เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 3,348
[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร]
มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ
พระเจ้าพังคราช เจ้าผู้ครองนครแห่งแคว้นโยนกเสียเมืองให้แก่ขอมไปไม่นานนักก็กลับเป็นเอกราชอีกครั้งหนึ่งด้วยพระปรีชาสามารถของพระโอรสองค์น้อย คือ พระเจ้าพรหม ซึ่งมีอุปนิสัยเป็น นักรบและมีความกล้าหาญ ได้สร้างสมกำลังผู้คน ฝึกหัดทหารจนช้านิช้านาญ แล้วคิดต่อสู้กับขอมไม่ยอมส่งส่วยให้ขอม เมื่อขอมยกกองทัพมาปราบปรามก็ตีกองทัพขอมแตกพ่ายกลับไปและยังได้แผ่อาณาเขตเลยเข้ามาในดินแดนขอม ได้ถึงเมืองเชลียง และตลอดถึงล้านนา ล้านช้าง แล้วอัญเชิญพระราชบิดา กลับไปครองโยนกนาคนครดังเดิม แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่าชัยบุรี ส่วนพระองค์เองนั้นลงมาสร้างเมืองใหม่ทางใต้ชื่อเมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐา คือ เจ้าทุกขิตราช ดำรงตำแหน่งอุปราช นอกจากนั้นก็สร้างเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองชัยนารายณ์ นครพางคำ ให้เจ้านายองค์อื่น ๆ ปกครอง เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าพังคราช พระเจ้าทุกขิตราชก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี ส่วนพระเจ้าพรหมและโอรส ของพระองค์ก็ได้ครองเมืองชัยปราการต่อมา ในสมัยนั้นขอมกำลังเสื่อมอำนาจ จึงมิได้ยกกำลังมาปราบปราม ฝ่ายไทยนั้นแม้กำลังเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่ก็คงยังไม่มีกำลังมากพอที่จะแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้อีกได้
ดังนั้นอาณาเขตของไทยและขอมจึงประชิดกันเฉยอยู่ เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าพรหมกษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาอ่อนแอและหย่อนความสามารถ ซึ่งมิใช่แต่ที่นครชัยปราการเท่านั้น ความเสื่อมได้เป็นไปอย่างทั่วถึงกันยังนครอื่น ๆ เช่น ชัยบุรี ชัยนารายณ์ และนครพางคำ ดังนั้นในปี พ.ศ. 1731 เมื่อมอญกรีฑาทัพใหญ่มารุกรานอาณาจักรขอมได้ชัยชนะแล้วก็ล่วงเลยเข้ามารุกรานอาณาจักรไทยเชียงแสน ขณะนั้นโอรสของพระเจ้าพรหม คือพระเจ้าชัยศิริ ปกครองเมืองชัยปราการ ไม่สามารถต้านทานศึกมอญได้ จึงจำเป็นต้องเผาเมือง เพื่อมิให้พวกข้าศึกเข้าอาศัยแล้วพากันอพยพลงมาทางใต้ของดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งมาถึงเมืองร้างแห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชร ชื่อเมืองแปป ซึ่งเป็นมืองร้างฝั่งกำแพงเพชรได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปปอยู่ห้วงระยะเวลาหนึ่งเห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะสม จึงได้ย้ายไปสร้างเมืองไตรตรึงษ์
คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์
ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1323&code_db=610001&code_type=01
Google search
วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,113
เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,986
ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,455
ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,749
พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,311
มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,542
จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,244
กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า)
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,916
ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,185
เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,077