ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 5,804

[16.4258401, 99.2157273, ขมิ้นเครือ]

ขมิ้นเครือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Arcangelisia flava (L.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)
สมุนไพรขมิ้นเครือ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขมิ้นฤาษี ฮับ (ภาคใต้), ชั้วตั่วเหล่ง (ม้ง) เป็นต้น

ลักษณะของขมิ้นเครือ
         ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็กๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่ จะมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างตรง มีโค้งงอบ้างบางตอน ผิวเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกบางมีรอยแตกเล็ก ๆ เป็นแนวตามยาวของราก รอยแตกที่พาดขวางจะเป็นรอยนูนเล็กน้อย รากขมิ้นเครือที่แห้งแล้ว ผิวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีรอยแตกพาดขวางอยู่ทั่วไป เปลือกหลุดง่าย จัดเป็นพืชหายากชนิดหนึ่ง มักขึ้นตามชายป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ที่จีน (เกาะไหหลำ) ภูมิภาคมาเลเซีย และภูมิภาคอินโดจีน
        ใบขมิ้นเครือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่แกมรี รูปไข่กว้าง หรือรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม ตัด หรือเป็นรูปหัวใจเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบไม่มีขน มีเส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ 5 เส้น และมีเส้นแขนงใบอีก 1-3 คู่ โดยมักจะออกเหนือครึ่งหนึ่งของเส้นกลางใบไป เมื่อแห้งแล้วจะเห็นเส้นร่างแหไม่ชัดเจน ก้านใบยาว ที่โคนและปลายบวม โคนก้านใบงอ
        ดอกขมิ้นเครือ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามง่ามใบหรือตามเถา ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แตกกิ่งด้านข้างยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีสีขาวแกมเหลืองหรือแกมเขียว โดยดอกเพศผู้จะไม่มีก้านหรือก้านสั้น มีใบประดับย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร โคนหนาเห็นได้ชัด กลีบเลี้ยงวงนอกมีประมาณ 3-4 กลีบ มีขนาดสั้นกว่า 1 มิลลิเมตร ส่วนวงในใหญ่กว่า มีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ยาวประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้จะเชื่อมกัน ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ยาวได้ประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร ปลายโค้ง มีเกสรเพศผู้ปลอมขนาดเล็กลักษณะคล้ายเกล็ด เกสรเพศเมียจะมี 3 อัน ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียกว้าง ไม่มีก้าน เป็นตุ่ม ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
        ผลขมิ้นเครือ ผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลม ออกเป็นช่อตามลำดับ มักแตกก้านยาวประมาณ (5-)7-30 (-45) เซนติเมตร แกนกลางและก้านใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ผลกับก้านผลจะแตกจากด้านข้าง มีประมาณ 1-3 ผลติดอยู่ด้วยกันบนก้านที่มีลักษณะเป็นรูปตะบอง ที่ปลายบวมยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร ผลสุกเป็นสีเหลือง ค่อนข้างแบน ด้านข้าง รูปกึ่งรูปไข่ตามขวาง ยาวประมาณ 2.5-3.3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.2-3 เซนติเมตร และหนาประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะย่น ขนเกลี้ยง ผนังผลชั้นในแข็ง,ภายในผลมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 เมล็ด ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

สรรพคุณของขมิ้นเครือ
1. ตำรายาไทยจะใช้เนื้อไม้ขมิ้นเครือเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต (เนื้อไม้) ]น้ำต้มจากลำต้นหรือรากใช้เป็นยาบำรุง (ลำต้น, ราก)
2. รากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำเหลือง (ราก)
3. ลำต้นและรากใช้เป็นยาแก้เบาหวาน (ลำต้นและราก)
4. รากใช้เป็นยาหยอดตา แก้ตาแดง ตาเปียก ตาแฉะ (ราก)
5. ลำต้นและรากมีสารอัลคาลอยด์ชื่อ berberine ซึ่งใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร รักษามาลาเรีย แก้ไข้ และรักษาโรคอหิวาต์ได้ผลดีเทียบเท่ากับยาคลอแรมเฟนิคอล (ลำต้นและราก)
6. ยางจากต้นใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ (ยาง)
7. น้ำต้มจากลำต้นหรือราก ใช้เป็นยาแก้ไอ (ลำต้น, ราก)
8. รากใช้เป็นยาขับลม (ราก)
9. น้ำต้มจากลำต้นหรือกิ่งก้าน ใช้เป็นยาแก้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ (ลำต้น, กิ่งก้าน)[2]
10. ยางจากต้นใช้เป็นยาแก้โรคเมืองร้อนที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย (ยาง)
11. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)
12. ในซาราวักจะใช้ลำต้นและรากเป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ลำต้นและราก)
13. เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้ (เนื้อไม้)
14. รากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ราก)
15. เนื้อไม้ใช้เป็นยาขับประจำเดือน ส่วนน้ำต้มจากลำต้นหรือรากมีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือน แก้ปวดท้อง (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)
16. ลำต้นหรือกิ่งก้านนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคดีซ่าน (ลำต้น, กิ่งก้าน)
17. เนื้อไม้ใช้ขูดเป็นยาล้างแผลพุพอง แผลเรื้อรัง และแก้อาการคัน (เนื้อไม้)
18. ชาวม้งจะใช้ใบขมิ้นเครือนำมาทุบแล้วใช้ห่อพันบริเวณที่เอ็นขาดเพื่อช่วยประสานเอ็น (ใบ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขมิ้นเครือ
1. มีรายงานพิษต่อเม็ดเลือดในหลอดทดลอง แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงควรมีการทดลองทางพิษวิทยาเพิ่มเติมก่อนนำมาใช้
2. รากและลำต้นที่ได้มาจากร้านขายยาแผนโบราณจากป่าหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และจากสวนสมุนไพรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณของสาร berberine อยู่สูง
    ถึง 3.22% โดยขมิ้นเครือจากตลาดจะมีปริมาณของสารดังกล่าวอยู่น้อยกว่ามาก ส่วนขมิ้นเครือของจังหวัดสงขลานั้นไม่มีเลย ส่วนรากขมิ้นเครือจากสวนสมุนไพร จังหวัดจันทบุรี จะมี
    ปริมาณของสาร berberine สูงสุด

ประโยชน์ของขมิ้นเครือ
1. เมล็ดขมิ้นเครือมีพิษ หากรับประทานอาจทำให้อาเจียนและถึงตายได้ มันจึงถูกนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลา
2. ในกาลิมันตันจะใช้สีเหลืองจากลำต้นนำมาย้อมเสื่อที่ทำจากหวาย ส่วนในอินเดียและอินโดจีนจะใช้ย้อมผ้า และบางครั้งก็นำสีเหลืองที่ได้ไปผสมกับสีจากคราม ซึ่งจะทำให้ได้สีเขียว

คำสำคัญ : ขมิ้นเครือ

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ขมิ้นเครือ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1574&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1574&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เห็ดหอม

เห็ดหอม

ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,237

งิ้วแดง

งิ้วแดง

งิ้วจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25 เมตร (บ้างว่าสูงประมาณ 25-30 เมตร) และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 15 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 13,562

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,833

แสลงใจ

แสลงใจ

ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 4,622

มะกอกเกลื้อน

มะกอกเกลื้อน

ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาวๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,943

กล้วยหอม

กล้วยหอม

สำหรับกล้วยหอมนับได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าครบถ้วนจริงๆ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ก้านใบเป็นร่องกว้างและมีปีก บริเวณกลางใบมีเส้นสีเขียวและมีขนตรงก้านเครือ มีผลเป็นเครือๆ 1 เครือจะมีประมาณ 4-5 หวี หวีละประมาณ 12-16 ผล ตรงปลายผลมีจุกสีเขียวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเห็นเด่นชัด เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมและอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,704

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,388

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง

ต้นข่าตาแดง จัดเป็นพรรณไม้ลงหัว เมื่อแตกขึ้นเป็นกอจะมีลักษณะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่จะมีขนาดของต้นเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย และมีขนาดโตกว่าข่าลิงเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อเอามาปลูก ใบข่าตาแดง ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่ โดยมีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบๆ ลำต้น ดอกข่าตาแดง ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย หน่อข่าตาแดง เมื่อแตกหน่อ หน่อจะเป็นสีแดงจัด ซึ่งเรียกว่า "ตาแดง" มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,507

บัวสาย

บัวสาย

บัวสาย บัวสายนั้นมีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย จึงเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยมาเนิ่นนานแล้ว จัดเป็นพืชน้ำอายุหลายปี เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝักอยู่ในโคลนเลน ก้านอยู่ใต้น้ำ ส่วนก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลี้ยงและไม่มีหนาม เจริญเติบโตได้ในดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในระดับน้ำลึกประมาณ 0.3-1 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าและเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 16,640

ผักตบไทย

ผักตบไทย

ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,111