มะเขือยาว

มะเขือยาว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 5,364

[16.4258401, 99.2157273, มะเขือยาว]

มะเขือยาว ชื่อสามัญ Eggplant

มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

มะเขือยาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก เมื่อพูดถึงมะเขือยาวหลาย ๆ คนคงรู้ดีว่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารได้ แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าประโยชน์ของมะเขือยาวคืออะไร ? มันมีด้วยเหรอ ? วันนี้เรามาดูสรรพคุณของมะเขือยาวกันดีกว่าครับว่ามันมีอะไรบ้าง

มะเขือยาวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่าง ๆ สำหรับมะเขือยาวสีม่วงนั้นจะมีวิตามินพีมากเป็นพิเศษโดยทั่วไปในมะเขือยาวผิวสีม่วงจะมีวิตามินพีในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือโรคลักปิดลักเปิด ควรจะรับประทานมะเขือยาวเป็นประจำ เพราะจะทำให้อาการของโรคดังกล่าวทุเลาลงหรือหายได้

มะเขือยาว มีความสามารถในการดูดซับน้ำมัน จึงคาดว่าน่าจะช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้ ด้วยความจริงนี้เองหากจะรับประทานด้วยวิธีการทอดก็จะทำให้มะเขือยาวดูดซับน้ำมันเอาไว้ จึงควรใช้วิธีอบแทน

สรรพคุณของมะเขือยาว

  1. มีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  2. ช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้
  3. มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติ
  4. ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
  5. แคลเซียมจากมะเขือยาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  6. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  7. มีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง พัฒนาด้านความจำ
  8. ใช้เป็นยาแก้ปวด ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการปวด
  9. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากิน
  10. ใช้แก้อาการปวดฟัน ฟันผุ ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็น
  11. ใช้รักษาแผลในช่องปาก ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นแผล
  12. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติและสะดวก
  13. ใช้รักษาโรคบิดเรื้อรัง ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นและรากแห้งประมาณ 10 กรัม มาต้มเอาน้ำกิน หรือใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6-10 กรัม หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการอุจจาระเป็นเลือด หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากินก็ได้เช่นกัน
  14. แก้อาการตกเลือดในลำไส้ ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6-10 กรัม หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการก็ได้ หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากินก็ได้เช่นกัน
  15. ช่วยแก้ปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงกินประมาณ 6-10 กรัม
  16. ช่วยรักษาโรคหนองใน ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงกินประมาณ 6-10 กรัม
  17. ใช้รักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน
  18. รักษาแผลเท้าเปื่อยอักเสบ ด้วยการใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำจนละเอียด คั้นเอาน้ำแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
  19. รักษาแผลที่เกิดจากพยาธิปากขอเจาะไชเท้า ด้วยการใช้ใบต้มกับน้ำล้างบริเวณที่เป็นแผล
  20. ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคันตามผิว ด้วยการใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็น
  21. รักษาผิวหนังเป็นปื้นขาวหรือแดง ด้วยการใช้ขั้วผลที่แห้งแล้วนำมาคลุกผสมกับกำมะถัน จากนั้นก็บดให้ละเอียดแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นปื้น
  22. ช่วยรักษาฝี ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นฝี หรือถ้าเป็นฝีหลายหัวบริเวณหลังแต่หนองยังไม่แตก ให้นำใบสดมาตำจนละเอียดแล้วผสมกับน้ำส้มสายชูสีดำ นำมาต้มแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี
  23. ใช้ล้างแผลหรือนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนองหรือแผลที่เกิดจากการถูกความเย็น ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาน้ำแล้วนำมาล้างแผลหรือพอกบริเวณที่เป็นหนอง
  24. รักษาอาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกของผู้หญิง ให้ใช้ผลแก่จัดนำมาตากในร่มจนแห้ง แล้วนำไปเผาจนเป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วใช้ทาบริเวณที่เจ็บ

คำสำคัญ : มะเขือยาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือยาว. สืบค้น 19 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1703&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1703&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,269

ผักโขม

ผักโขม

ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth)  มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,560

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ผักพื้นบ้านของดีที่ถูกลืม

ประเทศไทยเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมาย พืชผักที่ปลูกกันในปัจจุบัน มีทั้งผักที่เป็นของไทยดั้งเดิม และผักที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว เป็นต้น ผักเหล่านี้ได้ปลูกมานานจนคนรุ่นใหม่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นผักของไทย และนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ได้มองข้ามคุณค่าของผักพื้นบ้านดั้งเดิมไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ผักเหล่านี้มีแมลงศัตรูพืชรบกวนมาก ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่สูง ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทำลายระบบนิเวศน์วิทยา และสิ้นเปลืองงบประมาณในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,227

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 9,494

ผักแว่น

ผักแว่น

ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,898

กระทือ

กระทือ

ต้นกระทือไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน แตกแขนงเป็นกอ เปลือกเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม จะแทงหน่อใหม่ช่วงฤดูฝน ใบกระทือใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวนวล ก้านใบสั้นมาก ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบเรียงตัวกันแน่น หุ้มเป็นลำต้นเทียม ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 14-45 เซนติเมตร ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกทรงกระบอก ปลายมน ใบประดับสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,167

แคดอกขาว

แคดอกขาว

แคดอกขาว (Cork Wood Tree หรือ Sesbania Grandiflora) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกดอกแคบ้าน, ต้นแค หรือแค ส่วนกรุงเทพฯและเชียงใหม่เรียกแคขาว เป็นต้น แคดอกขาวเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออินเดีย เป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินจำนวนมากซึ่งช่วยในการต่อต้านและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย จึงทำให้แคดอกขาวเป็นที่นิยมกัน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 7,671

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ผักเป็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้มากในภาคกลาง โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ที่มีลำต้นตั้งตรงหรืออาจเลื้อยก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่อยู่ ตามข้อของลำต้นจะมีราก ระหว่างข้อต่อมีร่องและมีขนปกคลุมเล็กน้อย ลำต้นมีทั้งสีแดงและสีขาวอมเขียว โดยต้นผักเป็ดนี้จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในทุกสภาพของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินแห้งหรือดินแฉะ โดยมักจะพบได้ตามที่รกร้างทั่วไปหรือตามที่ชื้นข้างทาง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 14,812

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,311

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ

หากเอ่ยถึงเจ้าแห่งสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของชาวจีน แน่นอนว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเห็ดหลินจือ (Lingzhi) ซึ่งเห็ดหลินจือนี้ถือเป็นสมุนไพรของจีนที่มีใช้เป็นสรรพคุณทางยามานานถึงกว่าสองพันปีเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นสมุนไพรหายากอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าในการรักษาโรคต่างๆ ได้สูง โดยเห็ดชนิดนี้มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีการแบ่งออกไปตามสีและคุณค่าของเห็ด แถมยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลของชาวจีนอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,236