สาบแร้งสาบกา
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 12,080
[16.4258401, 99.2157273, สาบแร้งสาบกา]
สาบแร้งสาบกา ชื่อสามัญ Goat Weed
สาบแร้งสาบกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ageratum conyzoides (L.) L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ageratum obtusifolium Lam., Cacalia mentrasto Vell. Conc.) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
สมุนไพรสาบแร้งสาบกา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่), หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี), ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี) เทียมแม่ฮาง (เลย), เซ้งอั่งโซว (จีนแต้จิ๋ว), เซิ่งหงจี้ (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของสาบแร้งสาบกา
- ต้นสาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง
- ใบสาบแร้งสาบกา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ส่วนยอดของใบจะเรียงสลับกัน ก้านใบยาวประมาณ 7-26 มิลลิเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปกลมมนรี ปลายใบแหลม โคนใบกลมมนหรือเว้าเข้าหากันเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวและมีขนสั้น ๆ อ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน
- ดอกสาบแร้งสาบกา ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและบริเวณส่วนยอดของลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร และดอกย่อยอยู่อัดตัวกันแน่นเป็นจำนวนมาก ดอกเป็นสีฟ้า สีม่วงน้ำเงิน หรือสีขาว กลีบดอกมีขนาดเล็กเป็นหลอดเส้นๆ ปลายแหลม เรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น หลังกลีบดอกมีขนเล็กน้อย ส่วนปลายมีรอยแยกเป็น 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ที่ใจกลางดอก
- ผลสาบแร้งสาบกา ผลมีขนาดเล็กสีดำ ลักษณะของผลเป็นรูปคล้ายทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น มีร่อง 5 ร่อง
สรรพคุณของสาบแร้งสาบกา
- ทั้งต้นมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้หวัดตัวร้อน ให้ใช้ต้นสดประมาณ 70 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ต้น) ส่วนอีกวิธีใช้รักษาไข้หวัด ด้วยการใช้ใบสาบแร้งสาบกาสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ส่วนรากและทั้งต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้เช่นกัน (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
- ช่วยขับเสมหะ (ทั้งต้น)
- ใบนำมาคั้นเอาน้ำดื่ม ช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
- ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และมูเซอ จะใช้รากและใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ รวมทั้งเป็นยาแก้ไข้ด้วย (รากและใบ)[3]
- น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาเจ็บ (ใบ)
- ใช้รักษาหูชั้นกลางอักเสบ ด้วยการใช้ยอดสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้หยอดหู (ใบ) แก้หูน้ำหนวก (ทั้งต้น)
- หากปากเป็นแผล ให้ใช้ใบสด 120 กรัม และกากเมล็ดชา 15 กรัม นำมาผสมกันแล้วตำพอก (ใบ)
- ใช้เป็นยาแก้คอเจ็บ คออักเสบปวดบวม ต่อมทอนซิลอักเสบ ทางเดินหายใจติดเชื้อ (ทั้งต้น), ตำรายารักษาคออักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาล้างให้สะอาด แล้วคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลกรวด ใช้รับประทานวันละ 3 ครั้ง (ใบ)
- สาบแร้งสาบกาทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลม (ทั้งต้น)
- ใบใช้ทาภายนอก ช่วยแก้อาการท้องขึ้นอืดเฟ้อ (ใบ)
- ตำรับยาแก้ปวดกระเพาะ ปวดท้อง กระเพาะลำไส้อักเสบ จุกเสียดแน่นท้อง ให้ใช้ยาแห้งนำมาคั่วให้เหลือง แล้วบดให้เป็นผง ใช้ครั้งละ 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น)
- ส่วนชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และมูเซอ จะใช้รากและใบนำมาเคี้ยวกินหรือต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษ อาหารไม่ย่อย รวมถึงโรคกระเพาะอาหาร (รากและใบ)
- ใช้เป็นยาแก้บิด (ทั้งต้น)
- รากใช้เป็นยายับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่ว (ราก)
- ใช้เป็นยาขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ช่องท้องทวารหนักหย่อนยาน (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้สตรีตกเลือด (ทั้งต้น)
- ใช้รักษาแผลฟกช้ำ แผลสด แผลถลอก มีเลือดออก ใช้เป็นยาห้ามเลือด ด้วยการใช้ยอดและใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
- ใช้รักษาแผลเรื้อรังที่เนื้อเยื่อเมือกบวมอักเสบ ด้วยการนำใบสดและยอดมาล้างน้ำให้สะอาด ผสมกับเกลือและข้าวหมัก ตำให้เข้ากัน ใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
- รากและใบใช้ตำพอกและคั้นเอาน้ำเป็นยาแก้อาการอักเสบจากพิษงู ตะขาบ แมงป่อง หรือแมลง (รากและใบ)
- ใบใช้ตำพอกแก้อาการคัน ผดผื่นคัน (ใบ, ทั้งต้น)
- ใช้รักษาแผลเรื้อรังมีหนอง ฝี ด้วยการใช้ใบสดนำมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย แล้วตำพอกบริเวณที่เป็น (ใบ) ส่วนวิธีใช้รักษาฝีหนองภายนอกอีกวิธี ให้ใช้ต้นสาบแร้งสาบกาสด, ต้นแบเกาจี้, จุ๋ยฉังฉิก นำมารวมกัน ใช้ตำพอกแผลที่เป็น โดยให้เปลี่ยนยาที่พอกวันละ 1 ครั้ง (ต้น)
- ช่วยรักษาตาปลาอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 120 กรัม และกากเมล็ดชา 15 กรัม นำมาผสมกันแล้วตำพอก (ใบ)
- ใบใช้ทาภายนอกเป็นยาแก้อาการปวดบวม (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำรับประทาน หรือใช้ตำพอกรักษาแผลภายนอก ส่วนยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ถ้านำมาใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผง ใช้โรยแผลตามต้องการ
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสาบแร้งสาบกา
- ทั้งต้นพบสารจำพวกน้ำมันระเหย Ageratochromene, มีกรดอินทรีย์, กรดอะมิโน, โพแทสเซียมคลอไรด์, อัลคาลอยด์, ฟลาโวนอยด์, coumarin, β-Sitosterol, friedelin, stigmasterol
- สารสกัดจากทั้งต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Staphylococcus aureus
- จากการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์และน้ำต้มจากทั้งต้นหรือรากมีฤทธิ์ระงับอาการปวด โดยมีความรุนแรงเท่ากับมอร์ฟีน แต่ควรมีการศึกษาวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : สาบแร้งสาบกา
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สาบแร้งสาบกา. สืบค้น 27 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1791&code_db=610010&code_type=01
Google search
ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,666
ว่านไพลดำ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 5 เมตร เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อภายในเหง้าเป็นสีม่วง สีม่วงจางๆ หรือสีม่วงอมน้ำตาล มีกลิ่นฉุนร้อนคล้ายไพล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ต้องใช้ดินที่มีสีดำในการปลูก (ถ้าเป็นสีอื่นปลูกจะทำให้ต้นตาย เพราะว่านชนิดนี้เจริญงอกงามได้ในดินสีดำเท่านั้น) พบขึ้นได้ตามป่าเขตร้อนชื้น
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,203
หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,950
เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,556
ลักษณะต้นขี้เหล็กเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบรวมซึ่งประกอบด้วยใบอ่อนประมาณื20 ใบ ลักษณะใบจะดกหนาทึบ คล้ายใบทรงบาดาล หรือใบของชุมเห็ดไทย จะออกเป็นช่อสีเหลืองดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองสวย ผลมีลักษณะแบนอวบและยาวประมาณ 15 ซ.ม. คล้ายกับฝักแค นิเวศวิทยา เป็นพรรณไม้พบอยู่ทั่วไปของประเทศไทย นิยมปลูกเป็นไม้ร่มตามริมถนน ออกดอกตลอดปี
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,962
ดองดึง (Superb Lily, Turk’s cap, Climbing Lily) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหัว ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก พันมหา, หัวขวาน, หัวฟาน หรือดาวดึง ซึ่งต้นดองดึงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาเขตร้อนและเอเชียเขตร้อน รวมทั้งในประเทศไทยของเราด้วย โดยต้นดองดึงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่า ที่โล่ง หรือดินปนทราย ส่วนใหญ่มักจะนิยมนำต้นดองดึงมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่ง และนำไปทำเป็นยาสมุนไพร รวมถึงใช้ในการรักษามะเร็งได้ด้วย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,804
ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 5,147
ต้นกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียวใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกกกลังกา ออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,335
หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,419
ผักชีลาว เป็นผักที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หลาย ๆ คนชื่นชอบ แต่สำหรับบางคนถึงกับส่ายหัวเลยทีเดียว แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ ผักชีลาวก็เป็นพืชผักสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากมาย เพราะคุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้ผักชีลาวยังมีสรรพคุณทางยามากมายที่ช่วยเพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารที่รับประทาน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด และช่วยกระตุ้นการหายใจได้อีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 3,216