เขยตาย

เขยตาย

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 7,842

[16.4258401, 99.2157273, เขยตาย]

เขยตาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Glycosmis arborea (Roxb.) DC.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)
สมุนไพรเขยตาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ส้มชื่น ศรีชมชื่น น้ำข้าวต้น พิษนาคราช พุทธรักษา (สุโขทัย), ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพฯ), กระรอกน้ำ กระรอกน้ำข้าว (ชลบุรี), มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์), เขนทะ ส้มชื่น (ภาคเหนือ), ส้มชื่น (ภาคอีสาน), กระโรกน้ำข้าว เขยตายแม่ยายชักลาก ลูกเขยตาย น้ำข้าว (ภาคกลาง), เขยตายแม่ยายชักปรก ลูกเขยตาย ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ ต้มชมชื่น น้ำข้าว โรคน้ำเข้า หญ้ายาง (ภาคใต้), ชมชื่น เขยตายแม่ยายปรก ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ ตาระเป (บางภาคเรียก), ต้นเขยตาย (ตามตำรายาเรียก) เป็นต้น
ข้อควรรู้ : เหตุที่ได้ชื่อว่า "เขยตาย" นั้น สืบเนื่องมาจากมีตำนานเล่าว่า ลูกเขยกับแม่ยายไปทำไร่บนเขาด้วยกัน ขากลับลูกเขยถูกงูกัดตาย แม่ยายจึงตัดต้นไม้มาคลุมร่างเอาไว้กันอุจาด แล้วจึงไปตามคนในหมู่ เมื่อกลับไปที่เกิดเหตุก็พบว่าลูกเขยฟื้นขึ้นมาแล้ว เนื่องจากต้นไม้ที่แม่ยายชักปรกไว้นั้น มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษ

ลักษณะของเขยตาย
       ต้นเขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน
      ใบเขยตาย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม มีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมถึงกลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบหรือมีรอยจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม หลังใบเรียบลื่นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า ใบด้านบน ๆ จะมีสีแดงที่ฐาน
       ดอกเขยตาย ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 12-15 ดอก ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาว มี 5 กลีบ ขนาด 4-5 x 2-2.5 มิลลิเมตร เรียงซ้อนกันเป็นวง ผิวมีต่อมจุด รูปไข่กลับ ส่วนกลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร รูปแหลมกึ่งรูปไข่ มีขนอ่อนที่ส่วนปลาย มีใบประดับหุ้ม โดยชั้นบนจะมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็ก ๆ หลายอัน มีต่อมซึ่งเป็นร่อง ส่วนก้านชูดอกสั้นมาก เกสรเพศเมียออกเรียงเป็นวง ตรงกลางแกนดอกมีเกสรเพศผู้เป็นแท่ง ส่วนรังไข่มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร เป็นรูปไข่ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
       ผลเขยตาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.18 เซนติเมตร ปลายผลแหลม ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม เป็นลาย ติดผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคม

สรรพคุณของเขยตาย
1. ใบใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน (ใบ)
2. รากมีรสเมาขื่นปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้กาฬ ไข้รากสาด และเป็นยาลดไข้ (ราก)
3. รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้ไข้ (ราก, ใบ)
4. รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคบิดท้องเดิน (ราก, ใบ)
5. ในบังกลาเทศจะใช้น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำตาล ใช้กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ (ใบ)
6. เนื้อไม้ เปลือกต้น และราก มีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนม (เนื้อไม้, เปลือกต้น, ราก)
7. น้ำคั้นจากใบใช้ผสมกับน้ำตาลกินตอนท้องว่างเป็นยาแก้โรคตับ (ใบ)
8. เปลือกต้นมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้ฝีทั้งภายในและภายนอก (เนื้อไม้, เปลือกต้น)
9. รากใช้ฝนทาแก้โรคผิวหนังพุพอง ทาแผลที่อักเสบ (ราก)
10. ใบนำมาบดผสมกับขิง ใช้รักษาผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพุพอง หรือคันอักเสบ (ใบ)
11. รากใช้เป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษฝีทั้งภายในและภายนอก ใช้ฝนกับน้ำกินและทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น พิษงู (จากงูที่มีพิษไม่รุนแรง) พิษตะขาบกัด พิษปลาดุกแทง ปลาแขยง
      ปักมือ ฯลฯ หรือจะนำรากมาตำใส่น้ำมะนาวหรือเหล้าพอกทิ้งไว้สักครู่ก็ได้ อาการก็จะหาย (ราก)[1],[2],[4]หรือใช้เปลือกต้นเป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่าง ๆ แก้พิษ
      ไข้ (เปลือกต้น)
12. ใบนำมาขยี้หรือบดผสมกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์หรือน้ำมะนาว ใช้เป็นยาทารักษางูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา ลมพิษ (ใบ)
13. ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม เกลื่อนฝีให้ยุบ ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด (ราก)
14. ดอกและผลมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้หิด (ดอกและผล)
ข้อควรระวัง : ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเขยตาย
1. ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ
2. รากเขยตายมีสารอัลคาลอย์ carbazole alkaloids ได้แก่ glycozolicine, 3-formylcarbazole, glycosinine, glycozoline, glycozolidine, gamma-fagarine, dictamine,
    skimmianine
3. ใบเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborine, arborinine, glycosine, glycosminine, glycosamine, glycorine, glycosmicine , gamma-fagarine สารกลุ่มไตรเทอร์ปีน เช่น arbinol,
    arborinone, isoarbinol สารสเตียรอยด์ β-sitosterol, stigmasterol
4. ดอกเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborine, arbornine, glycorine, glycophymine, glycophymoline, glycosmicine, glycomide, skimmianine

ประโยชน์ของเขยตาย
1. ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน
2. ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ
3. เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร

คำสำคัญ : เขยตาย

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เขยตาย. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1581&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1581&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เข็มป่า

เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร  ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว  ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว   ผลมีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว  เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป  ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร  เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,114

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน โดยขึ้นฉ่ายเป็นชื่อผักที่มาจากภาษาจีน หรือที่คนไทยเรียกว่า ผักข้าวปีน, ผักปืน, ผักปิ๋ม เป็นต้น ผักขึ้นฉ่าย มีอยู่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นจะอวบใหญ่มาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นขาวใบเหลืองอมเขียว และอีกสายพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายจีน หรือ "Chinese celery" ซึ่งจะมีขนาดของลำต้นที่เล็กกว่า มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และใบค่อนข้างแก่ ส่วนสรรพคุณก็จะคล้ายๆ กัน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 11,091

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง

ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง

  • ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 1,867

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว (Cow Pea, Chinese Long Bean) เป็นพืชผักสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก ถั่วนา, ถั่วขาว หรือถั่วฝักยาว ส่วนภาคเหนือเรียก ถั่วหลา, ถั่วปี หรือถั่วดอก เป็นต้น ซึ่งถั่วฝักยาวนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เรียกว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่ชาวเอเชียเรานิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันเป็นอย่างมากชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ และในถั่วฝักยาวนี้ก็ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราหลากหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, โฟเลต, แมงกานีส ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 8,095

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,561

คันทรง

คันทรง

ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,654

ผักคะน้า

ผักคะน้า

คะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 11,572

พุทธรักษา

พุทธรักษา

พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา และภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 29,973

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,387

ไข่เน่า

ไข่เน่า

ต้นไข่เน่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร ผิวลำต้นเกลี้ยงเป็นสีหม่นและมีด่างเป็นดวงสีขาวๆ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเปลือกมีสีเทาหรือสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ลักษณะผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด หรือเป็นร่องตื้นตามความยาวของลำต้น ส่วนกิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนนุ่ม กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปีหลังการปลูก

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,016