อีเหนียว
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 3,092
[16.4258401, 99.2157273, อีเหนียว]
อีเหนียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium gangeticum (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Desmodium gangeticum var. maculatum (L.) Baker, Meibomia gangetica (L.) Kuntze[4]) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรอีเหนียว มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า นางเหนียว หนาดออน อีเหนียวเล็ก (ภาคกลาง), หญ้าตืดแมว (ภาคเหนือ), หนูดพระตัน หนูดพระผู้ (ภาคใต้), กระตืดแป (เลย), กระดูกอึ่ง อ้ายเหนียว (กาญจนบุรี), นอมะช่าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หงหมู่จีเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของต้นอีเหนียว
- ต้นอีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล
- ใบอีเหนียว ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยใบเดียว (ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ) ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีกว้างถึงรูปไข่ ปลายใบมน แหลม หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลมเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร เนื้อใบบาง หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอมเทา มีก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร
- ดอกอีเหนียว ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งมีหลายกระจุก กระจุกหนึ่งมีดอกประมาณ 2-6 ดอก รวมเป็นช่อแยกแขนง ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมขาวหรือสีชมพู แกนกลางมีขนรูปตะขอโค้ง ใบประดับร่วงได้ง่ายทั้งคู่ ไม่มีใบประดับย่อย ก้านดอกย่อยยาว กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังกว้าง ปลายแยกเป็นแฉก 4 แฉก กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่วสีขาวถึงสีชมพูอ่อน กลีบดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกัน แยกเป็นสองมัด รังไข่มีขน ก้านดอกยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ออกดอกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
- ผลอีเหนียว ออกผลเป็นฝักรูปแถบ ฝักมีลักษณะแบนโค้งงอเล็กน้อย แบ่งเป็นข้อ ๆ ฝักหนึ่งจะมี 7-9 ข้อ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร ตามผิวมีขนรูปตะขอโค้งสั้น เมล็ดอีเหนียวมีลักษณะเป็นรูปไต และมีเยื่อหุ้มเมล็ด
สรรพคุณของอีเหนียว
- มีรสหวานชุ่มเผ็ดเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้เส้นเลือดอุดตัน (ทั้งต้น)
- มีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำรุงโลหิต (ทั้งต้น)
- ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด และช่วยลดระดับน้ำตาล(ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ทั้งต้น)
- มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ แก้ตัวร้อน (ราก)
- ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน (ราก)
- มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
- ใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ (ราก)
- ใช้เป็นยาถ่าย (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นและรากมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก (ราก, ทั้งต้น)
- ตำรายาไทยจะใช้รากอีเหนียวเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือประจำเดือนไม่มาของสตรี (ทั้งต้น)
- ใบมีสรรพคุณเป็นยาลดนิ่วในท่อน้ำดีและไต (ใบ)
- ใช้เป็นยาห้ามเลือด (ทั้งต้น)
- ต้นหรือใบสดใช้ตำพอกรักษาแผล (ต้น, ใบ)
- ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้ปลายประสาทผิวหนังอักเสบ (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นหรือใบสดใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษสุนัขกัด (ใบ, ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้อาการปวด บวมช้ำ ฟกช้ำ (ทั้งต้น)
วิธีใช้ : การใช้ตาม [1] ให้นำทั้งต้นและใบประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น[1] ส่วนการใช้ตาม [2] รากแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม รากและก้านใช้ภายนอกได้ตามความเหมาะสม หรือจะใช้ต้นสดประมาณ 20-35 กรัม สำหรับตำพอกแผล
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอีเหนียว
- สารสำคัญที่พบ ได้แก่ acetophenone, harman, chrysanthemin, iridin glucoside, tryptamine, tyvamine รากพบสาร alkaloids 0.05% ใน alkaloids พบสาร N-Dimethyltryptamine, Hypapphorine, Hordenine N-Methyltyramine ลำต้นและใบ พบสาร Nb-Methyltetrahydrohardon, 6-Methoxy-2-methyl-b-carbolinium ส่วนเมล็ดพบน้ำมัน น้ำตาล และ Alkaloid อีกเล็กน้อย
- สมุนไพรอีเหนียวมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ ทำให้เป็นหมัน
- เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองศึกษาผลของอีเหนียวในการลดไขมันในเลือด โดยทำการทดลองกับหนูทดลอง โดยให้สารสกัดอีเหนียวในหนูจำนวน 100 และ 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ใช้เวลาทำการทดลองเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง P<0.05
- เมื่อนำสารที่สกัดจากใบในความเข้มข้น 10% มาให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะได้ดี
- จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารสกัดอีเหนียวทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ให้หนูถีบจักรทดลอง พบว่าในขนาดที่หนูทนได้คือ 1 กรัมต่อกิโลกรัม
ประโยชน์ของอีเหนียว
- ใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น
คำสำคัญ : อีเหนียว
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อีเหนียว. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1781&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นหนาด จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งแผ่เป็นครีบ 4 ครีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใบมีขนยาวสีขาวแกมเทาทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีขนละเอียดนุ่มยาวคล้ายเส้นไหม
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,816
ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,664
ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาวๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมันและบาง ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 13,759
ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาวๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,706
ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,487
อังกาบหนู หรือ ต้นอังกาบเหลือง เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,759
ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush, Golden Bush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ขี้คาก, ลับหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง หรือหมากกะลิงเทศ เป็นต้น ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว แถมยังปลูกได้ง่ายอีกด้วย เพราะต้นชุมเห็ดเทศนี้ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรมากมายนัก และส่วนใหญ่มักพบต้นชุมเห็ดเทศนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,137
หญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,978
มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,921
มะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,141