ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้ชม 5,684

[16.4258401, 99.2157273, ขมิ้นอ้อย]

ขมิ้นอ้อย ชื่อสามัญ Zedoary, Luya-Luyahan
ขมิ้นอ้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma zedoaria (Christm.) Roscoe จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรขมิ้นอ้อย มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า สากเบือ (ละว้า), ขมิ้นขึ้น (ภาคเหนือ), ว่านเหลือง (ภาคกลาง), ละเมียด (เขมร), ว่านขมิ้นอ้อยขมิ้นเจดีย์หมิ้นหัวขึ้น, สากกะเบือ, เผิงเอ๋อซู๋ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของขมิ้นอ้อย
        ต้นขมิ้นอ้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้น ๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลืองอ่อน บ้างว่าเป็นสีเหลืองเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้านำมาปลูก และควรจะปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคม ย่างเข้าฤดูฝน ไม่ควรให้น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้เหง้าขมิ้นอ้อยเน่าเสียได้ โดยขมิ้นอ้อยจะงอกงามในช่วงฤดูฝนและจะมีต้นโทรมหัวใหญ่ในช่วงฤดูหนาว
        ใบขมิ้นอ้อย ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแคบ ผิวใบนูนตามลายของเส้นใบ เส้นกลางใบเป็นร่องเล็กน้อย ผิวด้านหน้าเรียบ ส่วนทางด้านท้องใบจะมีขนนิ่มเล็กน้อย ก้านใบเป็นกาบหุ้มกับลำต้น มีความยาวเป็น 1 ใน 3 ของใบ กลางก้านเป็นร่องลึกตลอดความยาว ในหน้าแล้งกาบใบจะแห้งลงหัวแล้วเหง้าจะโผล่ขึ้นมา (จนบางครั้งเราก็เรียกกันว่าขมิ้นหัวขึ้น)
         ดอกขมิ้นอ้อย ออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกจะยาวและพุ่งออกมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ช่อดอกมีใบประดับ และดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีลักษณะกลมเป็นรูปไข่สีเขียว ตรงปลายของช่อดอกจะเป็นสีชมพูหรือสีแดงอ่อน ส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นบน และจะบานครั้งละประมาณ 2-3 ดอก
         ผลขมิ้นอ้อย ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีกลิ่นฉุนน้อยกว่าผลของขมิ้นชัน (ผล)

สรรพคุณของขมิ้นอ้อย
1. เหง้าขมิ้นอ้อยมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ช่วยกระจายโลหิต รักษาอาการเลือดคั่ง หรือเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดในท้องอุดตัน (เหง้า)
2. ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ แก้พิษโลหิต ใช้เป็นเป็นยาชำระโลหิต (เหง้า)
3. ช่วยลดความดันโลหิต (เหง้า)
4. ในเหง้าหรือในหัวสดของขมิ้นอ้อย มีสารหอมชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง (เหง้า)
5. ช่วยแก้อาการหืดหอบหายใจไม่เป็นปกติ (เหง้า)
6. เหง้าสดนำมาตำผสมกับการบูรเล็กน้อย นำมาดอง (ไม่แน่ใจว่าดองหรือผสม) กับน้ำฝนกลางหาว ใช้รินเอาแต่น้ำเป็นยาหยอดตา แก้อาการตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาพิการ (เหง้าสด)
7. ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาแก้ไข้ (เหง้า)[2],[5]ช่วยแก้ไข้ทั้งปวง (เหง้า)
8. ใช้รักษาอาการหวัด ด้วยการใช้หัวขมิ้นอ้อย อบเชยเทศ และพริกหาง นำมาต้มแล้วเติมน้ำผึ้งใช้รับประทานเป็นยาแก้หวัด (เหง้า)
9. ช่วยแก้อาเจียน (เหง้า)
10. ช่วยแก้เสมหะ (เหง้า)
11. เหง้าใช้เป็นยาแก้ลม (เหง้า)
12. ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้เกิดการบีบตัว จึงช่วยในการขับลม ช่วยแก้อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวด
      ลำไส้ได้ (เหง้า)
13. เหง้าใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค)[2],[5],[7]เหง้าสดประมาณ 2 แว่น เมื่อนำมาบดผสมกับน้ำปูนใส สามารถนำมาใช้ดื่มเป็นยารักษาอาการท้องร่วงได้
      (เหง้าสด)
14. เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น ๆ จะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้ โดยนำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้โรคกระเพาะ (เหง้า)
15. ช่วยสมานลำไส้ (เหง้า)
16. น้ำคั้นจากใบของต้นขมิ้นอ้อย ใช้เป็นยาแก้ท้องมาน โดยขับออกทางปัสสาวะ (ใบ)
17. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อย พริกไทยล่อน และเปลือกยางแดง นำมาผสมกันทำเป็นยาผง แล้วนำไปละลายในน้ำยางใส ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วชี้
      ใช้กินเช้าและเย็น (เหง้า)
18. เหง้าและใบมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เหง้า, ใบ)
19. ช่วยแก้หนองใน (เหง้า)
20. ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้เหง้าหนักประมาณ 12 กรัม, ขมิ้นชัน 10 กรัม, คำฝอย 6 กรัม, ฝางเสน 8 กรัม, เม็ดลูกท้อ 8 กรัม, หง่วงโอ้ว 8 กรัม และโกฐเชียง 10
      กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือใช้ดองกับเหง้าเป็นยารับประทาน (เหง้า)
21. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (เหง้า)
22. ช่วยแก้ระดูขาวของสตรี (เหง้า)
23. เหง้าใช้เป็นยาขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตรของสตรี (เหง้า)
24. ช่วยรักษาซีสต์ในรังไข่ของสตรี (เหง้า)
25. ช่วยแก้อาการตับและม้ามโต (เหง้า)
26. แก้หัดหลบใน ด้วยการใช้เหง้า 5 แว่น และต้นต่อไส้ 1 กำมือ นำมาต้มรวมกับน้ำปูนใสพอสมควร แล้วนำมาใช้ดื่มเป็นยาก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละ 1 ถ้วยชา (เหง้า)
27. เหง้าใช้เป็นยาสมานแผล (เหง้า)
28. เหง้านำมาหุงกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใส่แผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากหัวหรือเหง้าของขมิ้นอ้อยนั้นมีรสฝาด (สาร Tannin) อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำบวมได้
      อีกด้วย (เหง้า)
29. เหง้าใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ ฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้กลากเกลื้อน แก้ผิวหนังอักเสบ (เหง้า)
30. ใช้เป็นยารักษาฝี ฝีหนองบวม ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยสด, ต้นและเมล็ดของเหงือกปลาหมอ อย่างละเท่ากันมากน้อยตามต้องการ นำมาตำรวมกันจนละเอียดแล้วใช้พอกเช้าเย็น หรือ
      หากเป็นฝีหัวเดือน ให้นำใบไผ่เผาไฟให้ไหม้ ส่วนหัวขมิ้นอ้อยนั้น ให้เอามาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยา สามารถใช้ได้ทั้งกิน ทาหรือพอก (เหง้า) ช่วยแก้ฝีในมดลูกของสตรี
      ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ 3 ท่อน, บอระเพ็ด 3 ท่อน, ลูกขี้กาแดง 1 ลูก (นำมาผ่าเป็น 4 ซีก แล้วใช้เพียง 3 ซีก) แล้วนำมาต้มรวมกับสุรา ใช้กินเป็นยาแก้ฝีในมดลูกได้ (เหง้า)
31. ช่วยแก้เสี้ยน ถูกหนามตำ ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ 5 แว่น ดอกชบา 5 ดอก และข้าวเหนียวสุกประมาณ 1 กำมือ นำมาตำแล้วใช้พอก จะสามารถช่วยดูดเสี้ยนและหนองที่ออก
      จากแผลได้ (เหง้า)
32. ใช้รักษาอาการปวด ปวดบวม แก้บวม ฟกช้ำ แก้ช้ำใน แก้อักเสบ แก้อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเคล็ดอักเสบ และบรรเทาอาการปวดได้ดี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นสด ๆ นำมาตำให้ละเอียด แล้ว
      เอามาพอกบริเวณที่มีอาการบวม จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ฟกชกช้ำบวมได้ (เหง้า) ส่วนใบก็ช่วยแก้ฟกช้ำบวมได้เช่นกัน (ใบ)
33. ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว (เหง้า)
34. น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ยับยั้งและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดี เช่น เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฝีหนองที่แผล เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เชื้อที่ทำให้ทางเดิน
      ปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
35. เหง้านำมาใช้เข้าตำรับยาจู้ (ยานวดประคบ) ใช้แก้อาการปวดเมื่อย เจ็บตามร่างกาย (เหง้า)
36. เหง้าใช้ผสมในยาระบายเพื่อทำให้ยาระบายมีฤทธิ์น้อยลง (เหง้า)
37. เหง้าใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง[5]รักษาโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด เนื้องอกธรรมดาของกล้ามเนื้อมดลูก (เหง้า)
38. ขมิ้นอ้อย เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรายาไทยแผนโบราณเพื่อใช้รักษารักษาอาการนอนไม่หลับ ซึ่งมีหลักฐานงานวิจัยที่พอระบุได้ว่าเมื่อใช้สารสกัดจากเหง้าขมิ้น
      อ้อยด้วย 80% ethanol กับหนูทดลอง พบว่าสามารถช่วยยืดระยะเวลาการนอนหลับของหนูถีบจักรได้
39. ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณทางยาเหมือนกับขมิ้นชัน ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน 55 ข้อ !

วิธีใช้ขมิ้นอ้อย
      ใช้ภายใน ให้นำเหง้ามาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยา โดยใช้ครั้งละประมาณ 5-10 กรัม หากใช้เป็นยารักษาภายนอก ให้นำมาบดเป็นผงหรือทำเป็นยาเม็ดตามตำรายาที่ต้องการ

ข้อควรระวังระวังในการใช้ขมิ้นอ้อน
       สำหรับผู้ที่เลือดน้อยหรือพลังหย่อนและสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานขมิ้นอ้อย[3] และมีข้อมูลที่ระบุด้วยว่าการรับประทานขมิ้นอ้อยในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ และในบางรายนั้นมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ หากใช้แล้วมีอาการดังกล่าวให้หยุดใช้ทันที (ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่ยืนยัน เพราะขาดแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขมิ้นอ้อย
1. สารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย ได้แก่ Curcumin, Curdione, Curzerene, Furanodiene, Furanodienone, Zederone, Zedoarone, แป้ง และน้ำมันระเหยประมาณ 1-1.5% เป็นต้น
2. เมื่อนำสารสกัดที่ได้จากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าในสัตว์ทดลอง จะพบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอกหรือมะเร็งปากมดลูก และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งหรือเนื้องอกไม่ให้มี
    การเติบโตหรือขยายตัวได้อีกด้วย
3. ในกรณีเมื่อนำขมิ้นอ้อยมาให้สัตว์ทดลองกินจะพบว่า ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการกระตุ้นกระเพาะและลำไส้ของสัตว์ทดลองให้เกิดการบีบตัว (คล้ายกับฤทธิ์ของขิง) ดังนั้น จึงสามารนำมาใช้
    เพื่อช่วยในการขับลม แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวดลำไส้ได้
4. น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากขมิ้นอ้อยสามารต่อต้านเชื้อ Staphylococcus หรือเชื้อในลำไส้ใหญ่ Columbacillus หรือเชื้ออหิวาต์ได้
5. ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้ถึง 11 ชนิด และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้อีก 4 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น กลาก ชันนะตุ เชื้อราที่
    ผิวหนัง ที่เล็บ ที่ซอกนิ้วเท้า
6. มีรายงานทางคลินิกที่ได้นำสารที่สกัดจากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าบริเวณปากมดลูกหรือบริเวณเส้นเลือดดำของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกที่กำลังเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน
    พบว่าเนื้องอกมีขนาดเล็กลงหรือมีอาการเกือบจะเป็นปกติ และเมื่อได้ทำการรักษาต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าในจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจำนวน 80 คน หายขาดจากโรค
    30 คน มีอาการที่ดีขึ้นมากจำนวน 30 คน และอีก 20 คนพบว่ามีอาการดีขึ้น
7. สารสกัดจากเหง้าขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์สงบประสาทโดยไปเพิ่มฤทธิ์ของ pentobarbital ต่อการนอนหลับ และลด locomotor activity ของหนูทดลองโดยอาจออกฤทธิ์ผ่าน muscarinic
    receptor และ opiate receptor ในการกดสมองส่วนกลาง

ประโยชน์ของขมิ้นอ้อย
1. นอกจากจะใช้เหง้าเป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อใช้ทำอาหารได้หลายชนิด เช่น การนำมาตำใส่แกงต่าง ๆ ร่วมกับจ๊ะไค เป็นต้น
2. สามารถนำมาใช้ในการแต่งสีเหลืองให้กับอาหารบางชนิดได้ เช่น ขนมเบื้องญวน ข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง แกงเหลือง แกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ เนย มัสตาร์ด ผักดอง เป็นต้น
    อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ในการย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีกด้วย
3. เหง้าสามารถนำมาใช้ทำแป้งโชติ ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายและเหมาะสำหรับทารก
4. ในอินโดนีเซียจะใช้ยอดอ่อนนำมารับประทานเป็นผัก
5. ในอินเดียใช้เหง้าทำเป็นเครื่องหอม
6. เหง้าใช้เคี้ยวเพื่อดับกลิ่นปากได้
7. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สวยงาม ด้วยการเหง้าขมิ้นอ้อย หัวแห้วหมู พริกไทย และกระชาก (ไม่แน่ใจว่าคืออะไร) นำมาทุบรวมกันแล้วนำมาดองด้วยน้ำผึ้ง ใช้รับประทานก่อนเข้านอนทุกคืน
8. มีข้อมูลระบุว่าขมิ้นอ้อยถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางสมุนไพร ที่นำมาใช้มาการขัดหน้า ขัดผิว ช่วยแก้สิว แก้ฝ้า ช่วยลบเลือนจุดด่างดำ แก้โรคผดผื่นคัน และทำให้ผิวพรรณดู
    ผุดผ่องงดงาม ผิวนุ่มและเรียบเนียน

คำสำคัญ : ขมิ้นอ้อย

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ขมิ้นอ้อย. สืบค้น 12 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1575&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1575&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,624

น้ำเต้า

น้ำเต้า

น้ำเต้า มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง ลำต้นมีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น ๆ ตามเถามีขนยาวสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย น้ำเต้านั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าที่ลักษณะเป็นน้ำเต้าทรงเซียน ชนิดนี้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เราจะเรียกว่า "น้ำเต้า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,733

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างและยาว แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,311

กกดอกขาว

กกดอกขาว

ลักษณะทั่วไป  เป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน เลื้อยทอดขนานไปกับพื้นผิวดิน ชูส่วนยอด และช่อดอกสูง 15-20 ซม   ลำต้น  มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มม. มีกาบหุ้มลำต้น มีระบบรากเป็นระบบรากฝอยออก ตามข้อ ของลำต้นใต้ดิน  ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียวยาว ประมาณ  5-15 ซม. ขอบใบเรียว ปลายใบแหลม ฐานใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นฐานใบมีสีน้ำตาลแดง

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,516

เห็ดหอม

เห็ดหอม

ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,847

จำปี

จำปี

จำปี (White Champaka) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกยืนต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จุ๋มปี๋ หรือจุมปี เป็นต้น อยู่ในวงศ์เดียวกับจำปี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบ้างก็ว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ หรือประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย โดยสามารถแบ่งสปีชีส์ออกได้ประมาณ 50 ชนิดเลยทีเดียว พร้อมสรรพคุณในต้นจำปีอีกมากมายที่ให้คุณประโยชน์และรักษาโรค อาการต่างๆ รวมถึงการนำมาใช้เพื่อทำสิ่งของต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้อีกมากมายเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,984

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง

ต้นข่าตาแดง จัดเป็นพรรณไม้ลงหัว เมื่อแตกขึ้นเป็นกอจะมีลักษณะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่จะมีขนาดของต้นเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย และมีขนาดโตกว่าข่าลิงเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อเอามาปลูก ใบข่าตาแดง ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่ โดยมีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบๆ ลำต้น ดอกข่าตาแดง ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย หน่อข่าตาแดง เมื่อแตกหน่อ หน่อจะเป็นสีแดงจัด ซึ่งเรียกว่า "ตาแดง" มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,795

ขนุน

ขนุน

ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,212

มะหาด

มะหาด

มะหาด ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระ สีน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก ไหลซึมแห้งติดกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่รูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน ใบอ่อนมีขอบใบหยักใบแก่ขอบเรียบหูใบเรียวแหลมดอก ช่อกลมเล็ก ๆ สีเขียว อมเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบดอกกลมมนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เปลือกนอกขรุขระ เนื้อผลนุ่ม สีเขียว แก่มีสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดรูปรี

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,503

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,098