ว่านไพลดำ

ว่านไพลดำ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 9,659

[16.4258401, 99.2157273, ว่านไพลดำ]

ว่านไพลดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber ottensii Valeton จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

สมุนไพรว่านไพลดำ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ปูเลยดำ (ภาคเหนือ), ไพลดำ ไพลม่วง ไพลสีม่วง (กรุงเทพฯ), ไพลสีม่วง ดากเงาะ (ปัตตานี), จะเงาะ (มลายู-ปัตตานี), ว่านกระทือดำ เป็นต้น

ลักษณะของว่านไพลดำ

  • ต้นว่านไพลดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจาง ๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก (ถ้าเป็นสีอื่นปลูกจะทำให้ต้นตาย เพราะว่านชนิดนี้เจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น) พบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น 
  • ใบว่านไพลดำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียว โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 26-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เส้นกลางใบเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างและเส้นกลางใบมีขน ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น มีสีม่วงคล้ำ กาบใบซ้อนกันแน่น ไม่มีขนหรือมีบ้างประปราย ลิ้นใบยาวที่ปลายกาบใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน
  • ดอกว่านไพลดำ ออกดอกเป็นช่อ จากโคนต้นแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ช่อดอกยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 14 เซนติเมตร โดยช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกถึงเกือบกลม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน เป็นสีเหลืองอ่อน มีประสีม่วงแดงอ่อน ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบบาง โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกมีใบประดับสีเขียวปนแดงวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อย่างเป็นระเบียบดูคล้ายกับเกล็ดปลา ใบประดับเมื่อยังอ่อนจะเป็นสีแดงอมเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีใส เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบมีหยัก 3 หยัก โดยหยักกลางหรือกลีบปากใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปกลมแกมรูปขอบขนาน ปลายแยก 2 หยักตื้น พื้นสีเหลืองแกมสีน้ำตาลอ่อน ประสีน้ำตาลแดงแกมสีชมพูอ่อน ส่วนหยักข้างมี 2 หยักสั้น ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้ปลายจะเป็นจะงอยยาวโค้ง สีเหลืองส้ม ส่วนเกสรเพศเมีย ก้านเกสรเป็นสีขาว ยอดเกสรมีลักษณะเป็นรูปกรวย สีขาว รอบ ๆ ปากมีขน และรังไข่เป็นสีขาว โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 
  • ผลว่านไพลดำ ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก สีแดง และจะติดผลในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

สรรพคุณของว่านไพลดำ

  1. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะและยาบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)[1]หรือจะใช้เหง้าสดตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาอายุวัฒนะเช่นกัน (เหง้า)[2] ส่วนอีกตำรับให้ใช้เหง้าว่านไพลดำตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงผสมกับว่านกระชายดำ ว่านกระชายแดง และว่านเพชรน้อย (ที่นำมาบดแล้วเหมือนกัน และใช้อย่างละเท่ากัน) ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้กินก่อนอาหารครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลา (เหง้า)
  2. เหง้าสดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ด เป็นยาช่วยเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ (เหง้า)
  3. รากมีรสขื่นเอียน สรรพคุณเป็นยาแก้เลือดกำเดาออกทางปาก ทางจมูก (ราก)
  4. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ราก)
  5. ใช้เป็นยาแก้บิด ขับลม ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้กิน (เหง้า)
  6. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นพิษ (ทั้งต้น)
  7. เหง้าสดนำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ (เหง้า)
  8. เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยารักษาลำไส้เป็นแผล สมานลำไส้ แก้แผลในกระเพาะ รวมไปถึงอาการปวดท้องบ่อย ๆ น้ำย่อยไม่ปกติและโรคลำไส้ต่างๆ (เหง้า)
  9. เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยาระบายอ่อน ๆ (เหง้า)
  10. ช่วยขับประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้กินเป็นยา (เหง้า)
  11. ใบมีรสขื่นเอียน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ครั่นเนื้อครั่นตัว (ใบ)
  12. เหง้านำมาฝนใช้เป็นยาทาสมานแผล (เหง้า)
  13. ดอกมีรสขื่น สรรพคุณเป็นยาแก้ช้ำใน ช่วยกระจายเลือดที่เป็นก้อนลิ่ม (ดอก)
  14. ช่วยรักษาอาการบวม อาการช้ำทั้งตัว (ทั้งต้น)
  15. ตำรายาไทยจะใช้เหง้านำมาฝนทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แก้เหน็บชา แก้เมื่อยขบ (เหง้า)[2]ใช้เป็นยาแก้ช้ำบวม ให้นำเหง้ามาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว แล้วกรองเอาแต่น้ำมากินก่อนอาหารครั้งละ 3 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลา (เหง้า)
  16. น้ำมันจากเหง้าใช้เป็นยาทาถูนวดแก้เหน็บชา แก้เส้นสายตามร่างกายตึง และแก้เมื่อยขบ (น้ำมันจากเหง้า)
  17. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ใบ)

ประโยชน์ของว่านไพลดำ

  • ในด้านของความเชื่อ ว่านไพลดำเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี[2] การนำมาใช้ในทางคงกระพันชาตรี จะต้องเสกด้วยคาถา "พุทธังเป็นยา ธัมมังรักษา สังฆังหาย ตะหัง นะหิโสตัง" 3 จบ และ "นะโมพุทธายะ" 7 จบ[3] บางข้อมูลระบุว่า ว่านไพลดำจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ว่านไพลดำชนิดเนื้อในหัวเป็นสีม่วงอมน้ำตาล (เด่นในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน), และ ว่านไพลดำชนิดเนื้อในหัวเป็นสีดำ (เด่นในเรื่องการชักนำเงินทอง และปัจจุบันหายากมาก)
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ว่านไพลดำเป็นพรรณไม้ที่หาได้ยากชนิดหนึ่ง เนื่องจากปลูกเลี้ยงและการดูแลรักษาทำได้ยาก[1] ต้องใช้ดินดำในการปลูก (ดินสะอาดกลางแจ้งที่นำไปเผาไฟแล้วทุบให้ละเอียด) กลบหัวว่านอย่าให้มิด แต่ให้เหลือหัวโผล่ไว้ และก่อนรดน้ำต้องเสกด้วยคาคา "นะโมพุทธายะ" 3 จบ แล้วรดน้ำให้พอเปียกทั่ว

คำสำคัญ : ว่านไพลดำ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ว่านไพลดำ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1747&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1747&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,387

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush, Golden Bush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ขี้คาก, ลับหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง หรือหมากกะลิงเทศ เป็นต้น ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว แถมยังปลูกได้ง่ายอีกด้วย เพราะต้นชุมเห็ดเทศนี้ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรมากมายนัก และส่วนใหญ่มักพบต้นชุมเห็ดเทศนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,701

ตะขาบหิน

ตะขาบหิน

ต้นตะขาบหิน มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนแบนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลมขึ้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามพื้นที่ป่าทั่วไป โดยจะกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 5,082

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร จัดเป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่น ๆ ของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นกระจายอยู่ตามป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,618

กระเบียน

กระเบียน

ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,023

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ลักษณะทั่วไป  วัชพืชน้ำที่มีอายุยืนหลายปี สูง 30-90 ซม.  ลำต้นสั้น รากแตกออกจากลำต้น บริเวณข้อ รากสีม่วงดำ เกิดจากสารแอนโทโซยานิน ลำต้นแตกไหล เกิดเป็นลำต้นใหม่ ติดต่อกันไป  ใบออกเป็นกลุ่มรอบลำต้น ใบกว้างใหญ่ มีรูปร่างค่อนข้างกลม ส่วนฐานใบเว้าเข้าหาก้านใบ มีหูใบ ปลายใบมน ขนาดของใบความยาวก้านใบขึ้นกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่เจริญเติบโตอยู่ ก้านใบจะพองออกภายในมีรูพรุน ลักษณะคล้ายผองนำ ช่วยพยุงให้ลำต้นลอดน้ำได้ ดอกออกเป็นช่อชนิดสไปด์  ออกดอกได้ตลอดปี ในช่อหนึ่ง ๆ  มีดอกย่อย    6-30 ดอก มีก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน มีสีม่วง มีจุดเหลืองรวมกันเป็นรูปกรวย  ปลายแยกเป็น  6  กลีบ  มีเกสรตัวผู้  6 ตัว เกสรตัวเมียเป็นเส้นบาง ๆ ที่ส่วนปลายเป็นตุ่มสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,627

ไมยราบ

ไมยราบ

ไมยราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa Pudica L. อยู่ในวงศ์ FABACEAE และมีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ หญ้าต่อหยุบ หญ้ายุบยอบ กะหงับ ก้านของระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ และหญ้าปันยอด เป็นไม้ล้มลุก ใบประกอบเหมือนขนนก 2 ชั้น ดอกช่อกระจุกแน่น สีชมพู ออกที่ง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,675

กระถิน

กระถิน

สำหรับต้นกระถินนั้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทา ส่วนใบนั้นคล้ายขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาวประมาณ 12.5-25.0 เซนติเมตร โดยแยกแขนงออกประมาณ 3-19 คู่ แกนกลางใบมีขน โคนใบเบี้ยว ปลายแหลม และดอกกระถินนั้นจะมีสีขาว โดยออกดอกเป็นช่อประมาณ 1-3 ช่อ แบบกระจุกแน่นตามง่ามใบรวมทั้งปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนคล้ายรูประฆังติดกัน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก เมื่อดอกกระถินบานเจริญเต็มที่แล้วกว้างประมาณ 2.0-2.5 เซนติเมตร และเมล็ดเป็นมันมีสีน้ำตาลรูปไข่แบนกว้าง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 7,132

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,954

ผักขี้มด

ผักขี้มด

ต้นผักขี้มด จัดเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีเขียว มีหลายพู

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,215