ข่อย

ข่อย

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 3,266

[16.5055083, 99.509574, ข่อย]

         ข่อย (Siamese Rough Bush, Tooth Brush Tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกกักไม้ฝอย ภาคอีสานเรียกส้มผ่อ ภาคใต้เรียกขันตา หรือขรอย ส่วนจังหวัดเลยเรียกส้มพอ จังหวัดกาญจนบุรีเรียกตองขะแน่ และเขมรเรียกสะนาย เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในไทย

ลักษณะทั่วไปของข่อย
         สำหรับต้นข่อยนั้นเป็นไม้ยืนต้น โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาอ่อนๆ และขรุขระบ้างเล็กน้อยจะแตกเป็นแผ่นบางๆ อีกทั้งรอบลำต้นข่อยนี้จะมียางขาวๆ ข้นๆ ไหลซึมออกมาด้วย โดยกิ่งและก้านนั้นจะค่อนข้างงอ และแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ และบริเวณรอบๆ ลำต้นจะมีปุ่มหรือเป็นร่องหรือเป็นพู ขึ้นได้ทั้งแบบเดี่ยวและเป็นกลุ่ม ขยายพันธุ์โดยการใช้รากปักชำ ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กเรียงแบบสลับรูปทรงรี เนื้อใบหนาและกรอบสีเขียว ปลายใบแหลม โคนสอบ ขอบหยัก ซึ่งดอกของต้นข่อยนี้จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง และผลข่อยนั้นจะเป็นลูกทรงกลมคล้ายไข่สีเขียว เมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองให้รสหวานอร่อย

ประโยชน์และสรรพคุณของข่อย
          ใบ – ซึ่งสามารถนำไปชงน้ำร้อนดื่มเพื่อช่วยระบาย หรือบำรุงธาตุ แก้ปวดเมื่อย ขับผายลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รวมทั้งช่วยแก้อาการปวดท้องจากประจำเดือน และยังสามารถนำไปตำผสมข้าวสารคั้นน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา ช่วยให้อาเจียนเพื่อถอนพิษยาเมายาเบื่อ หรืออาหารแสลง ให้รสเมาเฝื่อน
          เปลือกต้น – ใช้หุงเป็นน้ำมันเพื่อทาหัวริดสีดวง ช่วยแก้อาการปวดฟัน หรือรำมะนาด ทำให้ฟันแข็งแรง รวมทั้งช่วยดับพิษทั้งในกระดูกและเส้น และแก้โรคเรื้อน พยาธิผิวหนัง ตลอดจนช่วยดับพิษต่างๆ และแก้มะเร็ง ให้รสเมาฝาดขม
          กระพี้ – ช่วยแก้มะเร็ง และพยาธิ หรือฝนกับน้ำปูนใสแก้ผื่นคัน ให้รสเมาฝาดขม
          เยื่อหุ้มกระพี้ – ขูดออกมาเพื่อใช้เป็นยาสูบแก้อาการริดสีดวงจมูก ให้รสเมาฝาดเย็น
          ราก – ช่วยในการรักษาบาดแผล ให้รสเมาฝาดขม
          เปลือกราก – ใช้บำรุงหัวใจ (พบมีสารบำรุงหัวใจมากกว่า 30 ชนิด) ให้รสเมาขม
          ลูก – เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงธาตุ แก้กระษัย แก้ลม และขับลมจุกเสียด ให้รสเมาหวานร้อน
          เมล็ด – เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับผายลม และบำรุงธาตุเจริญอาหาร รวมทั้งอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการโลหิตและลม ให้รสเมามันร้อน
          นอกจากประโยชน์ของสรรพคุณทางยาจากต้นข่อยแล้ว ผู้คนยังนิยมนำมาใช้สอยเพื่อปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในด้านไม้ประดับเป็นหลักอีกด้วย นับเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์มากอีกชนิดหนึ่งเลยทีเดียว

คำสำคัญ : ข่อย

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ข่อย. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=70&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=70&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 11,360

โคกกระสุน

โคกกระสุน

ต้นโคกกระสุน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ถึง 160 เซนติเมตร เป็นพืชจำพวกหญ้าที่มีอายุได้ประมาณ 1 ปี แตกกิ่งก้านแผ่ออกโดยรอบปกคลุมไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดและดอกตั้งขึ้นมา มีขนตามลำต้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วโดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินทรายที่ค่อนข้างแห้ง มีการระบายน้ำดี เจริญงอกงามได้ดีในช่วงฤดูฝน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามทางรถไฟ ตามที่รกร้าง ตามสวนผลไม้ ทุ่งหญ้า ท้องนา และริมทางสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,727

ผักชี

ผักชี

ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ผักชีโรยหน้า" ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอกหรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,527

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,309

อินจัน

อินจัน

ต้นอินจัน หรือ ต้นจัน เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ สมัยนี้หาดูได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเมื่อก่อนจะนิยมปลูกไว้ตามวัด ต้นอินจันนับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อม ๆ ขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า "ลูกอิน" แต่อีกผลลูกแบน ๆ แป้น ๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า "ลูกจัน"

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 8,553

พะยอม

พะยอม

พะยอมเป็นต้นไม้ที่ในประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือป่าดิบแล้งทั่วไป ทุกภาคของประเทศที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60 – 1,200 เมตร และดอกพะยอมยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย จัดว่าเป็นต้นไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งแต่อย่างใด ขยายพันธุ์วิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้กำลังเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ คนไทยโบราณเชื่อว่า หากปลูกไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม และยังช่วยทำให้ไม่ขัดสนเงินทองอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,390

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 16,432

ตะแบก

ตะแบก

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,483

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 5,063

พรมมิแดง

พรมมิแดง

พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,894