ผักหนาม

ผักหนาม

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 3,849

[16.4258401, 99.2157273, ผักหนาม]

ผักหนาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Lasia spinosa (L.) Thwaites จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

สมุนไพรผักหนาม มีชื่อเรียกอื่นว่า กะลี (มลายู, นราธิวาส), บอนหนาม (ไทลื้อ, ขมุ), ผะตู่โปล่ เฮาะตู่คุ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ด่อแกงเล่อ (ปะหล่อง), บ่อนยิ้ม (เมี่ยน), บ่ะหนาม (ลั้วะ), หลั่นฉื่อโก จุยหลักเท้า (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น

ลักษณะของผักหนาม

  • ต้นผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตามริมน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขัง 
  • ใบผักหนาม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวลูกศรหรือรูปโล่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบและหยักเว้าลึกเป็น 9 พู รอยเว้ามักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบมีขนาดกว้างมากกว่า 25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหนามแหลมตามเส้นใบด้านล่างและตามก้านใบ ใบอ่อนม้วนเป็นแท่งกลม ก้านใบมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกยาวและแข็ง โดยมีความยาวประมาณ 40-120 เซนติเมตร
  • ดอกผักหนาม ออกดอกเป็นช่อเชิงลด ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก เป็นแท่งยาวขนานเท่ากับใบ ประมาณ 4 เซนติเมตร แทงออกมาจากกาบใบ ก้านช่อดอกมีหนามและยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร มีดอกย่อยอัดกันแน่นเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ใบประดับเป็นกาบสีน้ำตาลแกมเขียวถึงสีม่วง กาบหุ้มม้วนบิดเป็นเกลียวตามความยาวของกาบ มีความยาวได้ถึง 55 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อดอกแบบแท่ง Spadix ช่อดอกเป็นสีน้ำตาล ดอกเพศผู้จะมีจำนวนมากและอยู่ตอนบน ส่วนดอกเพศเมียจะมีจำนวนน้อยกว่าและอยู่ตอนล่าง จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 
  • ผลผักหนาม ผลมีลักษณะเรียงชิดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก เป็นผลสด หนา และเหนียว ผลอ่อนเป็นสีเขียวมีเนื้อนุ่ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมแดง จะเป็นผลในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของผักหนาม

  • ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ ส่วนในอินเดียจะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ปวดท้อง ปวดตามข้อและโรคผิดปกติเกี่ยวกับลำไส้ ใช้น้ำคั้นจากต้นเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร และใช้ลำต้นและผลเป็นยาแก้อาการผิดปกติเกี่ยวกับคอ
  • ชาวไทใหญ่จะใช้ทั้งต้นรวมกับไม้เปาและไม้จะลาย นำไปต้มอาบและดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย
  • ลำต้นผักหนาม มีรสเผ็ดชา ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลืองหรือแดง ผิวหนังเน่าเปื่อยเป็นหนอง ใช้ต้มเอาน้ำอาบแก้อาการคันเนื่องจากพิษหัด เหือด ไข้ออกผื่น สุกใส ดำแดง ทำให้ผื่นหายเร็ว และใช้เป็นยาถอนพิษ บ้างใช้ลำต้นแห้งทำเป็นยารักษาโรคผิวหนัง
  • ตำรับยาแก้ผิวหนังเน่าเปื่อยเรื้อรัง เท้าเน่าเปื่อย หรือศีรษะเน่าเปื่อยเป็นแผลเรื้อรัง ให้ใช้ลำต้นผักหนามนำต้มเอาน้ำชะล้างหรือบดให้เป็นผงแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น
  • เหง้าใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ต้มกับน้ำอาบแก้คันเนื่องจากพิษหัด เหือด สุกใส ดำแดง และโรคผิวหนัง บ้างใช้เหง้าฝนกับน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ (เหง้า)
  • รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ ส่วนอีกข้อมูลระบุให้ใช้รากต้มกับน้ำให้เด็กแรกเกิดอาบ แก้อาการเจ็บคอ
  • รากและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ
  • ใบผักหนามใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้ไอ ส่วนในศรีลังกาจะใช้ใบเป็นยาแก้ปวดท้องและอาการปวดอื่น ๆ ใช้ก้านใบบดให้เละแล้วนำไปให้โคกระบือกินครั้งละน้อย ๆ เป็นยาแก้อาการผิดปกติเกี่ยวกับคอ

ขนาดและวิธีใช้ : การเก็บยาให้เก็บลำต้นในช่วงฤดูร้อนและล้างให้สะอาด แล้วนำไปตากแห้งหรือหั่นเป็นแผ่นตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ลักษณะยาที่ดีจะรสเผ็ดชา ต้นที่เก็บจะต้องมีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก เปลือกสีน้ำตาลเทา มีข้อเป็นปุ่ม ขรุขระมีหนามแข็ง แต่ละข้อห่างกันประมาณ 6-7 เซนติเมตร มีรากฝอยขดม้วนเข้าไปที่โคนก้านใบ เนื้อในเป็นสีเทาหรือสีชมพู มีแป้งมาก และมีจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป) โดยให้ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 ต้มกับน้ำกิน ส่วนการใช้ภายนอกให้นำไปต้มเอาน้ำชะล้างหรือบดเป็นผงทาบริเวณที่เป็น

ประโยชน์ของผักหนาม

  • ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนผักหนามมีรสจืด (ถ้านำไปดองจะมีรสเปรี้ยว) สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ โดยนำมาลวกหรือต้มกับกะทิ หรือใช้ทำผักดองแกล้มแกงไตปลาและขนมจีน รับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปผัด ปรุงเป็นแกง อย่างแกงส้ม แกงไตปลา เป็นต้น โดยคุณค่าทางโภชนาการของผักหนามใน 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 18 แคลอรี, โปรตีน 2.1 กรัม, ไขมัน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 2.0 กรัม, ใยอาหาร 0.8 กรัม, เถ้า 0.8 กรัม, วิตามินเอ 6,383 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 0.92 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.91 มิลลิกรัม, วิตามินซี 23 มิลลิกรัม, แคลเซียม 14 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
  • ก้านใบอ่อนใช้ต้มกินกับน้ำพริก
  • ในอินเดียจะใช้ผลผักหนามปรุงเป็นอาหาร
  • ลำต้นนำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้ผสมในข้าวสาร แล้วนำไปหุง จะช่วยเพิ่มปริมาณ
  • ก้านและใบใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงโคกระบือ (นำมาตำกับเกลือให้โคกระบือกิน) ทำให้อ้วนท้วนสมบูรณ์ เพราะผักหนามมีฮอร์โมนบางชนิดและสารบางตัวที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะช่วยในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคได้อีกทางหนึ่ง
  • นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีการทดลองนำผักหนาม โดยใช้ส่วนของก้านแก่และใบแก่ (ปริมาณร้อยละ 0.5) มาบดผสมลงไปในอาหารเลี้ยงไก่ เมื่อเปรียบเทียบผลกับการใช้อาหารสัตว์ที่มีการผสมยาปฏิชีวนะ ผลการทดลองพบว่า ไก่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โดยที่ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเพิ่มน้ำหนัก และอื่น ๆ ไม่แตกต่างกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้นต้นทุนด้านค่าอาหาร (เมื่อคิดต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวไก่แล้ว การใช้ผักหนามมีต้นทุนต่ำกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ) แต่เมื่อเพิ่มปริมาณเป็นร้อยละ 1.5 โดยใช้ลำต้นและรากผักหนามแทน จะเห็นได้ชัดว่า ผักหนามให้ผลดีกว่ายาปฏิชีวนะ เพราะน้ำหนักตัวของไก่เพิ่มขึ้นมากกว่าไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมยาปฏิชีวนะเกือบ 20% และมีการกินอาหารได้มากกว่า แต่ต้นทุนค่าอาหารก็ยังต่ำกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเหมาะกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก 

ข้อควรระวัง : ใบ ก้านใบ และต้นผักหนามมีสารไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (Cyanogenic. Glycosides) ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ (สารพิษชนิดหนึ่ง) ได้ โดยเป็นสารพิษที่ออกฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนของเลือด เมื่อได้รับพิษหรือรับประทานเข้าไปดิบ ๆ จะทำให้อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก มึนงง ไม่รู้ตัว ชักก่อนจะหมดสติ มีอาการขาดออกซิเจน ตัวเขียว ถ้าได้รับมากจะทำให้โคม่าภายใน 10-15 นาที และเสียชีวิตได้ เมื่อได้รับพิษจะต้องทำให้อาเจียนออกมา แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้อง ดังนั้นก่อนนำมารับประทานจะต้องนำไปทำให้สุกหรือดองเปรี้ยวเพื่อกำจัดพิษไซยาไนด์เสียก่อน

คำสำคัญ : ผักหนาม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักหนาม. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1724&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1724&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะอ้า

มะอ้า

มะอ้า ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ประมาณ 12-25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมแผ่กว้างทึบชั้นในสีชมพูแดงเรื่อ ๆใบเป็นช่อยาว ออกเรียงสลับกันใบอ่อนรูปขอบขนาน โคนเบี้ยว เนื้อค่อนข้างหนาเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียวอ่อน ๆ ออกเป็นช่อผลสีน้ำตาล รูปไข่กลับ เอบกลม เปลือกหนา ผลแก่แตกอ้า เผยให้เห็นเนื้อเยื่อสีแดงภายใน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,725

กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,069

พุทธรักษา

พุทธรักษา

พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา และภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 28,546

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,089

มะหาด

มะหาด

มะหาด ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระ สีน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก ไหลซึมแห้งติดกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่รูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน ใบอ่อนมีขอบใบหยักใบแก่ขอบเรียบหูใบเรียวแหลมดอก ช่อกลมเล็ก ๆ สีเขียว อมเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบดอกกลมมนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เปลือกนอกขรุขระ เนื้อผลนุ่ม สีเขียว แก่มีสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดรูปรี

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,294

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,753

กระชับ

กระชับ

ต้นกระชับเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านของมันมีขนขึ้นประปราย ใบกระชับมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใบจักเว้าเป็น 3-5 แฉก ริมขอบใบหยิกเป็นซี่ฟันปลา เนื้อใบบาง พื้นผิวหลังและใต้ท้องใบหยากสาก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-5 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ดอกกระชับมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกันดอกเพศผู้มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเล็ก ส่วนปลายท่อกลีบจะเป็นหยัก 5 หยัก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,280

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,298

มะกอก

มะกอก

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร  ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ  เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,779

ผักกระเฉด

ผักกระเฉด

ผักกระเฉด จัดเป็นพืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลม เนื้อนิ่ม ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบกระถิน โดยใบจะหุบในยามกลางคืน จึงเป็นที่มาของชื่อ "ผักรู้นอน" ระหว่างข้อจะมีปอดเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้นที่เรียกว่า "นมผักกระเฉด" ซึ่งทำหน้าที่ช่วยพยุงให้ผักกระเฉดลอยน้ำได้นั่นเอง และยังมีรากงอกออกมาตามข้อซึ่งจะเรียกว่า "หนวด" ลักษณะของดอกจะเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง และผลจะมีลักษณะเป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย แบน มีเมล็ดประมาณ 4-10 เมล็ด คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด 100 กรัมจะมี ธาตุแคลเซียม 123 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย เส้นใย ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินเอ เบตาแคโรทีน วิตามินบี 3 วิตามินซี อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 5,656