ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้ชม 7,012

[16.4258401, 99.2157273, ว่านมหาเมฆ]

ว่านมหาเมฆ ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruginosa Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรว่านมหาเมฆ มีชื่อเรียกอื่นว่า ขมิ้นดำ ว่านขมิ้นดำ (เชียงใหม่), กระเจียวแดง, มหาเมฆ, อาวแดง, ขิงเนื้อดำ, ขิงดำ, ขิงสีน้ำเงิน, เหวินจู๋ เอ๋อจู๋ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของว่านมหาเมฆ
         ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศ 
         ใบว่านมหาเมฆ ใบจะแทงขึ้นมาจากเหง้าที่โคนใบจะมีกาบใบสีม่วงอมเขียวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 4-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-60 เซนติเมตร ตรงกลางใบจะมีสีม่วงแดง กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ไปจนถึงปลายใบ
         ดอกว่านมหาเมฆ ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าและมีกาบใบห่อหุ้มอยู่ กาบใบยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมรี กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูแดง มีประมาณ 20 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ บริเวณโคนกลีบดอกเป็นสีขาว กลีบดอกมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 1 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่มี 3 รัง
         ผลว่านมหาเมฆ ออกผลเป็นพวง ลักษณะเหมือนดอกระกำหรือดอกคำ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่สามเหลี่ยม ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกลมมีเนื้อสีขาวใสหุ้มอยู่
         หมายเหตุ : หัวว่านและเนื้อในหัวว่านมหาเมฆจะมีลักษณะคล้ายกับว่านหลายชนิด เช่น ว่านขมิ้นชัน ว่านคันทมาลา ว่านใจดำ ฯลฯ แต่จุดแตกต่างที่ชัด คือ เหง้าของว่านคันทมาลาจะมีลักษณะอวบอ้วนกว่า ข้อตามเหง้าถี่กว่า แง่งสั้นมองเห็นได้ชัด ส่วนเหง้าของว่านมหาเมฆจะมีตาสีชมพูเหมือนว่านใจดำ แต่ข้อมีสีดำและห่างกว่าว่านคันทมาลา ขณะที่ว่านใจดำข้อบนเหง้ามีสีน้ำตาล และต่างกับว่านขมิ้นชันตรงที่เนื้อในหัวแก่ของว่านขมิ้นชันจะเป็นสีเหลืองเข้ม

สรรพคุณของว่านมหาเมฆ
1. เหง้าว่านมหาเมฆมีรสขมเผ็ด เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ใช้เป็นยากระจายเลือดลม (เหง้า)
2. เหง้าใช้เข้าตำรับยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย (เหง้า)
3. เหง้าใช้เป็นยาแก้โรคธาตุพิการ ด้วยการใช้เหง้าสดมาโขลกให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว คั้นเอาแต่น้ำกิน (เหง้า)
4. ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้อาเจียน (เหง้า)
5. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหอบหืดหายใจไม่ปกติ แก้ไอ (เหง้า)
6. ใช้เป็นยาแก้ลมขึ้น แก้จุกเสียดแน่นหน้าอก ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ (เหง้า)
7. เหง้านำมาหั่นเป็นแว่นสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง โรคกระเพาะ รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ (เหง้า)
8. เหง้านำมาหั่นแล้วนำไปดองกับเหล้ากินเป็นยารักษาอาการท้องร่วงได้ดีมาก (เหง้า)
9. ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย ให้กินเหง้าสดกับน้ำสะอาดหรือน้ำสุกก่อนเข้านอน เพียง 3 วัน ตัวพยาธิในร่างกายก็จะตายหมด (เหง้า)
10. เหง้าใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากเส้นเลือดของมดลูกอุดตัน (เหง้า)
11. เหง้านำมาหั่นแล้วนำไปดองกับเหล้าหรือนำมาต้มกับน้ำกิน เป็นยาสำหรับสตรีที่คลอดลูกใหม่ ๆ อยู่เรือนไฟ เป็นยาช่วยแก้อาการปวดมดลูก มดลูกอักเสบ และช่วยชักมดลูกให้เข้าอู่เร็ว
      ขึ้น รัดมดลูก ทำให้ยุบตัวเร็ว (เหง้า)
12. ช่วยคลายและกระจายก้อนเนื้อในร่างกาย หรือซีสต์ในมดลูก (เหง้า)
13. ใช้รักษาโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรก (เหง้า)
14. ช่วยรักษาตับและม้ามโต (เหง้า)
15. เหง้าใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผลและต้านเชื้อรา (เหง้า)
16. เหง้าใช้เป็นยาประคบผิวหนังแก้อาการคัน (เหง้า)
17. ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว (เหง้า)
ขนาดและวิธีใช้ : ให้ใช้ยาแห้งครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่นได้ตามต้องการ
ข้อควรระวัง : สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีอาการเลือดลมพร่องหรือม้ามและกระเพาะหย่อน ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านมหาเมฆ
1. ในเหง้าพบน้ำมันซึ่งมีสารที่ประกอบไปด้วย Curcumenol, Curdione, Curzerenone, Germacene, Isofrtungermacrene, Zedoarone และยังพบแป้ง เป็นต้น (สารที่พบจากเหง้าของ
    ว่านมหาเมฆ คล้ายกับสารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย แต่จะไม่พบสาร Cucurmin ซึ่งเป็นสารที่ให้สีเหลืองของขมิ้นอ้อย)
2. น้ำมันจากเหง้าว่านมหาเมฆมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus inuza, Staphylococcus, เชื้ออหิวาต์ และเชื้อในลำไส้ใหญ่ได้หลายชนิด
3. สาร Curdione จากเหง้าว่านมหาเมฆมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Salmonella typhi, Klebsiella. Pneumoniae และ Stophylococcus aureus
4. เมื่อนำสารที่สกัดได้จากเหง้ามาฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลองที่เป็นโรคมะเร็งในตับ หรือเป็นเนื้อร้าย 180 พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ถ้านำสารสกัดมาให้
    หนูทดลองดังกล่าวกิน พบว่าจะไม่มีผลในการรักษา
5. เมื่อนำน้ำมันจากเหง้ามาให้คนหรือสัตว์กิน พบว่าจะมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้มีการขยับและบิดเคลื่อนไหวตัว ทำให้สามารถขับลมในกระเพาะและลำไส้ได้ อีกทั้งยังช่วยแก้
    อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได้อีกด้วย
6. สารสกัดชั้นน้ำยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 protease (IC50 : 500 mcg/ml) (Otake et al.,1995)

ประโยชน์ของว่านมหาเมฆ
1. ดอกสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารรับประทานได้ โดยนิยมนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก
2. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพรทั่วไปอย่างแพร่หลายในมาเลเซีย อินเดีย และประเทศในแถบอินโดจีนสำหรับการปลูกนั้นควรปลูกในดินร่วนปนทรายผสมดินลูกรัง
    แดง และให้วางหัวว่านโผล่พ้นดินขึ้นมาเล็กน้อย ว่านชนิดนี้ชอบแสงแดด จึงควรนำมาปลูกในที่กลางแจ้ง
3. ในด้านของความเชื่อ มีความเชื่อกันว่าหากเกิดจันทรุปราคา ให้นำหัวว่านมหาเมฆมาปลุกเสกด้วยคาถา (เสกจนพระจันทร์มืดมิด) แล้วนำหัวว่านมาทาบตัว จะทำให้ผู้อื่นมองไม่เห็นตัวเรา
    และหากปรารถนาสิ่งใดก็จะสมดั่งปรารถนา หรือหากนำมารับประทานก็จะเป็นคงกระพันชาตรี

คำสำคัญ : ว่านมหาเมฆ

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ว่านมหาเมฆ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1610&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1610&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 35,393

ฟักทอง

ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น ฟักทองยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะฟักทองมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรีและไขมันน้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพียงแค่รับประทานฟักทองหนึ่งถ้วยหรือ 3 กรัม จะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,714

มะเขือดง

มะเขือดง

ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,720

เข็มป่า

เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร  ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว  ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว   ผลมีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว  เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป  ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร  เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,116

โมกมัน

โมกมัน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เปลือกสีขาวหรือเทาอ่อน อ่อนนิ่ม คล้ายจุกไม้ค็อร์ค  ใบมน ปลายยาวเรียว โคนแหลม  ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานภายนอกมีสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง ใกล้ร่วงเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง  ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ เมล็ดคล้ายเมล็ดโมกหลวง  ขึ้นตามป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,077

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,831

มะกอก

มะกอก

ต้นมะกอก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ ตามเปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 19,782

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,564

โมกหลวง

โมกหลวง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย  ผลมีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,270

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 10,473