ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 3,311

[16.3951069, 98.9529353, ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้]

          ชื่อบ้านนามเมือง "กำแพงเพชร" เรื่องสำคัญที่คนกำแพงเพชรส่วนใหญ่ไม่รู้ ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง
          หากพูดถึงชื่อของเมืองกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรและนักท่องเที่ยวทุกคน คงนึกออกแต่ชื่อ ชากังราว กันทั้งสิ้น แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ปรากฎคำว่ากำแพงเพชร มีอยู่สองชื่อด้วยกัน แต่ในวันนี้จะกล่าวถึงชื่อ เมืองพชรบุรีศรีกำแพงเพชร เป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นชื่อที่มีความไพเราะ และมีหลักฐานที่น่าสนใจ แต่ชาวกำแพงเพชร น้อยคนนักที่จะเคยได้ยิน และรู้ถึงที่มา บางท่านอาจจะตกใจด้วยซ้ำว่า กำแพงเพชรมีชื่อเช่นนี้ด้วยหรือ
           ชื่อ '' พชรบุรีศรีกำแพงเพชร '' นั้น ต้องกล่าวถึงจารึกวัดตาเถรขึงหนัง หลักที่ ๔๖ ซึ่งค้นพบที่วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม หรือเดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดตาเถรขึงหนัง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 
            โดยเนื้อหาโดยสังเขปของเรื่องราวที่จารึกของวัดตาเถรขึงหนัง อักษรที่มีในจารึกเป็นอักษณะขอม ภาษาไทย,บาลี ในส่วนภาษาบาลี เป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย และคำไหว้อาจารย์ ส่วนจารึกภาษาไทย ได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดี ราชโอรส ขึ้นเสวยราชย์ในนครศรีสัชนาลัยสุโขทัย ตลอดถึงการอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้าง “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” และสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา ปลูกพระศรีมหาโพธิการ
กำหนดอายุข้อความจารึก บรรทัดที่ ๑๗ ระบุ จ.ศ. ๗๖๖ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๙๔๗
             สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดาหรือ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลง เป็นเป็นพระอัครมเหสีในพระยาลิไท ทั้งนี้ที่พระองค์ครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรส อาจเป็นเพราะพระราชโอรสนั้นยังเยาว์พระชันษา พระองค์จึงต้องราชาภิเษกตนขึ้นดูแลบ้านเมือง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจร่วมกับยุวกษัตริย์ และรักษาอำนาจทางการเมืองไว้ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามีศรัทธาในพุทธศาสนา โดยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้างวัด “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม " (หรือ วัดตาเถรขึงหนัง) ณ เมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๗ พระองค์และพระราชโอรส ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร เป็นพระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคันธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชามหาสวามีเจ้า พระสังฆ-ปรินายก เป็นพระสังฆราชเจ้า ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๑๙๔๙ ซึ่งพระสังฆราชพระองค์นี้อาจมีความสัมพันธ์เป็นพี่น้องหรือเครือญาติของพระองค์ และอาจเป็นเครือญาติหรือบิดาของแม่พระพิลกพระราชชนนีในพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาด้วย ดังปรากฏในจารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ ๓ ความว่า
             “...เมื่อศักราชได้ ๗๖๘ จอนักษัตร เดือนอ้าย แรม ๑๐ ค่ำ วันอาทิตย์ ตราพระราชโองการเสด็จมหาธรรมราชาธิราชในพระพิหารสีมากระลาอุโบสถอันมีในทะเลฉางนั้นพอประถมยามดังนี้ เราตั้งพระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคันธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชามหาสวามีเจ้าเป็นสังฆปรินายกสิทธิแล ภิกษุสงฆ์ผู้ใดหนอรัญวาสี แลกระทำบโชบธรรมไซร้ บางอำเพิอบรมครูเป็นเจ้าหากสำเร็จเองเท่า อำเพิอบรมครูปรญาปติอันใดไซร้ เรามิอาจจะละเมิดมิได้เลย...”
            ย้อนกลับเข้ามาวิเคราะห์ เรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวข้องและมีความสำคัญกับเมืองกำแพงเพชรอย่างไร จากการที่ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาทรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้นิมนต์สมเด็จพระมหาศรีกิรติไปจากเมือง พชรบุรีศรีกำแพงเพชร ซึ่งหมายถึงเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน เพื่อไปสร้างวัด “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม "สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในเมืองกำแพงเพชร รวมถึงองค์ความรู้ฝีมือเชิงช่างในการสร้างวัดที่กำแพงเพชรได้ติดไปกับสมเด็จพระมหาศรีกิรติในการสร้างวัดแห่งนี้ด้วย
            ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระเจดีย์ของวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม มีความคล้ายคลึงกับเจดีย์ในเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเจดีย์ศิลปะสกุลช่าง เมืองกำแพงเพชรนี้มีความพิเศษมหัศจรรย์อลังการ ในเรื่องการผสมผสานสถาปัตยกรรมของหลายอาณาจักร (จะเขียนเรื่องนี้ในโอกาสต่อๆไปครับ) และจารึกหลักนี้ยังได้กล่าวถึงชื่อเมืองกำแพงเพชร ในช่วงปีพุทธศักราช ๑๙๔๗ คือชื่อเมือง พชรบุรีศรีกำแพงเพชร นั่นเอง นับเป็นชื่อที่ไพเราะ ควรค่าแก่ความทรงจำชาวเมืองกำแพงเพชร

           กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด 
           จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน
           ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น 
           ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า
           วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)
           พระองค์ท่านเสด็จไปประทับในกําแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ พระอมด้วยพระราชศฤงคารบริพารพล และทหารทั้ง ๔ เหล่า โดยทางน้ํา พระยาพังเกษตรสคาบุรีพระยาพังศรีสัชชนาลัยบุรี พระยาพังไทวยนทีศรียมนา พี่พระยาทานพังนครไทย และ(ชื่ออ่านไม่ได้) ผู้เป็นพระราชมาตุละบพิตรมนตรีอนุชิตลุงตนเลี้ยงท่าน และเป็นเจ้าเมืองไตรตรึงส์ พร้อมด้วยนักปราชญ์ราชกวีมีสกุลพรรณ นั่งลงถวายอัญชุลีพระบาท (บรรทัดที่ ๕-๑๐)
           พระองค์เสด็จในพระที่นั่งตรีมุข ภายหลังเสวยสุขจากการทําพระองค์ให้บริสุทธิ์และทรงตั้งพิธีทางไสยศาสตร์แล้วไม่นาน พระองค์เสด็จออกพร้อมด้วยบุรีฝูงพาลและฝูงโลก (ข้าราชบริพารฝ้ายในทั้งอ่อนและแก่) เพื่อจะให้คนในโลกนี้ที่ยังทุกข์กังวล สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหญิงชายและสมณพราหมณ์ (ได้ฟัง?) ได้พูดกันว่า ในอันที่พระองค์ท่านได้เสวยราชย์นั้น ทรงปรารถนาจักขัดเกลา (ทําให้บริสุทธิ์) พระราชสีมานี้ประดุจเดียวกับมนุษยธรรม (กฎหมายที่ปกครองมนุษย์)แบบอย่างพ่อขุนรามราช ที่ฝูงคนแสดงยศปรากฏสุขมาชั่วลูกหลานสูงสุดและมั่นคง เหตุฉะนั้นสมเด็จพระรามราชาธิราชจึงมีพระราชโองการอันยิ่งใหญ่ ให้ตราพระราชบัญญัติ ขึ้นบังคับใช้แก่ลูกขุนมูลตวานบริวารไพร่ฟ้าทั้งหลาย ถ้วนทุกเมืองเล็กเมืองใหญ่ทั้งหลายในพระราชอาณาจักรนี้ไซร้กลางเมืองสุโขทัยอันเป็นประธานกึ่งแห่งเมือง ทั้งหลาย เป็นต้นว่า เชลียง กําแพงเพชร ทุ่งยั้ง ปากยม สองแคว และเมืองอื่น ดังนี้ (บรรทัดที่ ๑๐-๑๗)
           ความสําคัญของเอกสาร
            ในบรรดาจารึกสุโขทัย จารึกลักษณะลักพา/โจร ถือว่ามีความสําคัญเป็นพิเศษ เพราะโดยปกติแล้ว จารึกโบราณมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพระศาสนา เช่น การสร้างวัด หรือ การกัลปนา เป็นต้น จารึกลักษณะลักพา/โจร เป็นจารึกเพียงหลักเดียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บันทึกตัวบทกฎหมายไว้ เนื้อความในจารึกเป็นบทกําหนดโทษผู้กระทําความผิดในลักษณะลักพาสิ่งของผู้คน หรือ โจรขโมยเข้าของต่างๆ เพราะฉะนั้น จึงมีความสําคัญยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและประวัติศาสตร์สังคมไทยโบราณ
             ศรีบรมจักรพรรดิราช หมายถึง สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๓ พระราชสวามีสมเด็จพระอัครราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งมีพระราชประวัติกล่าวไว้ในจารึกวัดอโสการามและจารึกวัดบูรพาราม
             และนี่คือเรื่องราวของชื่อเมืองกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ที่ได้ยกย่อมาจากการศึกาาค้นคว้าของนักวิชาการ นักโบราณคดี และแอดมินได้นำเอาเนื้อหา จากการบรรยายประวัติศาสตร์และหลักฐานทางประวัติิศาสตร์ของ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียรบรรยาย ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ (เสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔)
             ขอกุศลทั้งหลายจากการที่ได้เผยแพร่แชร์ความรู้เรื่องราวข้อมูลเหล่านี้ จงสำเร็จแก่ผู้แชร์ และขออุทิศให้เทพยาอารักษ์ เสื้อเมือง ทรงเมืองหลักเมือง ดวงพระวิญาณ ดวงวิญาณ บรรพชนทุกดวงเทอญ

เรียบเรียง #กิตติสุวัฒนามังกร #ตะวัน#จดหมายเหตุกำแพงเพชร #ชื่อเมืองกำแพงเพชร #กำแพงเพชร นายธัชชัย สีสุวรรณ

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, ประวัติ

ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=307233253168879&id=305461816679356&__tn__=K-R

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1186

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1186&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 16,175

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,604

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 3,188

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 603

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,740

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แก่พระยากำแพงเพชร (นุช ) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,359

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 4,572

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,550

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก  กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 19,534

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,533