ลายดอกกุหลาบ

ลายดอกกุหลาบ

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้ชม 813

[16.1466408, 99.3273739, ลายดอกกุหลาบ]

        หัตกรรมเครื่องเงิน อันประกอบด้วย ชุมชนบ้านคลองเตย ปัจจุบันมีชุมชนบ้านคลองเตยเป็นศูนย์กลางชุมชน เทคนิค เคล็ดลับในการผลิตชิ้นงานขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือ เทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญของช่างภูมิปัญญาชาวบ้านของแต่ละคน ในการสร้างสรรค์งานแต่ละชิ้น อย่างมีความประณีต ทรงคุณค่า แตกต่างกันออกไป งานแต่ละชิ้นจะไม่เหมือนกัน แม้แต่ช่างคนเดียวกัน สืบทอดมรดกภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินจากบรรพบุรุษมากกว่า 200 ปี ดังเป็นที่ประจักษ์ของคนในชุมชนท้องถิ่น เป็นงานฝีมือละเอียด ประณีต รวดลายแบบโบราณดั้งเดิม เลียนแบบจากธรรมชาติสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน และเนื้อเงินแท้ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์
        จุดเริ่มต้นเกิดจากความเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงินซึ่งช่างฝีมือและคนในท้องถิ่นเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่นทำให้หัตถกรรมเครื่องเงินในท้องถิ่นลดน้อยลง ภูมิปัญญาชาวบ้านส่วนหนึ่งได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญ ในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกชิ้นนี้ขึ้น จึงจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาเครื่องเงิน ในโอกาสจัดงาน นับว่าเป็นจุดเริ่มต้น และพัฒนาการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
        ภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินชุมชนคลองเตยเกิดขึ้นทำกิจกรรม สร้างสรรค์งานโดยอาศัยบ้าน และโรงเรียนเป็นเครือข่ายในการทำงานตลอดมา นับได้ว่า “เป็นภูมิปัญญาของชุน โดยชุมชน เพื่อชุมชน” อย่างแท้จริงขณะนี้กลุ่มช่างได้ร่วมมือหน่วยงานองค์การทุกภาคส่วน ได้สร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน

 
ภาพโดย : https://www.google.co.th/maps/place/กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านคลองเตย

คำสำคัญ : เครื่องประดับ สร้อย เครื่องเงิน

ที่มา : https://www.google.co.th/maps/place/กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านคลองเตย

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายดอกกุหลาบ. สืบค้น 24 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=367&code_db=610007&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=367&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 มีสมาชิกก่อตั้ง 6 คนมีกี่ทอผ้า 3 ตัวโดยใช้อาคารกลุ่มออมทรัพย์เป็นที่ตั้งทำการชั่วคราวสมาชิกลงทุนคนละ 1850 บาทสมาชิกกลุ่มได้รวมตัวกันจ้างครูฝึกสอนจาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มาฝึกสอน 1 เดือนโดยใช้ ส่วนตัวของสมาชิก ปัจจุบันมีสถานที่ทำการกลุ่มจากกองทุนชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,561

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

ศูนย์นี้จะจำหน่ายเครื่องเงินฝีมือชาวเขาเผ่าเย้า เช่น สร้อยคอ ต่างหู สร้อยข้อมือ กำไล แหวน หากสนใจจะชมวิธีการทำและซื้อเป็นของฝาก เป็นแหล่งศูนย์กลางข้อมูลการท่องเที่ยวชาวเขา และรวบรวมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเขา จำนวน 6 เผ่า คือ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ กะเหรี่ยง และลัวะ และมีบ้านพักไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยว โดยได้จำลองบ้านของชาวเขาเข้าอยู่ในศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาหมู่บ้าน ตลอดทั้งมีพื้นที่กางเต็นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จัดให้มีการแสดงของเยาวชนเผ่าม้ง เย้า และลีซอ ไว้ให้กับนักท่องเที่ยว ชมวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ และมีสินค้าหัตถกรรมผ้าปักเครื่องเงิน ของชาวเขาจำหน่าย เป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,573

เครื่องเงินชาวเขา

เครื่องเงินชาวเขา

จุดเด่นอำเภอคลองลานอยู่ที่ชาวเขาหลายเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องเงิน ซึ่งชาวไทยภูเขา มีความสามารถพิเศษในการทำเครื่องเงิน อำเภอคลองลาน หมู่บ้านชาวเขาในเขตอำเภอคลองลาน เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงมากทั้งด้าน คุณภาพและฝีมือที่ประณีตสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะวิธีทำเครื่องเงิน ชาวเขาจะผลิตในสถานที่จำหน่าย ให้ผู้ซื้อได้เห็นวิธีการผลิตอย่างชัดเจน โดยผลิตเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำจากเงินทุกชนิด มีรูปแบบและลวดลายต่างๆ เช่น กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู เครื่องเงิน พวกเครื่องประดับเงิน บางคนมีเก็บสะสมมากก็นำมาแต่งกันเต็มที่ บ่งบอกถึงฐานะ และความมั่งคั่งของเขา

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,988

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,541

ลายไทย

ลายไทย

จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่ม เกิดจากความเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงิน ซึ่งช่างฝีมือและคนในท้องถิ่นเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่น ทำให้หัตถกรรมเครื่องเงินในท้องถิ่นลดน้อยลง ในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกชิ้นนี้ขึ้น จึงจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาเครื่องเงิน ในโอกาสจัดงาน ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 1,205

จักสานยางพารา

จักสานยางพารา

เริ่มต้นจากตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอนให้คนในชุมชนมีอาชีพ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,033

ลีโอฟาร์มวัว

ลีโอฟาร์มวัว

เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมีเพื่อนของลูกสาวที่อยู่ พงษ์พัฒน์ฟาร์ม เป็นคนแนะนำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีจึงหันมาเริ่มเลี้ยงวัวขุนเริ่มแรกเลี้ยง 11 ตัวปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่าตัวปัจจุบันมีหลายครัวเรือนที่เลี้ยงวัวครัวเรือนจะเลี้ยงตามทุ่งแต่ผู้ที่ทำการบุกเบิกในการเลี้ยงวัวคือคุณลุงเจ้าของฟาร์ม ลีโอฟาร์มวัว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 2,431

ถุงย้ามลายกาบาท

ถุงย้ามลายกาบาท

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 896

ลายลงยา

ลายลงยา

แร่เงินเป็นแร่ยุคโบราณอยู่ควบคู่กับมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ในอดีตแร่ที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งคือ แร่ทอง เพราะเป็นเครื่องหมายของความสมบูรณ์ ร่ำรวย ทำให้สัญลักษณ์ของทองคือรูปวงกลม เพราะวงกลมจะไม่มีรอยต่อเป็นเส้นเดียวไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุดจึงหมายถึงความสมบูรณ์ ส่วนแร่เงินถึงแม้จะเป็นรองแร่ทองแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้ให้ความสำคัญกับแร่เงินพอๆ กัน โดยมีสัญลักษณ์คือรูปครึ่งวงกลมหรือรูปพระจันทร์เสี้ยว มนุษย์ได้ใช้แร่เงินเป็นเครื่องประดับตกแต่งและเป็นเครื่องใช้ต่างๆมานานแล้ว แร่เงินจึงถือว่าเป็นโลหะที่มีค่าเป็นอันดับสองรองจากทองคำ

เผยแพร่เมื่อ 19-02-2017 ผู้เช้าชม 759

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,185