ใบระบาด

ใบระบาด

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้ชม 4,151

[16.4258401, 99.2157273, ใบระบาด]

ใบระบาด ชื่อสามัญ Baby Wood Rose, Baby Hawaiian Woodrose, Elephant Climber, Elephant Creeper, Elephant Creeper Silver, Elephant Vine, Silver Morning, Silver Morning Glory, Morning Glory, Wood Rose, Woolly Morning Glory
ใบระบาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Argyreia nervosa (Burm. f.) Bojer (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Argyreia speciosa (L. f.) Sweet, Convolvulus nervosus Burm. f., Convolvulus speciosus L. f., Ipomoea speciosa (L. f.) Pers., Lettsomia nervosa (Burm. f.) Roxb., Rivea nervosa (Burm. f.) Hallier f.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)[
สมุนไพรใบระบาด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เมืองมอน เมืองมอบ (กรุงเทพฯ), ผักระบาด (ภาคกลาง), ใบละบาท ผักระบาท (ไทย) เป็นต้น

ลักษณะของใบระบาด
       ต้นใบระบาด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ตามเถามีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมียางสีขาว เถาอายุน้อยจะนุ่มและอวบน้ำ แต่พอแก่แล้วเถาจะแข็งเป็นไม้ ทอดยาวเหยียดไปได้ไกล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน ทาบกิ่ง และปักชำ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก
       ใบใบระบาด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า มีขนาดกว้างประมาณ 8-25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ตามขอบใบมีขนสีขาว ก้านใบยาวและมีขน
        ดอกใบระบาด ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 3-5 ดอก ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีชมพูอมม่วง คล้ายดอกผักบุ้ง มีใบประดับเป็นรูปไข่ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปปากแตรและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ โคนด้านนอกมีขนนุ่ม ตรงกลางดอกข้างในหลอดเป็นสีม่วงเข้ม ดอกมีเกสรอยู่ภายในหลอดดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน มีขนปุกปุยที่โคน และมีรังไข่เกลี้ยงอยู่ประมาณ 4 ช่อง ดอกร่วงได้ง่าย เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
        ผลใบระบาด ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาลอมเหลือง ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายผลมีติ่ง เมล็ด ( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides

สรรพคุณของใบระบาด
1. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
2. รากใช้รักษาโรคอ้วนที่เกิดจากการสะสมของไขมัน (ราก)
3. น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหูเป็นยารักษาอาการอักเสบ (ใบ)
4. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
5. ช่วยกระตุ้นกำหนัด (ราก)
6. รากใช้เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย (ราก)
7. ใบใช้ตำพอกรักษาบาดแผล รักษาอาการอักเสบ (ใบ)
8. ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน 3-4 วัน จะเห็นผล (ใบ)
9. ใบใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ)
10. รากใช้เป็นยารักษาโรคเท้า แก้โรคไขข้ออักเสบ (ราก)

ขนาดและวิธีใช้ : ใบใช้เฉพาะภายนอก ส่วนรากให้ใช้จำนวนพอประมาณ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
ข้อควรระวัง : ใบห้ามนำมารับประทาน ถ้าหากรับประทานใบเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง มึนงง ตาพร่า ส่วนเมล็ดถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้ประสาทหลอน

ประโยชน์ของใบระบาด
1. นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โดยทำเป็นร้านหรือซุ้มเพื่อให้ลำต้นเลื้อยขึ้นไปได้ แต่คนไทยโบราณจะนิยมปลูกไว้ริมรั้วบ้าน เนื่องจากสะดวกต่อการเกาะเลื้อยและแผ่ขยายลำต้นไปได้ไกล
2. ในเรื่องของความเชื่อคนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นใบระบาด (ต้นใบละบาท) ไว้จะทำให้เกิดความร่ำรวยด้วยเงินตรา หากต้นมีจำนวนใบที่มากขึ้นก็จะทำให้มีเงินเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากการแตกใบ 1 ใบ มีค่าเท่ากับ 1 บาท นอกจากนี้ใต้ใบยัง
     มีสีคล้ายกับเงินที่เคลือบอยู่อีกด้วย และเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นใบระบาดไว้ทางทิศตะวันตก และให้ปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

คำสำคัญ : ใบระบาด

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ใบระบาด. สืบค้น 7 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1659&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1659&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาด เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เปลือกและผลแก่มีสรรพคุณ ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับลม แก้ไข้มาเลเรีย รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ เป็นยาสมาน และใช้ห้านเลือดได้ นอกจากนี้ เปลือกมะพลับยังให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้ยางสีน้ำตาลใช้ละลายน้ำ แล้วนำไปย้อมผ้า แห อวน เพื่อให้ทนทาน ไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,203

กฤษณา

กฤษณา

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,475

คำฝอย

คำฝอย

คำฝอยเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 40-130 ซม. มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะแบบเรียงสลับ รูปทรงรี ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย บริเวณปลายเป็นหนามแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดกช่อ ออกดอกที่ปลายยอด และมีดอกย่อยขนาดเล็กๆ จำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกมีสีเหลือง แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามคอยรองรับช่อดอก ส่วนผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดรูปทรงสามเหลี่ยมเล็กเป็นสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,184

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 10,646

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามภูเขาสูง และในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แต่ในปัจจุบันหาได้ยาก เพราะมีไม่มากเท่ากวาวเครือขาว กวาวเครือแดงเป็นสมุนไพรในตำรายาไทยมีสรรพคุณมากมาย ได้แก่ หัวช่วยบำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต จัดเป็นสมุนไพรสำหรับเพศชายอย่างแท้จริง เพราะมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ และที่สำคัญที่สุดยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,151

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,414

กระวาน

กระวาน

ต้นกระวานเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้า กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบกระวานใบเดี่ยว แคบยาว ปลายแหลม ดอกกระวานช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ผลกระวานค่อนข้างกลม สีนวล มี 3 พู ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,235

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,681

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 16,493

กุ่มบก

กุ่มบก

กุ่มบก (Sacred Barnar) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักก่าม เขมรเรียกถะงัน หรือสะเบาถะงัน เป็นต้น ซึ่งกุ่มบกนั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนภาคกลางและใต้ของไทย รวมทั้งในพุทธประวัติยังได้กล่าวไว้ว่าขณะที่พระพุทธเจ้าทรงนำห่อบังสุกุลที่ห่อศพนางมณพาสีไปซักแล้วนำไปตากไว้ที่ต้นกุ่ม และเทวดาที่สถิตอยู่ในต้นกุ่มก็ได้น้อมกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตากจีวรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,718