สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้ชม 1,749
[16.2358785, 99.3145572, สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน]
ชื่อเรื่อ : สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
วันที่จัดทำ : วันที่ 13 มิถุนายน 2563
ประวัติ
เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่า กับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด
ข้อมูลทั่วไป
จุดเด่น : เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่แปรรูปจัดจำหน่ายเองมีความปลอดภัย
รายละเอียด : ส่วนใหญ่แล้วที่มีคนสนใจมาก จะเป็นผู้ที่สนใจเรื่องของการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ และมีการแปรรูปสมุนไพรหลากหลายชนิดจัดจำหน่าย มีทั้งการรับสั่งออเดอร์จากลูกค้า มาการขายตามงานเกษตรและจำหน่ายที่หน้าเฟสบุ๊ค
ผลผลิตภัณฑ์และการแปรรูป : สมุนไพรหญ้าเอ็นยืด หญ้ารางจืด โด่ไม่รู้ล้ม แปรรูปเป็นชา และเป็นต้นกล้า แบบแห้ง แบบสด เมล็ดภัณฑ์
ผู้ให้ข้อมูล : นางสาววาสนา แก้วชา (น้อย)
ที่อยู่ : สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
เบอร์ติดต่อ : 097-979-1190
เว็บไซต์ : สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
Facebook : สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
ปัญหา
ปัญหาที่พบตัวสินค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนองค์การอาหารและยา
ที่มา : นางสาววาสนา แก้วชา (น้อย)
รวบรวมและจัดทำข้อมูล :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน. สืบค้น 20 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1819&code_db=610007&code_type=05
Google search
มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มของพลังงานกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 20-30 คนแต่จะแบ่งแยกการศึกษาตามฐานเรียนรู้หลายฐานโดยจะมีฐานผลิตน้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,282
เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายของชนเผ่าลีซู ใช้เทคนิคหลักคือ เป็นการเย็บแถบผ้าเล็ก ๆ สลับสีที่หลากหลาย และการสร้างลวดลายที่ต้องการด้วยการเย็บติดผ้า ตัดปะลงบนผ้าแถบพื้นสีต่าง ๆ เป็นรูปร่างเชิงเรขาคณิต เน้นการตัดกันของรูปทรงที่เป็นเส้นตรง มีการเข้ามุมของลวดลายอย่างชัดเจน ทั้งมุมฉาก มุมแหลม นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดจากการใช้สีสันที่ตัดกันอย่างฉูดฉาด จนเกิดเป็นเอกลักษณ์และกลายเป็นเสน่ห์ของชนเผ่าลีซูที่สะดุดสายตา
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 15
ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 948
ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลานตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลานห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ อันได้แก่เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอและกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอคลองขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่ายเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วยศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,251
เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมีเพื่อนของลูกสาวที่อยู่ พงษ์พัฒน์ฟาร์ม เป็นคนแนะนำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีจึงหันมาเริ่มเลี้ยงวัวขุนเริ่มแรกเลี้ยง 11 ตัวปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่าตัวปัจจุบันมีหลายครัวเรือนที่เลี้ยงวัวครัวเรือนจะเลี้ยงตามทุ่งแต่ผู้ที่ทำการบุกเบิกในการเลี้ยงวัวคือคุณลุงเจ้าของฟาร์ม ลีโอฟาร์มวัว
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 2,580
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่ม เกิดจากความเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงิน ซึ่งช่างฝีมือและคนในท้องถิ่นเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่น ทำให้หัตถกรรมเครื่องเงินในท้องถิ่นลดน้อยลง ในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกชิ้นนี้ขึ้น จึงจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาเครื่องเงิน ในโอกาสจัดงาน ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก
เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 1,264
เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของผ้าทอกระเหรี่ยง มีลักษณะเป็นผ้าทอหน้าแคบ ลักษณะลายเป็นสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปแบบต่าง ๆ ลายดอกไม้ ลายเส้นตรง ลายกากบาท ผสานกันเทคนิคและภูมิปัญญาที่สั่งสมและถูกถ่ายทอดสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษ สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งเทคนิคการมัดหมี่ จก ขิด และยกดอก ผ้าทอของชนเผ่ากระเหรี่ยงจึงมีความงดงาม โดดเด่นด้วยสีสันที่หลากหลาย หากเราเห็นผืนผ้าที่มีเอกลักษณ์เช่นนี้เราก็สามารถรับรู้ได้ทันทีว่า นี่คือผ้าทอของชนเผ่ากระเหรี่ยง
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 10
ก่อนที่จะทำฟาร์มปูนาเคยทำอาชีพรับจ้างมาก่อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนมีหน่วยงานรัฐบาลมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปูนา จึงทดลองเพาะเลี้ยงปูไว้ในที่ว่างหลังบ้าน จากนั้นก็มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขอซื้อไปขายต่อ จึงเริ่มหันมาสนใจการเลี้ยงปูนาอย่างเต็มตัว เมื่อเริ่มเพาะเลี้ยงปูนาได้มากขึ้นแต่บางช่วงตลาดตัน ราคาขายไม่สูง เลยได้นำไปแปรรูปเป็นอาหาร ส่งจำหน่ายแทน โดยจะนำไปวางจำหน่ายตามร้านขายของฝากต่างๆ รวมถึงส่งขายไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,647
มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,272
เครื่องประดับเงินเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมั่นคง สำหรับผู้ค้าปลีกเครื่องประดับรายย่อยทั้งหลายที่มองเห็นข้อดีของโลหะประเภทนี้ และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เครื่องประดับเงินมีจุดเด่นตรงที่สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องประดับระดับบน (High-end jewellery) และเครื่องประดับแฟชั่น (costume jewellery) การนำโลหะเงินมาใช้จึงสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ผลิตเครื่องประดับได้ดีทีเดียว
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,062