ทองพันชั่ง
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 11,506
[16.4258401, 99.2157273, ทองพันชั่ง]
ทองพันชั่ง ชื่อสามัญ White crane flower
ทองพันชั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus communis Nees) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
สมุนไพรทองพันชั่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ท่องคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และมาดากัสการ์
ลักษณะของทองพันชั่ง
ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม
ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ
ดอกทองพันชั่ง ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบมีขนยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้น ๆ ส่วนกลีบล่างแผ่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก ส่วนก้านเกสรจะสั้นติดอยู่ที่ปากท่อดอก
ผลทองพันชั่ง ลักษณะผลเป็นฝักและมีขน ภายในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด
สมุนไพรทองพันชั่ง เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เชื้อราบนผิวหนังเป็นหลัก ซึ่งส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นก็ได้แก่ ต้น ใบสด รากสดหรือแห้ง และทั้ง 5 ส่วนของต้น (ต้น, ดอก, ใบ, ก้าน, ราก) และทองพันชั่งยังสามารถช่วยรักษาอาการอื่น ๆ และโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ไปดูกันเลยครับ
สรรพคุณของทองพันชั่ง
1. ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น)
2. ช่วยแก้โรค 108 ประการ (ต้น)
3. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ)
4. ช่วยรักษาวัณโรคปอดในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาผสมกับน้ำตาลกรวดต้มเป็นน้ำดื่ม (ก้าน, ใบ)
5. ช่วยแก้ลมสาร (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
6. ใช้เป็นยาหยอดตา (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
7. ใบรสเบื่อเมาช่วยดับพิษไข้ หรือจะใช้รากนำมาต้มรับประทานแก้พิษไข้ก็ได้ (ใบ, ราก)
8. ช่วยแก้ไข้เหนือ (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
9. ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ใบ)
10. ช่วยแก้อาการช้ำใน (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
11. ช่วยทำให้ระบบกระเพาะอาหารทำงานได้ดีมากขึ้น (ใบ)
12. ช่วยแก้อาการจุกเสียด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
13. ช่วยแก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม (ทั้งต้น)
14. ช่วยแก้ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ช่วยรักษาโรคนิ่ว ด้วยการใช้ทองพันชั่งทั้งต้น ดอก ใบ ก้าน และราก นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ต้มเป็นน้ำดื่ม
(ทั้งต้น)
15. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)
16. ช่วยแก้โรคมุตกิดระดูขาวของสตรี (ใบ)
17. ใช้รักษาโรคตับอักเสบ (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
18. ช่วยฆ่าพยาธิ (ใบ)
19. ช่วยขับพยาธิตามผิวหนัง ช่วยแก้พยาธิวงแหวนตามผิวหนัง ตามบาดแผล (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
20. ช่วยแก้อาการปวดฝี (ใบ)
21. ช่วยแก้พิษงู (ใบ, ราก)
22. ช่วยถอนพิษ (ใบ)
23. ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
24. ช่วยรักษาคุดทะราด (ทั้งต้น)
25. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก, ทั้งต้น)
26. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)
27. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด มือเคล็ด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
28. ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
29. ช่วยต้านยีสต์ โดยสาร Rhinacanthin C, D และ N จากใบทองพันชั่งสามารถช่วยยับยั้งเชื้อ Candida albicans ได้ (ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์) (ใบ)
30. ช่วยรักษาโรคผมร่วง (ต้น)
31. ช่วยแก้อาการผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา (ราก)
32. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน ผดผื่นคันเรื้อรัง ซึ่งในปัจจุบันมีการนำทองพันชั่งไปผลิตเป็นโทนเนอร์ทองพันชั่ง เพื่อความสะดวกในการหาซื้อและการนำมาใช้
งาน (ใบ, ราก, ทั้งต้น) สำหรับวิธีการใช้ก็มีหลากหลายสูตร คือ
- ใช้ใบสด 5-8 ใบ นำมาตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงผสมเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน (ใบสด)
- ใช้ใบสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดิบ หรือแอลกอฮอล์ 75% แล้วนำมาบริเวณที่เป็นวันละ 1 ครั้งประมาณ 3 วันจนกว่าจะหายขาด (ใบสด)
- ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาป่นแช่กับเหล้าไว้นาน 1 สัปดาห์ แล้วกรองเอาแต่น้ำยาที่แช่มาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย (รากสด)
- ใช้รากทองพันชั่งนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะนาวและน้ำมะขาม แล้วนำมาชโลมทาบริเวณที่เป็น (ราก)
- ใช้รากทองพันชั่งประมาณ 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟ 1/2 กล่อง นำมาตำจนเข้ากันให้ละเอียด แล้วผสมน้ำมันใส่ผมหรือจะผสมกับวาสลีนเพื่อไม่ให้ยาแห้ง แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนังเป็นประจำ (ราก)
33. ทองพันชั่งรักษามะเร็งช่วยยับยั้งมะเร็ง มะเร็งในกระเพาะ มะเร็งในคอ มะเร็งในปาก มะเร็งในปอด มะเร็งภายในและภายนอก ต้นทองพันชั่งมีสารสำคัญคือ "สารแนพโทค
วิโนนเอสเทอร์" (Naphthoquinone Ester) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีการออกฤทธิ์ในการช่วงยับยั้งมะเร็งเยื่อบุช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก ด้วยการใช้ทั้งต้นสด
ประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำพอท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
34. มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ใช้ต้นทองพันชั่งนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้น ช่วยทำให้น้ำเหลืองดีขึ้น เม็ดตุ่มตามตัวน้อยลง รับประทานข้าวได้มากขึ้น แต่ก็ยัง
ไม่มีข้อมูลอ้างอิงและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ (ต้น)
สรรพคุณทองพันชั่งเมื่อใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
1. รากและต้นทองพันชั่ง เมื่อใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นจะช่วยยับยั้งมะเร็งเนื้องอก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ส่วนใบจะใช้ยับยั้งมะเร็งไช (ราก, ต้น)
2. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบทองพันชั่ง ใบชุมเห็ดไทย ไทยร่อน เมล็ดพริก ต้นเหงือกปลาหมอ นำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยา
ลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้รับประทานหลังอาหารเช้า, เย็น ครั้งละ 5 เม็ด เป็นเวลา 1 เดือนจะช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ (ใบ)
3. ช่วยแก้โรคไต โรคมะเร็ง ด้วยการใช้ใบทองพันชั่งดอกเหลืองและใบเลี่ยน นำมาตากแดดจนแห้งแล้วนำไปคั่วให้หอม ใช้ชงเป็นน้ำชาไว้ดื่มเพื่อรักษาโรค (ใบ)
4. ช่วยแก้กระษัย (ราก)
5. ช่วยแก้อาการใจระส่ำระสาย แก้อาการคลุ้มคลั่ง (ใบ)
6. ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน (ใบ)
7. แก้อาการไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด (ราก)
8. รักษาโรครูมาติซึม (ราก)
9. รักษาโรคตับพิการ (ราก)
10. รักษาโรคไขข้อพิการ (ราก)
11. แก้ลมเข้าข้อที่ทำให้มีอาการปวดบวมต่าง ๆ (ราก)
12. ช่วยแก้หิดมะตอย (ใบ)
13. ช่วยทำให้ผมดกดำ แก้ผมหงอก ผมร่วง จึงมีการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แชมพูทองพันชั่ง (ราก)
14. ช่วยแก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค (ใบ, ราก, ต้น)
ข้อควรระวัง : สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหืด โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งในเลือด โรคความดันโลหิตต่ำ ไม่ควรรับประทานสมุนไพรทองพันชั่ง
ประโยชน์ของทองพันชั่ง
1. นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วๆ ไป (ต้น)
คำสำคัญ : ทองพันชั่ง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ทองพันชั่ง. สืบค้น 12 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1637&code_db=610010&code_type=01
Google search
บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 15,968
ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาวๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,301
ดาวเรือง (African Marigold) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก คำปู้จู้หลวง ส่วนกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก พอทู เป็นต้น ซึ่งดอกดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยในประเทศไทยของเรานั้นจะนิยมใช้ดอกดาวเรืองพันธุ์ซอเวอร์เรนมาใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เนื่องจากมีดอกที่ใหญ่ดูสวย โดยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลักจะได้ต้นใหญ่สวย หรือจะปักชำก็ได้แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเพราะระบายน้ำได้ดี
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,857
สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี มีความยาวประมาณ 9 เมตร เถามีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในเถากลวง แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นทรงพุ่ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด (แต่การปักชำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด) โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีสวยในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากทางป่าแถบภูเขา
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,178
มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Siphonodon celastrineus เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลืองผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,378
ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 16,540
เอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,903
ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,565
พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา และภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 31,111
ว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 35,692