้กลากหรือเกลื้อน แก้อาการเซื่องซึมหนักบริเวณศีรษะ รวมทั้งช่วยถ่ายสิ่งสกปรกโสโครกออกจากร่างกาย แก้อาการหายใจขัด ทำให้ชุ่มชื่นทรวงอก แก้อาการไข้ ไปจนถึงรักษาโรคหัวใจ ถุงน้ำดี มีฤทธิ์ถ่ายแรงกว่าเนื้อในฝัก สามารถใช้ได้กับเด็กหรือสตรีมีครรภ์ ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ให้รสเมา
         แก่น – ช่วยในการขับพยาธิไส้เดือน ให้รสเมา
         กระพี้ – ช่วยแก้โรครำมะนาด ให้รสเมา
         เนื้อในฝัก – ใช้พอกเพื่อช่วยแก้อาการปวดข้อ แก้ตานขโมย แก้ไขมาลาเรีย แก้บิด ถ่ายพยาธิ หรือผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง รวมทั้งถ่ายเสมะและแก้พรรดึก (ท้องผูก) ไปจนถึงระบายพิษไข้ สามารถใช้ได้ในเด็กและสตรีมีครรภ์ ไปจนถึงเป็นยาระบายที่ไม่ทำให้ปวดมวนหรือไข้ท้อง ให้รสหวานเอียน
         เปลือกฝัก – ทำให้แท้งลูก ทำให้อาเจียน และขับรกที่ค้างอยู่ออกมา ให้รสเฝื่อนเมา
         เมล็ด – ทำให้อาเจียน ให้รสเฝื่อนเมา
         เปลือกต้น – ช่วยแก้อาการท้องร่วง ใช้ฝนผสมกับหญ้าฝรั่น น้ำดอกไม้เทศ และน้ำตาล รับประทานเพื่อให้เกิดลมเบ่ง ให้รสฝาดเมา
         เปลือกราก – ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย และระบายพิษไข้ ให้รสฝาด
         ต้นคูนมักนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง และปลูกได้ง่ายทั้งในดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว รวมทั้งยังทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่หากอากาศหนาวจัดอาจทำให้ติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). คูณ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=76&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=76&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เพกา

เพกา

ลักษณะทั่วไป     ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว  ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.  สีม่วงคล้ำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,852

เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,712

กระเทียม

กระเทียม

กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทกินหัว ลำต้นสูง 1-2 ฟุต มีหัวลักษณะกลมแป้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ภายนอกของหัวกระเทียมมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่หลายชั้น ภายในหัวประกอบแกนแข็งตรงกลาง ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-20 กลีบ เนื้อกระเทียมในกลีบมีสีเหลืองอ่อนและใส  มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง มีกลิ่นฉุนจัด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 7,465

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,848

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,846

เห็ดฟาง

เห็ดฟาง

สำหรับเห็ดฟางนั้นเรียกได้ว่าเป็นเห็ดยอดนิยมชนิดหนึ่งของคนไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งจะเห็นได้จากอาหารในหลากหลายเมนูที่มักจะมีเห็ดฟางเป็นส่วนประกอบอยู่อย่างแพร่หลาย และเห็ดฟางนี้ยังสามารถหาซื้อมารับประทานหรือประกอบอาหารได้ง่ายตามท้องตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ โดยมีทั้งเห็ดฟางแบบสด และบรรจุกระป๋อง หรืออบแห้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเห็ดฟางนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,254

สาเก

สาเก

สาเก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาวๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก), และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,550

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร จัดเป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่น ๆ ของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นกระจายอยู่ตามป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,618

มะพร้าว

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นที่จัดอยู่ในตระกูลปาล์ม ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ผลประกอบไปด้วยเปลือกนอก ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว และชั้นสุดท้ายคือเนื้อมะพร้าว ซึ่งภายในจะมีน้ำมะพร้าว ถ้าลูกมะพร้าวแก่มาก เนื้อมะพร้าวจะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด มะพร้าวเป็นผลไม้ที่นิยมกันอย่างมากในบ้านเรา คุณสมบัติเด่น ๆ ของมะพร้าวก็คือ ส่วนต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ทำเป็นประโยชน์ได้หมด ไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวหวานเพื่อบำรุงสุขภาพและรักษาอาการหรือโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำตาล และยังรวมไปถึงการทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้สอย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 14,606

เดื่อหว้า

เดื่อหว้า

ต้นเดื่อหว้า จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ในต่างประเทศพบกระจายพันธุ์ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธารหรือริมลำน้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,401