อั้วข้าวตอก
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,569
[16.4258401, 99.2157273, อั้วข้าวตอก]
อั้วข้าวตอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Calanthe triplicata (Willemet) Ames (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Orchis triplicata Willemet) จัดอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE)
สมุนไพรอั้วข้าวตอก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ข้าวตอกฤาษี, พุ่มข้าวตอก, อั้ว, อั้วดอกขาว, เอื้องข้าวตอก, เอื้องเหลี่ยมดอกขาว เป็นต้น
ลักษณะของอั้วข้าวตอก
- ต้นอั้วข้าวตอก จัดเป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ รากหนา ยาว และมีขน มีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้านใบ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และในญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคกลาง) โดยมักขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,600 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้จนถึง 3,000 เมตร
- ใบอั้วข้าวตอก ใบเป็นใบเดี่ยว ใบพับจีบ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมยาว โคนใบสอบหรือเรียวแคบคล้ายก้านใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ผิวใบเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม เส้นใบเป็นร่องจากโคนไปจรดรวมกันที่ปลายใบ ส่วนก้านใบยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
- ดอกอั้วข้าวตอก ออกดอกเป็นช่อกระจุก โดยจะออกตามซอกใบ ก้านช่อยาวประมาณ 25-100 เซนติเมตร ส่วนแกนช่อยาวประมาณ 6-25 เซนติเมตร มีขนสั้นละเอียดขึ้นหนาแน่นหรือเกือบเกลี้ยง ใบประดับติดทน ลักษณะเป็นรูปใบหอก ยาวได้ประมาณ 1-4 เซนติเมตร ช่วงล่างของช่อดอกจะยาวกว่าช่วงบนช่อ ต้นมีดอกจำนวนมาก ก้านดอกจะยาวได้ประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีลักษณะเรียวจรดรังไข่ ที่ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร บางครั้งไม่เห็นขนชัดเจน มีขนสั้นละเอียดหรือเกือบเกลี้ยง ดอกอั้วข้าวตอกนั้นเป็นสีขาว กลีบปากมีสีแดงหรือสีเหลืองแต้มอยู่ที่โคน มีขนสั้นนุ่มขึ้นประปรายอยู่ด้านนอก ส่วนกลีบเลี้ยงจะแยกจากกัน ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาวไปประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอก กลีบปีก จะคล้ายกับกลีบเลี้ยง แต่จะเรียวและแคบกว่า กลีบปากโคนติดกลีบปีก ห่อหุ้มเกสร ปลายบานออก แยกเป็นพู 3 พู ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร พูด้านข้างมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนพูตรงกลางจะแยกเป็นแฉก 2 แฉก ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ที่โคนมีเดือยเรียวยาว ยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร เส้าเกสรสั้น ยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร หนา ส่วนยอดเกสรเพศเมียติดด้านข้าง เรณู 8 อัน แยกออกเป็น 2 กลุ่ม และมีเมือกเหนียว โดยออกดอกในช่วงเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม หรือในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
สรรพคุณของอั้วข้าวตอก
- รากเหง้าหรือหัวอั้วข้าวตอกนำมาตากแห้งคั่วกับไฟ ใช้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ และขับน้ำนิ่วในไต (รากเหง้า, หัว)
ประโยชน์ของอั้วข้าวตอก
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
คำสำคัญ : อั้วข้าวตอก
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อั้วข้าวตอก. สืบค้น 20 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1780&code_db=610010&code_type=01
Google search
ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,465
ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,472
มะเขือยาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,004
ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 13,746
ลักษณะทั่วไป เป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน เลื้อยทอดขนานไปกับพื้นผิวดิน ชูส่วนยอด และช่อดอกสูง 15-20 ซม ลำต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มม. มีกาบหุ้มลำต้น มีระบบรากเป็นระบบรากฝอยออก ตามข้อ ของลำต้นใต้ดิน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียวยาว ประมาณ 5-15 ซม. ขอบใบเรียว ปลายใบแหลม ฐานใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นฐานใบมีสีน้ำตาลแดง
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,988
จันทน์กะพ้อ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปลา เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา หรือสีเทาคล้ำ และมักมียางใสซึมออกมาตามรอยแตก ส่วนเปลือกชั้นเป็นสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีร่มเงาจากไม้อื่น มีความชื้นในอากาศดี และลมไม่แรงมากนัก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 8,492
ต้นจิกนม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 4-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ช่อยาวประมาณ 9-18 นิ้ว ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเป็นจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 5,561
ปลาไหลเผือก จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงตั้งแต่ 1-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลายของลำต้น เรียงกันหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น เป็นไม้ลงราก รากมีลักษณะกลมโตสีเขียวและยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท มักพบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าเต็งรัง
เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 12,395
สะเดามีสรรพคุณบำรุงธาตุไฟ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย และแก้ไข้ อีกทั้งรสขมของสะเดายังช่วยเรียกน้ำย่อย และช่วยให้ขับน้ำดีตกลงสู่ลำไส้มากขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้อุจจาระละเอียดขับถ่ายคล่อง และช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,084
เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 6,616