มะเขือยาว

มะเขือยาว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 4,398

[16.4258401, 99.2157273, มะเขือยาว]

มะเขือยาว ชื่อสามัญ Eggplant

มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

มะเขือยาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก เมื่อพูดถึงมะเขือยาวหลาย ๆ คนคงรู้ดีว่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารได้ แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าประโยชน์ของมะเขือยาวคืออะไร ? มันมีด้วยเหรอ ? วันนี้เรามาดูสรรพคุณของมะเขือยาวกันดีกว่าครับว่ามันมีอะไรบ้าง

มะเขือยาวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่าง ๆ สำหรับมะเขือยาวสีม่วงนั้นจะมีวิตามินพีมากเป็นพิเศษโดยทั่วไปในมะเขือยาวผิวสีม่วงจะมีวิตามินพีในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือโรคลักปิดลักเปิด ควรจะรับประทานมะเขือยาวเป็นประจำ เพราะจะทำให้อาการของโรคดังกล่าวทุเลาลงหรือหายได้

มะเขือยาว มีความสามารถในการดูดซับน้ำมัน จึงคาดว่าน่าจะช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้ ด้วยความจริงนี้เองหากจะรับประทานด้วยวิธีการทอดก็จะทำให้มะเขือยาวดูดซับน้ำมันเอาไว้ จึงควรใช้วิธีอบแทน

สรรพคุณของมะเขือยาว

  1. มีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  2. ช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้
  3. มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติ
  4. ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
  5. แคลเซียมจากมะเขือยาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  6. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  7. มีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง พัฒนาด้านความจำ
  8. ใช้เป็นยาแก้ปวด ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการปวด
  9. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากิน
  10. ใช้แก้อาการปวดฟัน ฟันผุ ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็น
  11. ใช้รักษาแผลในช่องปาก ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นแผล
  12. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติและสะดวก
  13. ใช้รักษาโรคบิดเรื้อรัง ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นและรากแห้งประมาณ 10 กรัม มาต้มเอาน้ำกิน หรือใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6-10 กรัม หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการอุจจาระเป็นเลือด หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากินก็ได้เช่นกัน
  14. แก้อาการตกเลือดในลำไส้ ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6-10 กรัม หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการก็ได้ หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากินก็ได้เช่นกัน
  15. ช่วยแก้ปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงกินประมาณ 6-10 กรัม
  16. ช่วยรักษาโรคหนองใน ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงกินประมาณ 6-10 กรัม
  17. ใช้รักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน
  18. รักษาแผลเท้าเปื่อยอักเสบ ด้วยการใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำจนละเอียด คั้นเอาน้ำแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
  19. รักษาแผลที่เกิดจากพยาธิปากขอเจาะไชเท้า ด้วยการใช้ใบต้มกับน้ำล้างบริเวณที่เป็นแผล
  20. ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคันตามผิว ด้วยการใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็น
  21. รักษาผิวหนังเป็นปื้นขาวหรือแดง ด้วยการใช้ขั้วผลที่แห้งแล้วนำมาคลุกผสมกับกำมะถัน จากนั้นก็บดให้ละเอียดแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นปื้น
  22. ช่วยรักษาฝี ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นฝี หรือถ้าเป็นฝีหลายหัวบริเวณหลังแต่หนองยังไม่แตก ให้นำใบสดมาตำจนละเอียดแล้วผสมกับน้ำส้มสายชูสีดำ นำมาต้มแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี
  23. ใช้ล้างแผลหรือนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนองหรือแผลที่เกิดจากการถูกความเย็น ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาน้ำแล้วนำมาล้างแผลหรือพอกบริเวณที่เป็นหนอง
  24. รักษาอาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกของผู้หญิง ให้ใช้ผลแก่จัดนำมาตากในร่มจนแห้ง แล้วนำไปเผาจนเป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วใช้ทาบริเวณที่เจ็บ

คำสำคัญ : มะเขือยาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือยาว. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1703&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1703&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว

พญาท้าวเอว จัดเป็นไม้พุ่มพาดพันไปบนต้นไม้อื่น ตามลำต้นมีหนามแหลมโค้ง พอแก่แล้วหนามจะโค้งหาลำต้นในลักษณะที่หนามไปล็อกลำต้นไว้ เป็นไม้ป่าของไทยที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบประมาณ 6-9 คู่ มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาว 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด ออกเป็นพวงๆ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 5,176

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันนั้นเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง มีอายุได้หลายปี ความสูงลำต้นประมาณ 30-95 เซนติเมตร มีรากเหง้าอยู่ใต้ดินเป็นรูปทรงไข่ อวบและสั้น และมีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 2 ด้าน ส่วนเนื้อในของเหง้านั้นมีกลิ่นหอมฉุนแบบเฉพาะตัว สีเหลืองอมส้ม หรือเหลืองจำปาอมแสด เป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงเข้ม เหง้าเรียงตัวเป็นวงซ้อนทับกัน และดอกแทงออกมาจากเหง้ารูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ส่วนใบประดับสีเขียวอ่อนๆ และส่วนผลมีด้วยกัน 3 พู เป็นรูปทรงกลม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,906

กระทืบยอบ

กระทืบยอบ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล  มีใบย่อย 18-27 คู่  ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม.  ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,323

เขยตาย

เขยตาย

เขยตายเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ประโยชน์ของเขยตาย ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ข้อควรระวัง คือ ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,673

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ที่มีเนื้ออ่อนลำต้นกลวง มีข้อปล้องสีเขียว  ขึ้นเลื้อยตามหน้าน้ำ หรือดินแฉะ  ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม คล้ายๆกับปลายหอก เป็นไม้ใบเดี่ยว อออกสลับทิศทางกันตามข้อต้น ใบยาว ประมาณ 2-3 นิ้ว  ดอกลักษณะของดอก เป็นรูประฆังเล็ก มีสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีชมพูด้านในของโคนดอก จะมีสีเข้มกว่าด้านนอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 2 นิ้วและจะตกในฤดูแล้ง  ผลเป็นรูปมนรี คล้ายกับ capsule

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,099

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ลักษณะทั่วไป  วัชพืชน้ำที่มีอายุยืนหลายปี สูง 30-90 ซม.  ลำต้นสั้น รากแตกออกจากลำต้น บริเวณข้อ รากสีม่วงดำ เกิดจากสารแอนโทโซยานิน ลำต้นแตกไหล เกิดเป็นลำต้นใหม่ ติดต่อกันไป  ใบออกเป็นกลุ่มรอบลำต้น ใบกว้างใหญ่ มีรูปร่างค่อนข้างกลม ส่วนฐานใบเว้าเข้าหาก้านใบ มีหูใบ ปลายใบมน ขนาดของใบความยาวก้านใบขึ้นกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่เจริญเติบโตอยู่ ก้านใบจะพองออกภายในมีรูพรุน ลักษณะคล้ายผองนำ ช่วยพยุงให้ลำต้นลอดน้ำได้ ดอกออกเป็นช่อชนิดสไปด์  ออกดอกได้ตลอดปี ในช่อหนึ่ง ๆ  มีดอกย่อย    6-30 ดอก มีก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน มีสีม่วง มีจุดเหลืองรวมกันเป็นรูปกรวย  ปลายแยกเป็น  6  กลีบ  มีเกสรตัวผู้  6 ตัว เกสรตัวเมียเป็นเส้นบาง ๆ ที่ส่วนปลายเป็นตุ่มสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,987

ผักแว่น

ผักแว่น

ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 10,855

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 22,297

ผักเบี้ยหิน

ผักเบี้ยหิน

ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุกลำต้นอวบน้ำ สีเขียวอมม่วง แตกกิ่งก้านโปร่งแผ่ราบไปตามพื้นดิน ตามลำต้นมีขนละเอียด  ใบเป็นใบเดียวออกจากลำต้นแบบตรงข้ามเป็นคู่ รูปร่างใบค่อนข้างกลม รูปไข่กลับปลายใบมนหรือหยักเว้าอีกใบหนึ่ง    ก้านใบยาว โคนก้าน ใบแผ่ออกเป็นกาบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ไม่มีก้านดอก ดอกมีสีขาว อมชมพูมี กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบ ปลายกลีบดอกโค้งมนออกดอกตลอดปี ผลมีลักษณะเป็นฝักติดอยู่ตามซอกใบ ส่วนล่างของผักจะฝังจม อยู่ในง่ามใบภายในฝักมีเมล็ดสีดำรูปไตขนาดเล็กอยู่ภายใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,731

มะขามเทศ

มะขามเทศ

สำหรับประโยชน์ของมะขามเทศนั้นมีมากมาย เพราะประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เส้นใย เป็นต้น และยังถือว่ามะขามเทศนั้นเป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดหนึ่งด้วย เพราะคนโบราณนิยมนำมาใช้รักษาโรคปากนกกระจอกเทศนั่นเอง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,110