บัวเผื่อน

บัวเผื่อน

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 7,407

[16.4258401, 99.2157273, บัวเผื่อน]

บัวเผื่อน ชื่อสามัญ Water lily
บัวเผื่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea nouchali Burm.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nymphaea stellata Willd.) จัดอยู่ในวงศ์บัวสาย (NYMPHAEACEAE)
สมุนไพรบัวเผื่อน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น นิโลบล (กรุงเทพฯ), ป้านสังก่อน (เชียงใหม่), ปาลีโป๊ะ (มลายู นราธิวาส), บัวผัน บัวขาบ (ภาคกลาง), บัวแบ้ เป็นต้น
บางครั้งนักวิทยาศาสตร์จะแบ่งแยกระหว่างบัวเผื่อนและบัวผันออกจากกันเป็น 2 ชนิด แต่บางครั้งก็บอกว่าเป็นชนิดเดียวกันแต่เป็นคนละสายพันธุ์ โดยบัวเผื่อนจะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea stellata Wild. (สาเหตุที่เรียกว่าบัวเผื่อนนั้นมาจากสีของดอกเผื่อนระหว่างสีขาวครามและชมพูอ่อน) ส่วนบัวผัน จะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nymphaea Cyanea Roxb. (บัวผันมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น นิลุบล นิลอุบล บัวนิล) ซึ่งสรรพคุณทางยาก็น่าจะเหมือนกัน

ลักษณะของบัวเผื่อน
        ต้นบัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ
        ใบบัวเผื่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างประมาณ 8-18 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร
         ดอกบัวเผื่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขึ้นอยู่เหนือน้ำ ดอกมีสีขาวแกมชมพูถึงสีอ่อนคราม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ถ้าดอกมีสีขาวแกมเหลือง ปลายกลีบดอกเป็นสีครามอ่อน แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือปลายกลีบเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย แต่ละดอกจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีกลีบดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น ปลายกลีบแหลม มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก รังไข่มีช่องประมาณ 10-20 ช่อง ฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับ ส่วนเกสรตัวเมียเป็นรูปถ้วย มีก้านดอกคล้ายกับก้านใบและมีความยาวไล่เลี่ยกัน สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี และดอกจะบานตอนช่วงสายและจะหุบตอนช่วงบ่าย ส่วนผลจะจมอยู่ใต้น้ำหลังจากการผสมเกสรแล้ว
          ดอกบัวเผื่อน มีกลีบดอกสีขาว ปลายกลีบดอกเป็นสีครามอ่อน แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย 

สรรพคุณของบัวเผื่อน
1. ช่วยบำรุงกำลัง (ดอก, เมล็ด, หัว)
2. เมล็ดใช้คั่วช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด, หัว)
3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด, หัว)
4. ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, เมล็ด, หัว)
5. ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก)
6. ช่วยบำรุงครรภ์ (ดอก, หัว)
7. ในตำราสมุนไพรไทย บัวเผื่อนถูกจัดให้อยู่ในตำรับยา "พิกัดบัวพิเศษ" ซึ่งประกอบไปด้วย บัวเผื่อน, บัวขม, บัวหลวงแดง, บัวหลวงขาว, บัวสัตตบงกชแดง, และบัวสัตตบงกชขาว ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้ง 4 ช่วยขับเสมหะ แก้ไข้ตัวร้อน
    อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม ช่วยบำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยบำรุงครรภ์ (ดอก)
8. ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบในตำรับยากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือตำรับยา "ยาหอมเทพจิตร" โดยมีดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ลมกองละเอียด หรือ
     อาการหน้ามืดตาลาย แก้อาการสวิงสวาย (อาการใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม), แก้อาการใจสั่น, และช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ทำให้สุขใจ สบายใจ ช่วยคลายเครียด ทำให้มีอารมณ์แจ่มใส (ดอก)
9. สาร Nymphagol จากดอกบัวเผื่อน มีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยเพิ่มระดับอินซูลินในหนูทดลองได้ (ดอก)
10. สารสกัดจากดอกบัวเผื่อน มีฤทธิ์ช่วยปกป้องตับหนูจากการถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (ดอก)

ประโยชน์ของบัวเผื่อน
1. เนื่องจากดอกบัวเผื่อนและดอกบัวผันมีดอกที่สวยงาม จึงมีการปลูกไว้ตัดดอกเพื่อขาย
2. นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับไว้ในอ่างหรือสระน้ำเพื่อความสวยงาม โดยสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี แถมยังปลูกเลี้ยงดูแลง่าย และมีความทนทานต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี
3. ก้านดอกสามารถใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือใช้จิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ผัดสายบัวกับหมูหรือกุ้ง ต้มสายบัวกับปลาทู เป็นต้น

คำสำคัญ : บัวเผื่อน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บัวเผื่อน. สืบค้น 23 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1649&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1649&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 14,796

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,438

กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,121

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,094

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,285

เทพธาโร

เทพธาโร

เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,951

จำปา

จำปา

ต้นจำปานั้นจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 เมตร เป็นทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ มีการแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ที่บริเวณเปลือกมีสีเทาแกมขาว กลิ่นฉุน โดยต้นจำปานั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และตอนกิ่ง ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวใหญ่สีเขียวเป็นมัน คล้ายรูปทรงรีแกมขอบขนาน โคนสอบ ปลายแหลม เนื้อใบบาง สำหรับใบอ่อนนั้นจะมีขน ส่วนในใบแก่จะเกลี้ยงปราศจากขน โดยดอกนั้นเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองแกมแสด กลิ่นหอมแรง จะออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานพร้อมส่งกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ 

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,387

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,916

กระบก

กระบก

ต้นกระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ในที่กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า และป่าแดง และยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 14,296

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,912