แตงไทย

แตงไทย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 6,255

[16.4258401, 99.2157273, แตงไทย]

แตงไทย ชื่อสามัญ Muskmelon
แตงไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงไทย มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า แตงลาย, มะแตงลาย, มะแตงสุก, แตงจิง, ดี, ซกเซรา เป็นต้น
         แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก
         แตงไทย จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง อุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น สำหรับประโยชน์ของแตงไทยนั้นก็ได้แก่ การนำมากินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกหรือนำไปดอง รับประทานสด ๆ หรือนำไปใช้ทำของหวาน เช่น น้ำปั่น ผลไม้แห้ง เป็นต้น สำหรับแตงไทย สรรพคุณในด้านการรักษาโรคนั้นก็เช่น ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล แก้โรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ แก้อาการไอ เป็นต้น

ประโยชน์ของแตงไทย
1. ช่วยในการบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส และช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่า
2. ช่วยลดความหยาบกร้านของผิวและรอยด่างดำต่าง ๆ
3. ช่วยในการชะลอวัย และลดการเกิดริ้วรอย
4. หน้าใสไร้สิวด้วยแตงไทย ด้วยการใช้แตงไทยสุกครึ่งถ้วย นมสดครึ่งถ้วย ไข่ไก่ 1 ฟอง นำมาผสมรวมกัน แล้วนำมาพอกทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนเข้านอนแล้วล้างออก
5. มีฤทธิ์เย็น ช่วยในการดับกระหาย
6. ช่วยคลายร้อน ขับเหงื่อ ลดอุณหภูมิของร่างกาย
7. มีส่วนในการช่วยบำรุงหัวใจ
8. ช่วยบำรุงประสาทและสมอง
9. วิตามินเอจากแตงไทยมีส่วนช่วยบำรุงรักษาสายตา
10. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ
11. ช่วยในการขับน้ำนมของมารดาให้นมบุตร
12. ช่วยบรรเทาและแก้อาการไอ
13. มีสารรสขมที่ช่วยในการอาเจียน
14. ช่วยรักษาผิวอักเสบ ด้วยการใช้แตงไทยสุกบดละเอียดครึ่งถ้วย นมสดครึ่งถ้วยผสมเข้าด้วยกันจนได้เนื้อที่เข้มข้น แล้วนำมาพอกบริเวณผิวที่อักเสบทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที
      แล้วล้างออก
15. แก้โรคดีซ่าน
16. ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
17. ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
18. รักษาแผลในจมูก ด้วยการนำมาบดเป็นผงแล้วนำมาพ่น
19. ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
20. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
21. ช่วยในการย่อยอาหาร
22. รากนำมาต้มดื่มช่วยระบายท้อง
23. เมล็ดของแตงไทยช่วยในการขับปัสสาวะ
24. ช่วยรักษาโรคปัสสาวะอักเสบ
25. เป็นทั้งผักและผลไม้ ถ้าอยู่ในช่วงผลอ่อนก็รับประทานเป็นผักสด หรือรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใช้เป็นเครื่องเคียงกินกับยำกับน้ำพริก
26. ถ้าสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้รสชุ่มเย็น นิยมรับประทานกับน้ำแข็งใส่น้ำเชื่อมกะทิแตงไทย
27. นำมาแปรรูปใช้ทำเป็นของหวาน เช่น น้ำปั่น น้ำกะทิแตงไทย ผลไม้แห้ง แยมแตงไทย เป็นต้น

น้ำกะทิแตงไทย
1. วิธีทำน้ำกะทิแตงไทยอันดับแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ แตงไทย 1 ลูก / กะทิคั้นด้วยน้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วย / เกลือครึ่งช้อนชา / และน้ำตาลปี๊บ 1/3 ถ้วย
2. นำแตงไทยทั้งลูกมาล้างน้ำเปล่าให้สะอาด
3. นำแตงไทยมาปอกเปลือกคว้านเอาไส้ออกให้หมด แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
4. ขั้นตอนต่อมา การทำน้ำกะทิ ด้วยการละลายน้ำตาลปี๊ปกับน้ำกะทิ
5. นำน้ำกะทิที่ได้ไปตั้งไฟโดยใช้ไฟระดับปานกลาง แล้วคนเรื่อย ๆ รอจนเดือดแล้วยกลง
6. ใส่แตงไทยลงในน้ำกะทิเป็นอันเสร็จ (หรือจะเสิร์ฟแยกกันก็ได้)

คำสำคัญ : แตงไทย

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แตงไทย. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1633&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1633&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระแจะ

กระแจะ

ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,931

พลูคาว

พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,452

พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว จัดเป็นไม้พุ่มพาดพันไปบนต้นไม้อื่น ตามลำต้นมีหนามแหลมโค้ง พอแก่แล้วหนามจะโค้งหาลำต้นในลักษณะที่หนามไปล็อกลำต้นไว้ เป็นไม้ป่าของไทยที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบประมาณ 6-9 คู่ มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาว 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด ออกเป็นพวงๆ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 5,176

พันงูน้อย

พันงูน้อย

พันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,395

มะตาด

มะตาด

มะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 7,347

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,314

ผักแว่น

ผักแว่น

ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 10,856

กวาวเครือขาว

กวาวเครือขาว

กวาวเครือขาวเป็นไม้เถาเลื้อย ยาวประมาณ 5 เมตร ผลัดใบ ขนาดกลาง ลำต้นเกลี้ยง เปลือกแข็งสีน้ำตาลเข้ม และมีหัวอยู่ใต้ดินทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารไว้ มียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ข้างใน เนื้อเปราะ มีเส้นมาก รูปร่างค่อนข้างกลมคอดยาวเป็นตอนต่อเนื่อง กลีบเลี้ยงมีขนสั้นๆ ขึ้นอยู่ มีใบประกอบแบบขนนก 3 ใบย่อย ปลายมนหรือเรียวแหลม บริเวณโคนสอบหรือมน ตรงปลายกิ่งสามารถยาวได้ถึง 29 เซนติเมตรเลยทีเดียว ส่วนดอกเป็นรูปดอกถั่วมีสีม่วง และผลเป็นฝักรูปขอบขนาน บริเวณผิวจะมีขนรูปคล้ายโล่แบนๆ มีสีม่วงอมน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,451

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,608

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ประเทศไทยเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย พืชผักที่ปลูกกันในปัจจุบัน มีทั้งผักที่เป็นของไทยดั้งเดิม และผักที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว เป็นต้น ผักเหล่านี้ได้ปลูกมานานจนคนรุ่นใหม่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นผักของไทย และนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ได้มองข้ามคุณค่าของผักพื้นบ้านดั้งเดิมไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ผักเหล่านี้มีแมลงศัตรูพืชรบกวนมาก ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่สูง ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทำลายระบบนิเวศน์วิทยา และสิ้นเปลืองงบประมาณในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,009