เก๋ากี้

เก๋ากี้

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้ชม 2,568

[16.4258401, 99.2157273, เก๋ากี้]

        มีใครเคยทราบบ้างว่าทำไมชาวจีนโบราณส่วนใหญ่จึงมีอายุยืน เพราะมียาอายุวัฒนะหรือ? คำตอบนั้นแทบไม่น่าเชื่อเลยว่าเคล็ด (ไม่) ลับอย่างหนึ่งจะมาจากสมุนไพรเม็ดเล็กๆ หรือผลไม้อบแห้งเม็ดสีแดงๆ ที่ชาวจีนมักใส่รวมกับเครื่องตุ๋นยาจีน นั่นก็คือเก๋ากี้นั่นเอง “เก๋ากี้” หรือ “ฮ่วยกี้” ที่เรารู้จักกันดีในนาม “โกจิเบอร์รี” เห็นเม็ดจิ๋วๆ อย่างนี้ แต่คุณประโยชน์มากมายเอ่อล้นเมล็ดเชียวล่ะ ซึ่งชาวจีนถือว่าสิ่งนี้เป็นยาอายุวัฒนะระดับต้นๆ เลยทีเดียว

เก๋ากี้คืออะไร
        เก๋ากี้ (Goji berry) หรือ Lycium Barbarum นั้นเป็นเม็ดเล็กๆ สีแดง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเบอร์รี โดยชาวจีนนิยมรับประทานตุ๋นร่วมกับยาจีนถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยมที่มีค่า ORAC ที่สามารถดูดซับอนุมูลอิสระในออกซิเจนได้ถึง 25,300 unite ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาในร่างกายเราเองหรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย ทั้งความชราก่อนวัยอันควร หรือโรคมะเร็งต่างๆ
        ในเก๋ากี้นั้นมีสารแอนติออกซิแดนท์สูงกว่าในพืชทั่วๆ ไป เพราะมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยให้เม็ดเลือดแดงไม่ถูกอนุมูลอิสระทำลาย ซึ่งเป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่สตรีชาวจีนชนชั้นสูงรับประทานเก๋ากี้เพื่อความงามและอ่อนเยาว์ ซึ่งไม่แปลกเลยเพราะในเก๋ากี้นั้นมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 500 เท่า มีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท อีกทั้งยังมีใยอาหารถึงร้อยละ 20 และมีแคลเซียมสูงกว่าในผักบร็อกโคลี นอกจากนี้ยังมีเหล็ก ทองแดง วิตามินเอ วิตามินบี 2 ฟอสฟอรัส สังกะสี เจอร์มาเนียม เซเลเนียม เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของเก๋ากี้
        เก๋ากี้นั้นจัดอยู่ในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกพริก มะเขือเทศ หรือมันฝรั่ง ผลแห้งคล้ายลูกเกด มีสีแดง รสชาติไม่หวานเท่าลูกเกด แต่ก็ไม่เปรี้ยวเหมือนแคนเบอร์รี ลำต้นมีความสูงประมาณ 12 ฟุต ต้นเก๋ากี้นั้นแม้จะอยู่ในสภาพอากาศที่เลวร้ายก็ยังคงสามารถมีอายุยืนได้เป็นร้อยปีเลยทีเดียว โดยมีสายพันธุ์ต่างๆ มากถึง 41 ชนิดเลยทีเดียวที่ปลูกในทิเบต และด้วยความที่มีคุณประโยชน์และสารอาหารมากมายของเก๋ากี้นี้ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลกจนถึงกับได้รับฉายาว่า “เก๋ากี้…สมุนไพรเพื่อความมีอายุยืนยาว”

ประโยชน์และสรรพคุณของเก๋ากี้
       ในเก๋ากี้เม็ดเล็กๆ นี้ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนถึง 19 ชนิด ได้แก่ เหล็ก ทองแดง แคลเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เจอร์มาเนียม เป็นต้น โดยสารเจอร์มาเนียมจะอยู่ในสภาพอินทรีย์ทำให้ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้อย่างดี นอกจากนี้ในเก๋ากี้ยังมีประโยชน์ที่ร่างกายเราต้องการอยู่มากมายดังนี้
        - ช่วยให้ระบบในร่างกายทำงานได้สมบูรณ์ขึ้น บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
        - แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
        - ช่วยให้หัวใจแข็งแรงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
        - ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโตสเทอโรนในเลือดทำให้ไม่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
        - ช่วยบำรุงสายตา
        - ช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง
        - แก้โรคอัลไซเมอร์
        - เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานดีขึ้น
        - ช่วยในการต้านมะเร็ง และหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
        - ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
        - ลดความดันโลหิต ไขมันในเลือดไม่อุดตัน
        - ช่วยบรรเทาโรคไทรอยด์
        - ช่วยให้ตับทำงานอย่างปกติ
        ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในเก๋ากี้เม็ดเล็กๆ นี้ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายเลยทีเดียว สมกับที่ได้ฉายาว่าเป็นยาอายุวัฒนะจริงๆ ถึงเม็ดจะจิ๋วแต่ประโยชน์ไม่จิ๋วตามเลย

 

คำสำคัญ : เก๋ากี้

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/เก๋ากี้/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เก๋ากี้. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1471&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1471&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ขี้หนอน

ขี้หนอน

ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และมีหนามตามลำต้นหรือกิ่งไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายกับผักหวาน ดอกนั้นจะดกมาก จะมีขนาดเล็ก มีพิษกินเข้าไปทำให้ตายได้ ผลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลือง นิเวศวิทยาเป็นพรรณไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ดอกไม่งาม ผลแก่มีสีเหลือง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ประโยชน์สมุนไพรเปลือกใช้สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่น้ำตีให้แตกฟองแล้วใช้ฟอกสุมหัวเด็ก ใช้รักษาอาการหวัดคัดจมูก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,246

ขมิ้น

ขมิ้น

  ขมิ้นชัน หรือขมิ้น, ขมิ้นแกง (Turmeric, Curcuma, Yellow Root) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ทางภาคใต้หรืออีสานเรียกขี้มิ้น ส่วนชาวกะเหรี่ยงเรียกขมิ้นทอง, ขมิ้นป่า, ขมิ้นหัว, ขมิ้นแดง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นไข, ขมิ้นดี, พญาว่าน, ตายอ เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2017 ผู้เช้าชม 3,439

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 3,820

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,458

คัดเค้า

คัดเค้า

คัดเค้าเป็นไม้เถาเนื้อเหนียวแข็งที่มีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 6 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล มักขึ้นพันเลื้อยไปยังต้นและกิ่งไม้ และตามลำต้นจะมีข้อและใบงอกออกมาเป็นคู่ๆ ข้อละ 1 คู่ พร้อมหนามแหลมงองุ้มออกจากโคนใบคล้ายเขาของควาย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของต้นคัดเค้าเลยทีเดียว ส่วนใบนั้นจะเป็นใบเดี่ยว ออกแบบตรงข้ามกัน รูปรี โคนสอบ ปลายแหลม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อกระจุกอยู่ตามซอกใบเป็นช่อใหญ่ โดยมีลักษณะคล้ายกับดอกเข็ม ส่วนผลของคัดเค้าจะออกเป็นพวงหรือกลุ่ม มีลักษณะกลมหรือรี ผิวผลจะเรียบและมัน สีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะมีสีดำ ปลายผลจะแหลม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก โดยออกผลในช่วงเดือนเมษายน

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,547

มะดัน

มะดัน

มะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน ผลมะดัน หรือลูกมะดัน ผลมีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 10,160

กระทุ่ม

กระทุ่ม

ต้นกระทุ่มเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น เปลือกรากมีสีดำอ่อนๆ ใบกระทุ่มเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 7-17 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนหรือบางครั้งเกลี้ยง ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร มีหูใบรูปสามเหลี่ยม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 10,405

มะกอก

มะกอก

ต้นมะกอก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ ตามเปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 18,186

ฟักทอง

ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น ฟักทองยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะฟักทองมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรีและไขมันน้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพียงแค่รับประทานฟักทองหนึ่งถ้วยหรือ 3 กรัม จะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,397

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง (Soya Bean, Soybean) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วหนัง, ถั่วเน่า, ถั่วพระเหลือง หรือถั่วแระ เป็นต้น ซึ่งถั่วเหลืองนั้นถือได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของโลกกันเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นพืชที่ถือกำเนิดและรู้จักกันมาอย่างยาวนานประมาณกว่า 4,700 ปีเลยทีเดียว โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ส่วนของไทยเรานิยมปลูกมากทางภาคเหนือและภาคกลางตอนบน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,376