อีเหนียว

อีเหนียว

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,846

[16.4258401, 99.2157273, อีเหนียว]

อีเหนียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium gangeticum (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Desmodium gangeticum var. maculatum (L.) Baker, Meibomia gangetica (L.) Kuntze[4]) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรอีเหนียว มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า นางเหนียว หนาดออน อีเหนียวเล็ก (ภาคกลาง), หญ้าตืดแมว (ภาคเหนือ), หนูดพระตัน หนูดพระผู้ (ภาคใต้), กระตืดแป (เลย), กระดูกอึ่ง อ้ายเหนียว (กาญจนบุรี), นอมะช่าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หงหมู่จีเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นอีเหนียว

  • ต้นอีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล
  • ใบอีเหนียว ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยใบเดียว (ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ) ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีกว้างถึงรูปไข่ ปลายใบมน แหลม หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลมเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร เนื้อใบบาง หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอมเทา มีก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร
  • ดอกอีเหนียว ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งมีหลายกระจุก กระจุกหนึ่งมีดอกประมาณ 2-6 ดอก รวมเป็นช่อแยกแขนง ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมขาวหรือสีชมพู แกนกลางมีขนรูปตะขอโค้ง ใบประดับร่วงได้ง่ายทั้งคู่ ไม่มีใบประดับย่อย ก้านดอกย่อยยาว กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังกว้าง ปลายแยกเป็นแฉก 4 แฉก กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่วสีขาวถึงสีชมพูอ่อน กลีบดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกัน แยกเป็นสองมัด รังไข่มีขน ก้านดอกยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ออกดอกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
  • ผลอีเหนียว ออกผลเป็นฝักรูปแถบ ฝักมีลักษณะแบนโค้งงอเล็กน้อย แบ่งเป็นข้อ ๆ ฝักหนึ่งจะมี 7-9 ข้อ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร ตามผิวมีขนรูปตะขอโค้งสั้น เมล็ดอีเหนียวมีลักษณะเป็นรูปไต และมีเยื่อหุ้มเมล็ด

สรรพคุณของอีเหนียว

  1. มีรสหวานชุ่มเผ็ดเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้เส้นเลือดอุดตัน (ทั้งต้น)
  2. มีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำรุงโลหิต (ทั้งต้น)
  3. ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด และช่วยลดระดับน้ำตาล(ทั้งต้น)
  4. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)
  5. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ทั้งต้น)
  6. มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ แก้ตัวร้อน (ราก)
  7. ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน (ราก)
  8. มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
  9. ใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ (ราก)
  10. ใช้เป็นยาถ่าย (ทั้งต้น)
  11. ทั้งต้นและรากมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก (ราก, ทั้งต้น)
  12. ตำรายาไทยจะใช้รากอีเหนียวเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
  13. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือประจำเดือนไม่มาของสตรี (ทั้งต้น)
  14. ใบมีสรรพคุณเป็นยาลดนิ่วในท่อน้ำดีและไต (ใบ)
  15. ใช้เป็นยาห้ามเลือด (ทั้งต้น)
  16. ต้นหรือใบสดใช้ตำพอกรักษาแผล (ต้น, ใบ)
  17. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้ปลายประสาทผิวหนังอักเสบ (ทั้งต้น)
  18. ทั้งต้นหรือใบสดใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษสุนัขกัด (ใบ, ทั้งต้น)
  19. ใช้เป็นยาแก้อาการปวด บวมช้ำ ฟกช้ำ (ทั้งต้น)

วิธีใช้ : การใช้ตาม [1] ให้นำทั้งต้นและใบประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น[1] ส่วนการใช้ตาม [2] รากแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม รากและก้านใช้ภายนอกได้ตามความเหมาะสม หรือจะใช้ต้นสดประมาณ 20-35 กรัม สำหรับตำพอกแผล

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอีเหนียว

  • สารสำคัญที่พบ ได้แก่ acetophenone, harman, chrysanthemin, iridin glucoside, tryptamine, tyvamine รากพบสาร alkaloids 0.05% ใน alkaloids พบสาร N-Dimethyltryptamine, Hypapphorine, Hordenine N-Methyltyramine ลำต้นและใบ พบสาร Nb-Methyltetrahydrohardon, 6-Methoxy-2-methyl-b-carbolinium ส่วนเมล็ดพบน้ำมัน น้ำตาล และ Alkaloid อีกเล็กน้อย
  • สมุนไพรอีเหนียวมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ ทำให้เป็นหมัน
  • เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองศึกษาผลของอีเหนียวในการลดไขมันในเลือด โดยทำการทดลองกับหนูทดลอง โดยให้สารสกัดอีเหนียวในหนูจำนวน 100 และ 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ใช้เวลาทำการทดลองเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง P<0.05
  • เมื่อนำสารที่สกัดจากใบในความเข้มข้น 10% มาให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะได้ดี
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารสกัดอีเหนียวทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ให้หนูถีบจักรทดลอง พบว่าในขนาดที่หนูทนได้คือ 1 กรัมต่อกิโลกรัม

ประโยชน์ของอีเหนียว

  • ใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น

คำสำคัญ : อีเหนียว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อีเหนียว. สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1781&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1781&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

หมาก

หมาก

หมาก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 29,320

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง

ต้นข่าตาแดง จัดเป็นพรรณไม้ลงหัว เมื่อแตกขึ้นเป็นกอจะมีลักษณะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่จะมีขนาดของต้นเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย และมีขนาดโตกว่าข่าลิงเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อเอามาปลูก ใบข่าตาแดง ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่ โดยมีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบๆ ลำต้น ดอกข่าตาแดง ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย หน่อข่าตาแดง เมื่อแตกหน่อ หน่อจะเป็นสีแดงจัด ซึ่งเรียกว่า "ตาแดง" มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,784

ผักขี้มด

ผักขี้มด

ต้นผักขี้มด จัดเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีเขียว มีหลายพู

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,377

อังกาบหนู

อังกาบหนู

อังกาบหนู หรือ ต้นอังกาบเหลือง เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,455

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,020

กกธูปฤาษี

กกธูปฤาษี

ต้นกกธูปฤาษีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้นๆ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 5-3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ ใบกกธูปฤาษีลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีกาบใบเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบเป็นรูปแถบ มีความกว้างประมาณ 2-1.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเพราะมีเซลล์หยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำหมุนอยู่กลางใบ ส่วนด้านล่างของใบแบน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,820

ดองดึง

ดองดึง

ดองดึง (Superb Lily, Turk’s cap, Climbing Lily) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหัว ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก พันมหา, หัวขวาน, หัวฟาน หรือดาวดึง ซึ่งต้นดองดึงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาเขตร้อนและเอเชียเขตร้อน รวมทั้งในประเทศไทยของเราด้วย โดยต้นดองดึงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่า ที่โล่ง หรือดินปนทราย ส่วนใหญ่มักจะนิยมนำต้นดองดึงมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่ง และนำไปทำเป็นยาสมุนไพร รวมถึงใช้ในการรักษามะเร็งได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,560

กว้าว

กว้าว

เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงใหญ่ ใบดกหนาทึบ สูงประมาณ 15-30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม  โปร่งเปลือกเรียบ หนา สีเขียวอ่อนปนเทา เปลือกในสีชมพูอ่อน ถึงสีน้ำตาลแก่ ตามกิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบป้อม รูปหัวใจ โคนเว้า ปลายหยักเป็นติ่งสั้น  เนื้อใบบาง  หลังใบมีขนสาก ๆ  สีเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบมีขนสีเทานุ่ม ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ  ออกเป็นช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก กระจุกละไม่เกิน 3 ช่อ ผลเล็ก ผิวแข็ง รวมกันอยู่บนก้านช่อเป็นก้อนกลม เมล็ดมีปีก  โคนต้นเป็นพูพอน การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,492

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,680

ฝอยทอง

ฝอยทอง

ฝอยทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก มักพบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 8,812