ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้ชม 966

[16.4196308, 99.1705869, ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร]

เจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ เฉพาะเท่าที่สามารถตรวจสอบได้จากจารึกพงศาวดาร และเอกสารทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเท่านั้น มีดังนี้
      (1) พระยางั่ว                                            ก่อน พ.ศ. 1890
      (2) พระยาคำแหง                                       ราวปี พ.ศ. 1916
      (3) พระยาญาณดิศ                                     ราวปี พ.ศ. 1921
      (4) เจ้านครอินทร์                                       ราวปี พ.ศ. 1940
      (5) พระยาบาลเมือง                                    ราวปี พ.ศ. 1962
      (6) พระยาแสนสอยดาว                                ราวปี พ.ศ. 1963
      (7) พระยาศรีธรรมโศกราช                             ราวปี พ.ศ. 2053
      (8) ออกญารามรณรงค์สงครามอภัยพิรียะพาหะ      ราวปี พ.ศ. 2178

หลักฐานแสดงความเป็นมา
       1. พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย
       2. พระยาคำแหง ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งกรุงสุโขทัย ปรากฎหลักฐานในประชุมพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า ในปี พ.ศ.1916 และ พ.ศ. 1919 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) เสด็จไปตีชากังราว พระยาคำแหง เจ้าเมืองซากังราว สามารถยกพลเข้าต่อสู้จนกองทัพอยุธยาต้องยกทัพกลับทั้งสองคราว แสดงว่า พระยาคำแหงเป็นเจ้าเมืองชากังราวอยู่ระหว่าง พ.ศ.1916-1919 อย่างชัดเจน
       3. พระยาญาณดิศ ในปี พ.ศ.1921 ตามพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) ยกทัพมาตีชากังราว พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงยอมแพ้และออกมาถวายบังคม กรุงสุโขทัยต้องขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้จัดแบ่งสุโขทัยออกเป็น 2 ภาค โดยให้พระมหาธรรมราชาที่ 2 ปกครองอาณาเขดทางลำน้ำยมและน่าน โดยมีพิษณุโลกเป็นเมืองเอกภาคหนึ่ง ส่วนด้านลำน้ำปิงให้พระยายุทิษฐิระราชบุตรบุญธรรมเป็นผู้ปกครอง คือบริเวณตากและกำแพงเพชร โดยมีเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอก และเข้าใจว่าเมืองชากังราว เมืองนครชุม ตลอดจนเมืองอื่นคงจะรวมกันเป็นเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่นั้นมา พระยายุทิษฐิระ หรือที่เรียกกันว่าพระยาญาณดิศก็เป็นเจ้าเมืองครองเมืองกำแพงเพชร ในราวปี 1921
       4. เจ้านครอินทร์ในเรื่องเจ้านครอินทร์เป็นเจ้าครองเมืองกำแพงเพชร อาจารย์พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี กรมคิลปากร ได้นำเสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 บทความเรื่องความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชรว่า…."พ.ศ. 1940 ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือกฎหมายลักษณะโจะได้แสดงความยิ่งใหญ่ทางการปกครองของกษัตริย์ผู้เสวยราชย์ที่เมืองกำแพงเพชร ทรงพระนาม...จักรพรรดิราชผู้นำหลักกฎหมายหลักนี้มาประกาศไว้ ท่ามกลางเมืองสุโขทัย" และได้ให้ข้อคิดเห็นว่า "กษัตริย์กำแพงเพชรผู้นี้คือ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองกรุงศรีอยุธยา...มีเหตุผลชักจูงให้คิดว่า สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองราชย์สมบัติที่เมืองกำแพงเพชรนั้น คือ.... พระนามจักรพรรดิ์ ปรากฎว่าเป็นพระนามอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ในสุพรรณบัฏ พบที่พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุสุพรรณบุรี" ความจริงอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอเหตุผลไว้หลายข้อ แด่เฉพาะข้อนี้ก็พอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระนามจักรพรรดิราช คือพระนามสมเด็จพระนครินทราชาธิราช และพระนามนี้ ก็คือ พระนามของเจ้านครอินทร์ก่อนขึ้นเสวยราชย์ที่กรุงศรีอยุธยา และเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940
       5. พระยาบาลเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ บันทึกเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ของพระยาบาลเมืองไว้ ตอนหนึ่งว่า "ในปี พ.ศ.1962 พระอินทรราชาธิราชที่ 1 เสด็จขึ้นไปปราบจลาจลเมืองเหนือ แล้วโปรดเกล้าฯให้พระยารามคำแหง ครองเมืองสุโขทัยให้พระยาบาลเมือง ครองเมืองชากังราว พระยาบาลเมือง จึงเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1962
       6. พระยาแสนสอยดาว เรื่องราวความเป็นมาของเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้นี้ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เรื่อง ความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชร “จารึกสมเด็จพระมหารัตนโมลี" ซึ่งพบที่พระเจดีย์เก่า วัดพระยืนกำแพงเพชร และได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ.2529 ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้หนึ่ง ชื่อว่า"สมเด็จพระญาสอย" ได้ขึ้นเสวยราชย์ในเมืองกำแพงเพซร เมื่อ พ.ศ. 1963 สมเด็จพระญาสอย ผู้นี้น่าจะตรงกับชื่อ พระยาแสนสอยดาว เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งปรากฎฏชื่อพร้อมเจ้าเมืองอื่น ๆ อีก 3 เมือง ในแควันสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1983 ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ : เลขที่ 222.2/ก 104 จ.ศ.801-803 มัดที่ 27 และจารึกลานเงินที่มีผู้ได้ที่วัดพระมหาธาตุ ในบริเวณวัดพระแก้วระบุว่า เจ้าแสนสอยดาวเป็นผู้สร้างวัดนี้ พระยาแสนสอยดาวคือเจ้าเมืองกำแพงเพชรตามจารึก
       7. พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้สร้างพระอิศวร บูรณะซ่อมแชมและพัฒนาบ้านเมือง มีการทำชลประทานไปถึงเมืองบางพาน ในปี พ.ศ. 2053 ตามจารึกที่ฐานพระอิศวร พระญาศรีธรรมโศกราช จึงน่าจะเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในสมัยนั้น
       8. ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะ เมืองกำแพงเพชร ตามหลักฐานในกฎหมายตามสามดวง ที่ ตร.ประเสริฐ ณ นคร เสนอไว้ในรายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร วิทยาลัยครูกำแพงเพชร 7-9 กุมภาพันธ์ 2527 หน้า 266-267 กล่าวถึงกฎหมายดราสามดวงที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองของท่านผู้มีความชอบไปรั้ง ไปครองเมืองกำแพงเพชร พิชัย..หน้า 175 นายทหารหัวเมือง (ควรเป็น พ.ศ.2021) ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะเมืองกำแพงเพชร เมืองโท 10,000 ขึ้น ประแฎงเสนาฎขวา" เจ้าเมืองท่านนี้ จึงน่าจะเป็นผู้ครองเมืองในปี พ.ศ. 2178

คำสำคัญ : ทำเนียบ กำแพงเพชร เจ้าเมืองชากังราว

ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2566). ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2203&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2203&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,990

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,082

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,261

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 3,816

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,393

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,567

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,400

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,251

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,306

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,614