พุดจีบ

พุดจีบ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 6,212

[16.4258401, 99.2157273, พุดจีบ]

พุดจีบ ชื่อสามัญ Crepe jasmine, Clavel De La India, East Indian rosebay, Pinwheel flower

พุดจีบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabernaemontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)

สมุนไพรพุดจีบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พุดป่า (ลำปาง), พุดซ้อน พุดลา พุดสา พุดสวน (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของพุดจีบ

  • ต้นพุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็ก ๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง
  • ใบพุดจีบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร หลังใบเรียบลื่นเป็นมันและเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบและเป็นสีอ่อนกว่า
  • ดอกพุดจีบ ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามซอกใบ โดยจะออกดอกตามซอกใบใกล้กับปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อละประมาณ 2-3 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ส่วนปลายแยกเป็นแฉก 5-10 แฉก และมีลักษณะเป็นคลื่นหมุนเวียนซ้อนกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นแฉกเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี 
  • ผลพุดจีบ ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นฝักคู่ติดกัน ลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ฝักมีลักษณะโค้งยาว 2.5-5 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม ขอบฝักเป็นสันนูน เนื้อผลเป็นสีแดง เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็นแนวเดียว ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ด 

สรรรพคุณของพุดจีบ

  1. รากมีรสเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก)
  2. กิ่งช่วยลดความดันโลหิต ด้วยการใช้กิ่ง 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (กิ่ง)
  3. เนื้อไม้มีรสเฝื่อน เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาช่วยลดไข้ ลดพิษไข้ (เนื้อไม้)
  4. ใบมีรสเฝื่อน นำมาตำกับน้ำตาลชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)
  5. รากนำมาเคี้ยวช่วยแก้อาการปวดฟัน (ราก)
  6. รากเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
  7. รากเป็นยาถ่าย (ราก)
  8. ต้นมีรสเฝื่อน นำมาคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ (ต้น) ส่วนรากก็เป็นยาขับพยาธิเช่นกัน (ราก)
  9. ดอกมีรสเฝื่อน คั้นเอาแต่น้ำทาแก้โรคผิวหนัง (ดอก)
  10. รากเอามาฝนแล้วนำมาใช้ทาผิวบริเวณที่เป็นตุ่ม จะช่วยทำให้ตุ่มยุบเร็วขึ้น (ราก) นอกจากนี้ในส่วนของรากยังมีข้อมูลที่ระบุด้วยว่ารากกับหัวมีรสขม ในทางอายุรเวทของอินเดียจะใช้เป็นยาแก้หิด แก้พยาธิไส้เดือน เพียงแต่ผู้เขียนยังหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมายืนยันไม่ได้
  11. รากช่วยระงับอาการปวด (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพุดจีบ

  • สารสำคัญที่พบได้แก่ amyrin, ajmalicine, tryptamine, kaempferol, pericalline, voacamine, vasharine
  • มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา แก้อาการปวด ยับยั้งการหดเกร็งของมดลูกและลำไส้
  • สารสกัดจากต้นพุดจีบมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเตอเรสได้สูง (เอนไซม์ชนิดนี้จะฤทธิ์ไปทำลายสารอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ทำให้ลดน้อยลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อม) จึงทำให้สารอะเซทิลโคลีนในระบบประสาทส่วนกลางคงเหลืออยู่มาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นและในระยะปานกลาง
  • เปลือก ต้น และรากมีสารอัลคาลอยด์ Coronarine
  • เมื่อปี ค.ศ. 2002 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองผลของสารสกัดพุดจีบในหนูทดลอง พบว่าสามารถช่วยยับยั้ง HMG Co A reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยไขมันในตับอ่อนได้ และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้
  • เมื่อปี ค.ศ. 2005 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองสารสกัดพุดจีบกับสมุนไพรอีกหลายชนิด ทำเป็นรูปแบบแคปซูล ซึ่งยาผสมดังกล่าวมีผลในการรักษาโรคหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง และภาวะเส้นเลือดอุดตัน โดยยาดังกล่าวมีส่วนผสม 1-10% พุดจีบ, 1-10% โกโก้, 1-10% บัวหลวง, 1-10% ข้าวโพด, 1-10% Cyperus rotundu แล้วนำยาดังกล่าวมาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง พบว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2005 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาผลของสาร Crocin และ Crocetin ที่สกัดได้โดยใช้น้ำสกัด พบว่าสามารถช่วยยับยั้ง Pancreatic lipase เอนไซม์ในตับอ่อนของหนูทดลองที่ถูกทำให้อ้วนด้วยอาหารไขมันและคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าหนูทดลองดังกล่าวมีระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2006 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองใช้สารสกัดในหนูทดลอง โดยให้สารสกัดในขนาด 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในหนูทดลองที่ถูกให้อาหารที่มีไขมันสูงจนอ้วน โดยให้ corn oil 1 กรัมต่อกิโลกรัม ผลการทดลองพบว่าสารสกัดของพุดจีบมีผลต้านอนุมูลอิสระและ Lipid peroxidation ทำให้ไขมันในเลือดลดลง
  • เมื่อปี ค.ศ. 2007 ประเทศเกาหลีได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันในเลือด โดยไปยับยั้ง Lipase เอนไซม์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการลดความอ้วน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
  • จากการทดสอบความเป็นพิษพบว่าเมื่อฉีดสารสกัดจากกิ่งแห้งด้วย 95% เอทานอลหรือสกัดด้วยน้ำเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรในขนาด 150 หรือ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่าไม่เป็นพิษ

หมายเหตุ : จากหนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด ของเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก ตาม [7] ใช้หัวข้อเรื่องว่า "พุดซ้อน" แต่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของพุดจีบ (ทั้งพุดจีบและพุดซ้อนต่างก็มีชื่อพ้องที่เหมือนกัน บางแห่งเรียกพุดซ้อนว่าพุดจีบ และบางแห่งก็เรียกพุดจีบว่าพุดซ้อน) ผู้เขียนจึงเข้าใจว่า "พุดซ้อน" ในหนังสือเล่มนี้หมายถึง "พุดจีบ" (ขออิงตามชื่อวิทยาศาสตร์)

ประโยชน์ของพุดจีบ

  • ต้นพุดจีบนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประธานตามสวนหย่อม เพราะมีกิ่งก้านสวยงาม หรือจะใช้ปลูกตามริมน้ำตก ลำธาร มุมตึก หรือปลูกบังกำแพงก็ได้ อีกทั้งดอกยังส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลากลางคืนอีกด้วย
  • ดอกสามารถนำมาร้อนมาลัยเพื่อถวายพระได้
  • ส่วนข้อมูลอื่นๆ ระบุว่า เนื้อของผลสุกใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีส้มแดง ส่วนเนื้อไม้ใช้ทำธูปได้ และดอกใช้ทำหัวน้ำหอม

คำสำคัญ : พุดจีบ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พุดจีบ. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1752&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1752&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะตาด

มะตาด

มะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 6,595

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,854

บอนแบ้ว

บอนแบ้ว

บอนแบ้ว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กและมีความบอบบางกว่าต้นอุตพิด มีหัวอยู่ใต้ดิน ทรงกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงฟิลิปปินส์และนิวกินี ใบอ่อนมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนใบแก่จะเป็นหยัก แบ่งออกเป็น 3 แฉก ยาวประมาณ 5-17 เซนติเมตร ก้านใบมีความยาวประมาณ 10-35 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 1,913

ผักขวง

ผักขวง

ผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 2,791

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง

ต้นข่าตาแดง จัดเป็นพรรณไม้ลงหัว เมื่อแตกขึ้นเป็นกอจะมีลักษณะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่จะมีขนาดของต้นเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย และมีขนาดโตกว่าข่าลิงเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อเอามาปลูก ใบข่าตาแดง ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่ โดยมีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบๆ ลำต้น ดอกข่าตาแดง ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย หน่อข่าตาแดง เมื่อแตกหน่อ หน่อจะเป็นสีแดงจัด ซึ่งเรียกว่า "ตาแดง" มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 4,294

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 17,174

ถั่วพู

ถั่วพู

ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,232

อัญชัน

อัญชัน

อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,061

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ มีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบของประเทศไทย อินเดีย และในชวาเกาะเซลีเบส โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 4,772

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 11,946