จิงจูฉ่าย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้ชม 4,523
[16.3937891, 98.9529695, จิงจูฉ่าย]
ในมื้ออาหารแต่ละมื้อส่วนใหญ่มักมีผักเป็นส่วนประกอบอาจโรยไว้บนจานหรือข้างๆ จาน ซึ่งหากใครที่รับประทานต้มเลือดหมูต้องเคยกินหรือเคยเห็นเจ้าผักคล้ายขึ้นฉ่ายลอยเด่นอยู่ในชามกันอย่างแน่นอน ซึ่งก็คือ “จิงจูฉ่าย” นั่นเอง จิงจูฉ่ายเป็นผักที่มีชื่อไม่คุ้นหูนัก แต่ชื่อก็บ่งบอกว่าน่าจะเป็นพืชจากประเทศจีนแม้จะไม่ใช่พืชผักเศรษฐกิจแต่ชาวจีนก็นิยมปลูกกินกันอย่างแพร่หลาย หลายคนที่ได้ยินก็อาจสงสัยว่ามันคือผักอะไรกัน
ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
อันดับ : Ericales
วงศ์ : Myrsinaceae
สกุล : Lysimachia L.
สปีชีส์ : Lysimachia nemorum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia lactiflora Wall
ชื่อสามัญ : White mugwort
ลักษณะของจิงจูฉ่าย
“จิงจูฉ่าย” หรือ “โกศจุฬาลัมพา” หรือที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกว่า “เซเลอรี” (Celery) อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกายนั่นเอง
จิงจูฉ่ายนั้นเป็นพืชผักของจีนชนิดหนึ่ง นิยมนำไปทำเป็นอาหารรับประทานในประเภทแกงจืดทั้งหลาย หรือผัดผัก แต่โดยส่วนใหญ่จะใส่ในต้มเลือดหมูเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว และมีสรรพคุณทางสมุนไพรเป็นที่นิยมของชาวจีนเป็นอย่างมาก เพราะชาวจีนเปรียบจิงจูฉ่ายเป็นหยิน (ยาเย็น) มีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยในใบและลำต้น เมื่อนำไปต้มร้อนๆ หรือกินแบบสดๆ ในผักนั้นจะมีสารไลโมนีน ซิลนีน และกลัยโคไซด์ ชื่อ อะปิอิน ที่ช่วยปรับสมดุลความดันเลือดในร่างกาย และช่วยขับลมในกระเพาะอาหารได้ดี อีกทั้งลำต้นสดและเมล็ดนั้นมีปริมาณโซเดียมต่ำผู้เป็นโรคไตจึงรับประทานได้ดี
ประโยชน์และสรรพคุณของจิงจูฉ่าย
จิงจูฉ่ายนั้นมีประโยชน์มากมายนอกจากช่วยปรับสมดุลและขับลมภายในร่างกายได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ที่น่าอัศจรรย์ก็คือสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้โดยการนำใบจิงจูฉ่ายมาประมาณ 1 กำมือ แล้วปั่นหรือตำคั้นน้ำออกมารับประทานเช้า-เย็น 1 – 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงก่อนรับประทานอาหารสัก 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 2 – 3 เดือน ก็สามารถต้านทานต่อเซลล์มะเร็งได้ แต่ในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานจิงจูฉ่ายเนื่องจากอาจทำให้แท้งลูกได้
เมื่อเปรียบเทียบผลมะนาวกับผักอย่างจิงจูฉ่ายปรากฏว่าพบปริมาณวิตามินซีในจิงจูฉ่ายมากกว่าในมะนาวถึง 58 เท่าเลยทีเดียว และให้สรรพคุณทางยาสูง อีกทั้งมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อาทิ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซีสูง วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินบี 6 เป็นต้น รวมทั้งผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาไข้มาลาเรียซึ่งคล้ายๆ กับเซลล์ของมะเร็ง คือจะมีประมาณธาตุเหล็กสูงกว่าเซลล์ปกติประมาณ 5 – 1,000 เท่า ซึ่งการทานใบสดจะได้ผลดีกว่าผ่านกระบวนความร้อน
อย่างไรก็ตาม จิงจูฉ่ายนั้นก็นับเป็นสุดยอดสมุนไพรที่บำรุงเลือดลมได้ดีมากๆ และผักชื่อแปลกชนิดนี้ก็สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้จริง ขึ้นชื่อว่าผักอย่างไรเสียก็มีประโยชน์แก่ร่างกายเราอยู่แล้ว ใครที่ไม่ชอบรับประทานผัก ลองเริ่มหันมารับประทานกันดูนะคะแล้วร่างกายจะรู้ว่าร่างกายที่แข็งแรงไม่อ่อนแอนั้นเป็นอย่างไรค่ะ
คำสำคัญ : จิงจูฉ่าย
ที่มา : https://medthai.com/จิงจูฉ่าย/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จิงจูฉ่าย. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1490&code_db=610010&code_type=01
Google search
ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush, Golden Bush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ขี้คาก, ลับหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง หรือหมากกะลิงเทศ เป็นต้น ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว แถมยังปลูกได้ง่ายอีกด้วย เพราะต้นชุมเห็ดเทศนี้ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรมากมายนัก และส่วนใหญ่มักพบต้นชุมเห็ดเทศนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,038
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ มีระบบรากแก้วขึ้นได้ดีในที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง ลำต้นสามารถเจริญแช่น้ำอยู่ได้ ถ้าต้นเรียบตรงหรือทอดขนานไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดให้ตั้งตรง สูง 10-15 ซม. มีทั้งสีขาวอมเขียวและสีแดง ระหว่างข้อของลำต้นจะเป็นร่องทั้งสองข้าง ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบรียาว สีเขียว ปนแดง ปลายใบและโคนใบจะแหลม ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และขอบใบทั้งสองด้านเส้นกลางใบนูนก้านใบสั้นมาก ดอกออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุก จะออกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีขาวมีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละดอกมีใบประดับเป็นเยื่อ บาง ๆ สีขาว 2 อัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,414
ชงโค เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายๆ กับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 13,259
บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 7,135
ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,032
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 8,355
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ตั้งตรง สามารถแตกกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้าน จะมีขนอ่อนนุ่มสีเทาปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบกว้างรูปร่างแบบใบโพธิ์ ปลายใบไม่เรียวแหลมมากเหมือนใบโพธิ์ ขอบใบเป็นหยัก ฐานใบโค้งมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว ใกล้ฐานดอกมีรอยต่อที่ก้านดอก ดอกจะมีกลีบเลี้ยงติดกันสีเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่ปลายสุดของดอกมีผนังรังไข่เรียงติดกันเป็นกลีบ รัศมีวงกลม ผลมีลักษณะเป็นกลีบๆ เรียงติดกันคล้ายฟันเฟือง 15-20 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. หนา 1-1.5 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล เมล็ดรูปไต
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,678
ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,097
อ้อย จัดเป็นไม้ล้มลุก มักขึ้นเป็นกอ ๆ มีความสูงของลำต้นประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงและเป็นมัน มีลำต้นคล้ายกับต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดงถึงสีดำ และมีไขสีขาวเคลือบลำต้นอยู่ ลำต้นมีลักษณะกลมยาว เห็นข้อปล้องอย่างชัดเจน โดยแต่ละปล้องอาจจะยาวหรือสั้นก็ได้ ผิวเปลือกเรียบสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ไม่แตกกิ่งก้าน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม ส่วนน้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา และมักมีรากอากาศขึ้นอยู่ประปราย โดยเป็นพืชที่ชอบดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง มีแสงแดดจัด สามารถปลูกขึ้นได้ในดินทั่วประเทศไทย และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือการใช้หน่อจากเหง้า
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,054
กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 10,958