ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 2,359

[16.4264988, 99.2157188, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)]

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง” มี 2 สาย คือ สายเหนือจากเมืองสุโขทัยถึงเมืองศรีสัชนาลัย สายใต้จากเมืองสุโขทัยถึงเมืองกำแพงเพชร รวม ระยะทางทั้งสิ้น 123 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนทั้ง 3 เมืองต่างภูมิใจ เพราะถือเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศไทย ถนนพระร่วงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีใครทราบได้ แต่ถ้าสอบถามชาวบ้านที่อยู่ในเขตเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มักได้คำตอบว่า ถนนสายนี้มีมานานแล้วเห็นกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายยังเด็ก พร้อมกับมีเรื่องเล่าปรัมปราถึงพระร่วงเจ้าทรงชอบเล่นว่าว เลยสร้างถนนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่เล่นว่าว หรือบ้างก็ว่าพระร่วงเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จไปยังเมืองศรีสัชนาลัย ระหว่าวที่อยู่ในขบวนได้ใช้พระบาทข้างซ้าย ข้างขวาเกลี่ยดินเล่นพูนขึ้นเป็นถนน ส่วนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงหรือพระยาลิไทกันแน่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชเป็น พระองค์แรกที่ได้สำรวจถนนพระร่วงโดยออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม – 2 กมุภาพันธ์ พ.ศ 2450 แล้วทรงบันทึกเส้นทางเอาไว้ในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งเป็นหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวที่ดีเล่มหนึ่งของประเทศไทย เพราะนอกจากจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแล้วยังมีสาระทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ สามารถนำไปศศึกษาค้นคว้าได้หลายเรื่องราว  การสำรวจถนนพระร่วงในช่วงหลังได้มีการสำรวจกันกหลายครั้งค จากกรมศิลปากร นักวิชาการมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน และล่าสุดคณะนักเรียนและครูมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาของจังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร ได้ร่วมกันถนนพระร่วงเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นการตามรอยพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงสำรวจไว้เป็นครั้งแรก การสำรวจในครั้งหลังนี้ใช้บุคลากรในท้องถิ่น และอยู่ใกล้กลับแห่งประวัติศาสตร์มากที่สุด
          หลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า ถนนพระร่วงเป็นถนนโบราณใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางบกคือจารึกบนฐานพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่เคยประดิษฐานอยู่ที่เทวสถานในเมืองกำแพงเพชร กล่าวถึง พ.ศ. 2053 พระยาศรีธรรมาโศกราช ได้ประดิษฐานพระอิศวรไว้ให้คุ้มครองผู้คนและสัตว์ในเมืองกำแพงเพชร พร้อมทั้งซ่อมแปลงพระมหาธาตุ วัดต่าง ๆ ทั้งในเมืองนอกเมือง และมีการซ่อมแซมถนนใหญ่ (ถนนถลา) ซึ่งชำรุดลบเลือนไปแล้วถึงเมืองบางพาน ด้วยความสนใจในสภาพของถนนพระร่วงโบราณสถานสำคัญที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร จึงออกสำรวจร่องรอยที่เหลืออยู่ โดยเริ่มต้นที่ป้อมวัดช้าง พร้อมแผนที่ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง เพื่อหาร่องรอยของถนนพระร่วงสายใต้จากเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองบางพานถึงเมืองสุโขทัยจากวัดช้าง เดินเท้าผ่านทุ่งนา ไร่กล้วยไข่ ยังไม่มีร่องรอยของถนนพระร่วงปรากฏให้เห็น เพราะถูกร้อถอนทำลายจนสิ้นสภาพไปหมดแล้ว ย่ำต่อไปด้วยด้วยความเหน็ดเหนื่อยและท้อใจกลับจะไม่พบแนวคันดินถนนโบราณที่อุตส่าห์ ดั้นด้นออกค้นหา เดินจากวัดช้างไปได้ประมาณ 5 กิโลเมตร พบวัดเก่ารกร้างไม่ได้บูรณตกแต่ง มีป้ายชื่อบอกให้รู้ว่าเป็นวัดอาวาสน้อย จึงเข้าไปสำรวจเที่ยวชมได้พบร่องรอยของโบราณสถานอันยิ่งใหญ่ จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกของวัดได้พบคันดินถมสูงขึ้นจากพื้นราบ 1 เมตร กว้าง 5-6 เมตร มีระยะยาวเพียง 50 เมตร ชาวบ้านแถวนั้นยืนยันว่าเป็นคันดินของถนนพระร่วงอย่างแท้จริง ณ ที่บริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ดร.ไพฑูรย์  มีกุศล เคยมาสำรวจแล้วบันทึกเอาไว้พบวา่มีคันดินเป็นแนวถนนประมาณ 200เมตร แต่เพียงไม่กี่ปีต่อมาถูกทำลายไปจนเกือบหมดแล้ว
           แนวของถนนพระร่วงจากเมืองกำแพงเพชรไปยังเมืองสุโขทัย ถ้ายึดตามแผนที่ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเริ่มต้นจากป้อมวัดช้างที่อยู่นอกเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปทางเหนือผ่านวัดช้าง วัดอาวาสน้อย บ้านบ่อสามแสน เมืองบางพาน เชิงเขานางทอง บ้านพรานกระต่ายใต้ (วัดไตรภูมิ) บ้านพรานกระต่ายเหนือ เข้าสู่บ้านเหมืองหาดทราย เมืองคีรีมาศ ไปจนถึงเมืองสุโขทัย รวมระยะทางประมาณ 73 กิโลเมตร ระหว่างทางที่ได้สำรวจพบแท่งศิลาแลงปักอยู่บนเนินดิน มีเศษกระเบื้องมุงหลังคาหักพังถมอยู่ นักวิชาการทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นศาลาที่พักริมทาง ถัดไปไม่ไกลมองเห็นซากโบราณสถานอยู่กลางบ่อลูกรังขนาดใหญ่ที่ถูกขุดลงไปจนลึกมาก อยากที่จะเข้าไปดู เห็นแล้วรู้สึกเสียดายเพราะคงไม่สามารถบูรณะซ่อมแซมได้ ทำให้ไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ของถนนพระร่วงกับโบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ถือเป็นตัวอย่างอันสำคัญของความเห็นแก่ได้ของคนในยุนี้ที่กล้าทำลายความยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษลงได้อย่างไร้จิตสำนึก

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง, ถนนพระร่วง

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ). สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1311

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1311&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,479

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,187

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,233

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,102

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,720

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน    อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,779

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,759

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,223

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,132

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,675