เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,381

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม]

          ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ถ้าพิจารณาความต้นเรื่องของพระราชพงศาวดารสังเขป ฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสให้ละเอียด จะพบว่ามีตำนาน 2 เรื่องอยู่ปนกัน คือ เป็นเรื่องพระเจ้าพรหม (ผู้พ่อ) จากดินแดนแคว้นโยนกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก-อิง-โขง ขับไล่ขอมดำลง มาถึงดินแดนเมืองกำแพงเพชร กับเรื่องพระเจ้าไชยสิริ (ผู้ลูก) แห่งเมืองโยนกนครศรีช้างแสน และเวียงไชยปราการ ถูกกษัตริย์เมืองสุธรรมวดี (สะเทิม อยู่ในพม่า) โจมตีขับไล่หนีลงมาถึงดินแดน เมืองกำแพงเพชรเช่นเดียวกับพระเจ้าพรหม (ผู้พ่อ) ทั้ง 2 เรื่องนี้มีอยู่ในต้านานสิงหนวัติกุมาร ความเชื่อเรื่องพระเจ้าพรหมแคว้นโยนก เป็นต้นเค้าราชวงศ์กษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา มิได้เพิ่งมีเมื่อกรม สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปนี้เท่านั้น หากมีร่องรอยมาแต่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ตั้งแต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ตั้งเมืองนครชัยศรี ก็เอาชื่อเมืองมาจากเค้าความเชื่อเรื่องพระเจ้าศิริไชย เมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นโอรสพระเจ้าพรหม แม้ในเอกสารวันวลิต ก็ระบุนิทานเรื่องพรมเทพ ส่วนเอกสารของตาชาตกับลาลูแบร์แม้จะไม่ชัดเจนโดยตรง แต่ก็มีร่องรอยของการเคลื่อนย้ายจากสองฝั่งโขงแต่ที่ชัดเจน คือเอกสารชื่อพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ที่ชาวล้านนาแต่งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 23 ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า พระมหากษัตริย์อยุธยา เป็นชาติเชื้อวงศาแห่งพระยาพรหมกุมาร แสดงว่าชาวล้านนายุคนั้นก็เชื่ออย่างนั้นเช่นเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ทรงเชื่อเรื่องเชื้อสายวงศ์ของพระเจ้าพรหมมาสร้าง แล้วครองกรุงศรีอยุธยา ตามพระราชพงศาวดารสังเขป ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ดังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์เล่าเรื่องนี้ว่า 
           "มีพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้หมอดินส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือไจนีสเรโปสิตอรี ที่เมืองกิ่งตังเมื่อปีกุน จุลศักราช 1213 พ.ศ. 2394 ว่าพระเจ้าอู่ทอง เป็นราชบุตร เขยของพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ได้รับราชสมบัติสืบพระวงศ์ทางพระมเหสี ครองราชย์สมบัติ อยู่ 6 ปี เกิดโรคห่า ขึ้นในพระนคร จึงย้ายมาตั้งราชธานีที่เมืองศรีอยุธยา" (ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์อยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1 ฉบับ พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์ไทยสะพานยศเส พ.ศ. 2457)   สรุปได้ความว่า มีพระราชโอรสของพระเจ้าพรหมมหาราชได้หลบหนีข้าศึกจากแคว้นโยนกอพยพผู้คนลงมาทางใต้ แล้วเข้าไปอาศัยพักไพร่พลในเขตพื้นที่ของกำแพงเพชร แล้วสร้างเมืองขึ้นใหม่ชื่อว่า  เมืองไตรตรึงษ์

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1322&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1322&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,172

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,223

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,141

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,388

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,228

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,570

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,141

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,537

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,386

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,688