ผักหนาม

ผักหนาม

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 4,301

[16.4258401, 99.2157273, ผักหนาม]

ผักหนาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Lasia spinosa (L.) Thwaites จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

สมุนไพรผักหนาม มีชื่อเรียกอื่นว่า กะลี (มลายู, นราธิวาส), บอนหนาม (ไทลื้อ, ขมุ), ผะตู่โปล่ เฮาะตู่คุ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ด่อแกงเล่อ (ปะหล่อง), บ่อนยิ้ม (เมี่ยน), บ่ะหนาม (ลั้วะ), หลั่นฉื่อโก จุยหลักเท้า (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น

ลักษณะของผักหนาม

  • ต้นผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตามริมน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง 
  • ใบผักหนาม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวลูกศรหรือรูปโล่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบและหยักเว้าลึกเป็น 9 พู รอยเว้ามักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบมีขนาดกว้างมากกว่า 25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหนามแหลมตามเส้นใบด้านล่างและตามก้านใบ ใบอ่อนม้วนเป็นแท่งกลม ก้านใบมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกยาวและแข็ง โดยมีความยาวประมาณ 40-120 เซนติเมตร
  • ดอกผักหนาม ออกดอกเป็นช่อเชิงลด ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก เป็นแท่งยาวขนานเท่ากับใบ ประมาณ 4 เซนติเมตร แทงออกมาจากกาบใบ ก้านช่อดอกมีหนามและยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร มีดอกย่อยอัดกันแน่นเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ใบประดับเป็นกาบสีน้ำตาลแกมเขียวถึงสีม่วง กาบหุ้มม้วนบิดเป็นเกลียวตามความยาวของกาบ มีความยาวได้ถึง 55 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อดอกแบบแท่ง Spadix ช่อดอกเป็นสีน้ำตาล ดอกเพศผู้จะมีจำนวนมากและอยู่ตอนบน ส่วนดอกเพศเมียจะมีจำนวนน้อยกว่าและอยู่ตอนล่าง จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 
  • ผลผักหนาม ผลมีลักษณะเรียงชิดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก เป็นผลสด หนา และเหนียว ผลอ่อนเป็นสีเขียวมีเนื้อนุ่ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมแดง จะเป็นผลในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของผักหนาม

  • ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ ส่วนในอินเดียจะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ปวดท้อง ปวดตามข้อและโรคผิดปกติเกี่ยวกับลำไส้ ใช้น้ำคั้นจากต้นเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร และใช้ลำต้นและผลเป็นยาแก้อาการผิดปกติเกี่ยวกับคอ
  • ชาวไทใหญ่จะใช้ทั้งต้นรวมกับไม้เปาและไม้จะลาย นำไปต้มอาบและดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย
  • ลำต้นผักหนาม มีรสเผ็ดชา ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลืองหรือแดง ผิวหนังเน่าเปื่อยเป็นหนอง ใช้ต้มเอาน้ำอาบแก้อาการคันเนื่องจากพิษหัด เหือด ไข้ออกผื่น สุกใส ดำแดง ทำให้ผื่นหายเร็ว และใช้เป็นยาถอนพิษ บ้างใช้ลำต้นแห้งทำเป็นยารักษาโรคผิวหนัง
  • ตำรับยาแก้ผิวหนังเน่าเปื่อยเรื้อรัง เท้าเน่าเปื่อย หรือศีรษะเน่าเปื่อยเป็นแผลเรื้อรัง ให้ใช้ลำต้นผักหนามนำต้มเอาน้ำชะล้างหรือบดให้เป็นผงแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น
  • เหง้าใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ต้มกับน้ำอาบแก้คันเนื่องจากพิษหัด เหือด สุกใส ดำแดง และโรคผิวหนัง บ้างใช้เหง้าฝนกับน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ (เหง้า)
  • รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ ส่วนอีกข้อมูลระบุให้ใช้รากต้มกับน้ำให้เด็กแรกเกิดอาบ แก้อาการเจ็บคอ
  • รากและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ
  • ใบผักหนามใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้ไอ ส่วนในศรีลังกาจะใช้ใบเป็นยาแก้ปวดท้องและอาการปวดอื่น ๆ ใช้ก้านใบบดให้เละแล้วนำไปให้โคกระบือกินครั้งละน้อย ๆ เป็นยาแก้อาการผิดปกติเกี่ยวกับคอ

ขนาดและวิธีใช้ : การเก็บยาให้เก็บลำต้นในช่วงฤดูร้อนและล้างให้สะอาด แล้วนำไปตากแห้งหรือหั่นเป็นแผ่นตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ลักษณะยาที่ดีจะรสเผ็ดชา ต้นที่เก็บจะต้องมีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก เปลือกสีน้ำตาลเทา มีข้อเป็นปุ่ม ขรุขระมีหนามแข็ง แต่ละข้อห่างกันประมาณ 6-7 เซนติเมตร มีรากฝอยขดม้วนเข้าไปที่โคนก้านใบ เนื้อในเป็นสีเทาหรือสีชมพู มีแป้งมาก และมีจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป) โดยให้ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 ต้มกับน้ำกิน ส่วนการใช้ภายนอกให้นำไปต้มเอาน้ำชะล้างหรือบดเป็นผงทาบริเวณที่เป็น

ประโยชน์ของผักหนาม

  • ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนผักหนามมีรสจืด (ถ้านำไปดองจะมีรสเปรี้ยว) สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ โดยนำมาลวกหรือต้มกับกะทิ หรือใช้ทำผักดองแกล้มแกงไตปลาและขนมจีน รับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปผัด ปรุงเป็นแกง อย่างแกงส้ม แกงไตปลา เป็นต้น โดยคุณค่าทางโภชนาการของผักหนามใน 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 18 แคลอรี, โปรตีน 2.1 กรัม, ไขมัน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 2.0 กรัม, ใยอาหาร 0.8 กรัม, เถ้า 0.8 กรัม, วิตามินเอ 6,383 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 0.92 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.91 มิลลิกรัม, วิตามินซี 23 มิลลิกรัม, แคลเซียม 14 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
  • ก้านใบอ่อนใช้ต้มกินกับน้ำพริก
  • ในอินเดียจะใช้ผลผักหนามปรุงเป็นอาหาร
  • ลำต้นนำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้ผสมในข้าวสาร แล้วนำไปหุง จะช่วยเพิ่มปริมาณ
  • ก้านและใบใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงโคกระบือ (นำมาตำกับเกลือให้โคกระบือกิน) ทำให้อ้วนท้วนสมบูรณ์ เพราะผักหนามมีฮอร์โมนบางชนิดและสารบางตัวที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะช่วยในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคได้อีกทางหนึ่ง
  • นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีการทดลองนำผักหนาม โดยใช้ส่วนของก้านแก่และใบแก่ (ปริมาณร้อยละ 0.5) มาบดผสมลงไปในอาหารเลี้ยงไก่ เมื่อเปรียบเทียบผลกับการใช้อาหารสัตว์ที่มีการผสมยาปฏิชีวนะ ผลการทดลองพบว่า ไก่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โดยที่ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเพิ่มน้ำหนัก และอื่น ๆ ไม่แตกต่างกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้นต้นทุนด้านค่าอาหาร (เมื่อคิดต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวไก่แล้ว การใช้ผักหนามมีต้นทุนต่ำกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ) แต่เมื่อเพิ่มปริมาณเป็นร้อยละ 1.5 โดยใช้ลำต้นและรากผักหนามแทน จะเห็นได้ชัดว่า ผักหนามให้ผลดีกว่ายาปฏิชีวนะ เพราะน้ำหนักตัวของไก่เพิ่มขึ้นมากกว่าไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมยาปฏิชีวนะเกือบ 20% และมีการกินอาหารได้มากกว่า แต่ต้นทุนค่าอาหารก็ยังต่ำกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเหมาะกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก 

ข้อควรระวัง : ใบ ก้านใบ และต้นผักหนามมีสารไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (Cyanogenic. Glycosides) ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ (สารพิษชนิดหนึ่ง) ได้ โดยเป็นสารพิษที่ออกฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนของเลือด เมื่อได้รับพิษหรือรับประทานเข้าไปดิบ ๆ จะทำให้อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก มึนงง ไม่รู้ตัว ชักก่อนจะหมดสติ มีอาการขาดออกซิเจน ตัวเขียว ถ้าได้รับมากจะทำให้โคม่าภายใน 10-15 นาที และเสียชีวิตได้ เมื่อได้รับพิษจะต้องทำให้อาเจียนออกมา แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้อง ดังนั้นก่อนนำมารับประทานจะต้องนำไปทำให้สุกหรือดองเปรี้ยวเพื่อกำจัดพิษไซยาไนด์เสียก่อน

คำสำคัญ : ผักหนาม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักหนาม. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1724&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1724&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เลียบ

เลียบ

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร  ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน  เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น  ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก  เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 11,780

ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง

ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 17,214

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,322

พรมมิแดง

พรมมิแดง

พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,586

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,372

เตยหอม

เตยหอม

เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,260

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,250

ผักโขม

ผักโขม

ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth)  มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,903

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,954

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ที่มีเนื้ออ่อนลำต้นกลวง มีข้อปล้องสีเขียว  ขึ้นเลื้อยตามหน้าน้ำ หรือดินแฉะ  ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม คล้ายๆกับปลายหอก เป็นไม้ใบเดี่ยว อออกสลับทิศทางกันตามข้อต้น ใบยาว ประมาณ 2-3 นิ้ว  ดอกลักษณะของดอก เป็นรูประฆังเล็ก มีสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีชมพูด้านในของโคนดอก จะมีสีเข้มกว่าด้านนอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 2 นิ้วและจะตกในฤดูแล้ง  ผลเป็นรูปมนรี คล้ายกับ capsule

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,611