สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 6,543
[16.4264988, 99.2157188, สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร]
สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหนง่พระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “พ.ศ. 2081 แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียง ในเดือน 6 นั้น แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์เถิงเดือน 11 เสด็จไปเชียงกราน ถึงเดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ เพลาค่ำ ประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพายุพัดหนักหนา และคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก และเรือแก้วนั้นทลาย อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชรนั้นว่า พระนารายณ์คิดขบถและให้กุมเอาพระนารายณ์นั้นฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพชร
ปีจอ พ.ศ. 2081 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ยกทัพเข้ามารุกรานอาณาจักรไทย โดยเข้าโจมตี เมืองเชียงกราน ซึ่งพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงเข้าพระทัยว่าเป็นเมืองมอญ จึงมีพระราชประสงค์จะรวม เอาไว้ในราชอาณาจักรของพระองค์ เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีได้เมืองเชียงกรานแล้ว ความก็ทราบถึง สมเด็จพระชัยราชาธิราช จึงได้เสด็จยกทัพหลวงพร้อมด้วยทหารอาสาชาวโปรตุเกสที่เข้ามาทำการค้าอยู่ในกรุงศรีอยุธยาไปทำศึกกับพม่า และสามารถตีเอาเมืองเชียงกรานกลับคืนมา การสงครามครังนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยกับพม่าเป็นศัตรูกันต่อมา
สมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ยกกองทับกลับมาถึงเมืองกำแพงเพชร และในการเสด็จยกทัพไปสกัดกั้นการรุกรานนของพม่าครั้งนั้น สมเด็จพระชัยราชาธิราช ทรงทราบว่า พระนารายณ์หรือพระยากำแพงเพชรเอาใจออกห่างฝักใฝ่กับพม่า โดยประพฤติตนเป็นสายให้พม่า จึงได้ทรงลงพระอาญาประหารพระยากำแพงเพชรเสีย สงครามระหว่างไทยพับพม่าครั้งแรกที่เมืองเชียงกรานเกิดขึ้นจากการสินสุดของอาณาจักรพุกาม และเกิดการแตกแยกชิงอำนาจกันทั้งจากพวกพม่า มอญ และไทยใหญ่ ต่อมาพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงรวบรวมพมา่ขึ้นใหม่ท่ี่เมืองตองอูต่อจากพระเจ้ามหาสิริชัยสุระพระราชบิดาที่ทรงสถาปนาราชวงศ์ตองอูขึ้นมา พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงเริ่มขยายอำนาจลงมาทางใต้เพื่อปราบอาณาจักรมอญที่เมืองพะโคหรือหงสาวดี ซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจากการค้าและมีกำลังผู้คนมาก ทำให้พวกมอญหลบหนีลงมาที่เมืองเชียงกราน เมืองนี้อยู่ภายใต้การปกครองของไทย พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ยกทัพกองทัพตามลงมาเมื่อ พ.ศ.2081 ทั้งนี้ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานจากข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จไปเมืองไกรเชียงกรน
สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงทราบข่าวจึงเสด็จยกกองทัพไปขับไล่จำนวนทหารที่ยำไปนี้มีทหารอาสาโปรตุเกสหรือนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสร่วมไปด้วย 120 คน ทั้งนี้ตามความเห็นของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งอ้างหลักฐานจากข้อเขียนของเฟอร์นาว เมนเดส ปินโต (Fernao Mendes Pinto) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาและที่อื่น ๆ ในเวลานั้น แต่ถ้าพิจารณาข้อเขียนดังกล่าว ปินโตกล่าวถึงทหารอาสา 120 คน ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาไปรบกับล้านนาในตอนปลายรัชกาล อย่างไรก็ดี น่าจะมีทหารอาสาในกองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ด้วย ผลของสงครามไทย-พมา่ ครั้งแรกนี้คือไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงกรานได้
มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับเมืองไทย เป็นบันทึกของเฟอร์ดินัน เมนเดช ปินโต ชาวโปรตุเกส เรื่อง “การเดินทางท่องเที่ยวและผจญภัยของเฟอร์ดินัน เมนเดช ปินโต (the travels, voyages and adventures of Ferdinand mendez pinto) ซึ่งมีข้อความบางตอนเกี่ยวเนื่องกับเมืองกำแพงเพรช ดังนี้
...เริ่มด้วยศึกเชียงกราน เราออกเดินทาง 26 วัน ก็มาถึงกรุงศรีอยุธยาราชธานีของอาณาจักรโสน ปกติเรียกว่าสยาม ได้รับการต้อนรับอย่างน่าพิศวรและได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากพวกโปรตุเกส จากที่นั่นข้าพเจ้าอาจสามารถเดินทางต่อไปยังญี่ปุ่นได้โดยไปในกลุ่มเรือโปรตุเกส 6 หรือ 7 ลำ ข้าพเจ้าลงมือทำบัญชีรายการสินค้าเป็นเงินหลายร้อยดูคัตส์ ในเวลาเดียวกันก็มีข่าวสำคัญมาถึงพระเจ้าแผ่นดินสยามที่กรุงศรีอยุธยา ว่าเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับพวกทิโมคูโฮ (Timncuho) เจ้าเมืองลาว เจ้าเมืองเงี้ยว ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เหนือเมืองกำแพงเพชรและพิษณุโลก คนเหล่านั้นได้มาล้อมเมืองกีเตรวน (Quiteruan) (กำแพงเพชร) ไว้ และได้สังหารผู้คนล้มตายไปกว่า 30,000 คน รวมทั้งออกญากำแพงเพชร ผู้สำเร็จราชการและนายทัพของชายแดนนั้นด้วย เมื่อทราบข่าวนี้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลทุกคนที่ไม่ใช่คนชราและคนพิการให้พร้อมที่จะออกทัพภายในเวลา 12 วัน
พ.ศ. 2088 พระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยามาตีเชียงใหม่ มหาเทวีเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงใช้ยุทธวิธีแต่งบรรณาธิการไปถวายและต้อนรับด้วยสัมพันธไมตรี โดยเชิญเสด็จพระไชยราชาประทับที่เวียงเจ็ดลิน ทำให้เชียงใหม่รอดพ้นจากภัยสงครามในครั้งนั้น การยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2088 ทรงโปรดให้พระยาพิษณุโลก เป็นแม่ทัพยกพลออกไปตั้งทัพชัย (ตั้งทัพทำพิธีชัยชนะ) อยาที่ตำบลบางบาล พอวันเสาร์ เดือนเจ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ พระองค์จึงยกทัพหลวงจากทัพชัยขึ้นเหนือโดยทางเรือกว่า 3,000 ลำ มีทหารหลายแสนคน และมีทหารช่างชาติอย่างโปตุเกสร่วมมาด้วยนับหมื่นคน ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วยกขึ้นแม่น้ำปิงที่นครสวรรค์ ไปประทับที่บรรพตพิสัย ซึ่งอยู่ห่างจากกำแพงเพชรที่ถูกยึดโดยพวกเงี้ยวที่นำโดยเจ้าเมืองนายประมาณ 12 ลี้ เพื่อรอทัพช้างพันเชือก ทัพม้าและเกวียนที่บรรทุกปืนใหญ่สองร้อยเล่มซึ่งตามมาทางบก เพราะก่อนที่จะถึงเมืองเชียงใหม่นั้น กองทัพของกรุงศรีอยุธยาจะต้องผ่านเมืองกำแพงเพชรที่เป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงต้องการช้างกับปืนใหญ่ในการที่จะยึดกำแพงเพชรกลับคืน ในระหว่างที่ประทับรออยู่ที่บรรพตพิสัยนั้น ทรงได้รับรายงานของกองลาดตระเวนว่าท่านฝ่ายเงี้ยวยึดครองเมืองกำแพงเพชรได้เตรียมการป้องกันเมืองเอาไว้อย่างเข้มแข็ง มีเรือรอบสองพันลำดักรออยู่สองฝากฝั่งแม่น้ำปิง และมีทหารอีกหลายแสนคน และอีก 40,000 คน นั่งรออยู่บนหลังม้า แต่ทหารของข้าศึกไม่มีช้าง
ณ วันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้เคลื่อนทัพออกจากบรรพตพิสัยมุ่งหน้าสู่เมืองกำแพงเพชร โดยใช้เวลาในการเดินทาประมาณ 4 ลี้ต่อวัน ในวันที่ 3 กองทัพของสมเด็จพระไชยราชาธิราชก็เสด็จมาหยุดทัพที่ทุ่งแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ศรีพุทไธ (SIPUTAY) น่าจะหมายถึงท่านพุทรา) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกำแพงเพชรประมาณลี้ครึ่ง หลังจากทหารจำนวนมหาศาลกับช้างศึกทั้งปวงเข้าประจำที่มั่น นายกองต่างชาติและแม่ทัพชาวโปตุเกสจึงได้นำเคลื่อนพลไปยังเมืองกำแพงเพชรและไปถึงเมืองกำแพงเพชรก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น โดยมีทหารเงี้ยวที่ยึดครองเมืองกำแพงเพรได้เตรียมพร้อมกับการรับมือของกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยามาถึงทหารเงี้ยวได้เคลื่อนพลเข้ามาอย่างเชื่อมั่นในกองทัพม้าสี่หมื่นตัวอันเกรียงไกร และสามารถเอาชนะทหารของกรุงศรีอยุธยาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก และสามารถฆ่าแม่ทัพนายกองที่มีเชื้อพระวงศ์ได้ 3 องค์ ทำให้สมเด็จพระเจ้าไชยราชาธิราชต้องเปลี่ยนกระบวนทัพใหม่ โดยสั่งให้ทหารของพระองค์เข้ามารวมเป็นกองเดียว ซึ่งประกอบด้วยทหารอาสาต่างชาติ 70,000 คน กองทัพช้าง 4,000 เชือก แล้วบุกตะลุยที่มั่นของข้าศึก และโดยแสนยานุภาพอันมหาศาลนี้ กองทัพกรุงศรีอยุธยาก็สามารถเอาชนะข้าศึกษาได้ ทำให้กองทัพของข้าศึกแตกกระจายไพร่พล เงี้ยวแพ้ศึกยับเยิน หลังจากได้ชัยชนะทางบกแล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชตามไล่กองทัพเงี้ยวไปจนถึงฝั่งแม่น้ำปิง ซึ่งมีทหารเงี้ยวหนีไปรวมตัวกันเป็นจำนวนมากมายและทหารเหล่านี้มีกองทัพเรือคอยคุ้นกัน ทำให้สมเด็จพระไชยราชาธิราชไม่กล้าที่จะเข้าโจมตี เมื่อถึงเวลากลางคืนกองทัพเงี้ยวก็คือโอกาสถอยทัพหนีไปตามแม่น้ำ
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “เถิง ณ วันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 7 เสด็จตั้งทัพขึ้น ณ เมืองกำแพงเพชร” หลังจากสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้รับชัยชนะในการศึกยึดเมืองกำแพงเพชรกับคืนมาได้แล้ว พระองค์ทรงมีรับสั่งให้สร้างกำแพงและป้อมปราการขึ้นเพื่อให้เมืองเป็นที่มั่นแข็งแรง ในช่วงนั้นเมืองเชียงใหม่ได้เกิดความวุ่นวายเรื่องเจ้าผู้ครองเมือง สมเด็จพระไชยราชาได้เสด็จยกทัพขึ้นไปปราบปราม แต่ก่อนที่จะขึ้นไปนั้น ชาวเมืองเชียงใหม่ได้ยกพระนางจิรประภามหาเทวีขึ้นครองเมืองเชียงใหม่แล้ว ครั้นกองทัพกรุงศรีอยุธยาไปถึงพระนางจิรประภาได้ต้อนรับและแสดงไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาเหตุการณ์จึงสงบลงตลอด 7 ปี
ช่วงเวลา 7 ปี พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ทำสงครามปราบปรามหัวเมืองใกล้เคียงได้ ดินแดนมอญ พม่า และไทยใหญ่ ไว้ในอำนาจมากมาย และทำการตั้งเมืองหงสาวดีเป็นราชธานี แต่ในพงศาวดารเรียกพระเจ้าพระเบงชะเวตี้ด้วยเหตุที่พม่ามีอำนาจเข้ามายังดินแดนไทยใหญ่ทางตอนเหนือ จึงทำให้เมืองเชียงใหม่หันไปอ่อนน้อมกับพม่า สมเด็จไชยราชาธิราช เห็นว่าหากปล่อยให้เมืองเชียงใหม่นั้นไปอยู่กับพม่าเช่นนี้แล้วต่อไปจะเป็นช่องทางให้พม่าลงมารุกรานอาณาจักรได้ จึงมุ่งที่จะทำการปราบหัวเมืองทางเหนือให้ได้ ดังนั้นพระองค์จึงยกทัพตีเอาเมืองเชียงใหม่เสียให้ได้ ในพ.ศ. 2089 พระไชยราชาได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และลำพูนอีกครั้ง มหาเทวีพยายามเจรจาขอเป็นไมตรี แต่ไม่สำเร็จเมืองลำพูนถูกตีแตกในขณะที่เมืองเชียงใหม่สามารถต้านทัพอยุธยาไว้ได้ กองทัพอยุธยาจึงล่าถอยไป ดังพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “เถิง ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 เสด็จออกตั้งทัพชัย เถิง ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 จึงยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ระหว่างการเดินทางทัพไปเชียงใหม่พระองค์ได้ตีเมืองต่าง ๆ ระหว่างทางถึง 12 เมือง ในการศึกครั้งนี้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชให้พระยาสุโขทัยนำทัพหน้าพร้อมกับอาวุธเดินทางมาตั้งทัพรออยู่ที่ปากน้ำลำพูน เมื่อทัพหลวงมาถึงจึงได้มีการเจรจาความเมืองให้พระมหาเทวีเจ้าจิรประภาให้ออกมาเจรจาความเมือง แต่ในที่สุดกองทัพสุโขทัยก็ตีลำพูนได้ เมื่อตีลำพูนได้แล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ยกกองทัพออกมาตั้งอยู่นอกเมือง เพราะเมืองลำพูนถูกเผาพินาศ ยากที่จะตั้งทัพได้ หลังจากตั้งทัพอยู่ได้ 3 วัน ก็ทรงตัดสินพระทัยยกทัพกลับไปเมืองกำแพงเพชร โดยให้กองทัพของพระยาสุโขทัย กองทัพพระยากำแพงเพชร และกองทัพพระยาพิจิตร อยู่ทำศึกกับกองทัพล้านนา
สมเด็จพระไชยราชาธิราชถอยทัพกลับไปประทับที่เมืองกำแพงเพชร และประทับอยู่ 23 วัน ซึ่งในระหว่างที่ประทับอยู่ในเมืองกำแพงเพชรนั้น ทรงให้เสริมกำแพงและขุดคูลึกและกว้างรอบ ๆ เมือง ในช่วงที่ประทับอยู่กำแพงเพชรมีเหตุการณ์ประหาดเกิดขึ้นดังบันทึกในพระราชพงศาวดารว่า “วันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 มีอุบาทว์เห็นเลือดติดอยู่ ณ ประตูบ้านและเรือนและวัดทั้งปวง ในเมืองและนอกเมืองทั่วทุกตำบล” มีการวิจารณ์เป็นลางว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชกำลังมีเคราะห์ หรือกองทัพหัวเมืองเหนอกำลังจะถูกกองทัพจากล้านนาผสมกองทัพล้านช้างทำลาย แต่สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังคงประทับอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรต่ออีกหลายวันจนพระองค์พอพระทัยว่าป้อมปราการต่าง ๆ ทำทำเลียนแบบป้อมของฝรั่งที่ใช้ศิลาแลงมาก่อเป็นกำแพง มีใบเสมา ช่องปืนได้สำเร็จเสร็จสิ้นลง และเมืองกำแพงเพชรสามารถห้องกันตัวเองได้เมื่อถูกรุกราน พระองค์ก็เสด็จกับกรุงศรีอยุธยาโดยเรือสามพันลำ ที่เสด็จพยุหยาตรามาจากกรุงศรีอยุธยา จากเหตุการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นถือเป็นลางร้ายอย่างแท้จริง เพราะเมื่อเสด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จกลับถึงกรุงศรีอยุธยาก็ถูกลอบวางยาพิษ ส่วนแม่ทัพเมืองเหนือที่ไปศึกสงครามเชียงใหม่ต่างแตกถอยทัพ พระยาสุโขทัยพ่ายแต่หนี พระยากำแพงเพชรและพระยาพิจิตรตายในที่รบ
คำสำคัญ : กำแพงเพชร, สมเด็จพระไชยราชาธิราช
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 29 กันยายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1303&code_db=610001&code_type=01
Google search
เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 2,336
ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,918
ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,145
พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,081
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 997
วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี) มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,778
บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 764
ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,341
เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,560
ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,975