กะเพรา

กะเพรา

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 4,556

[16.4258401, 99.2157273, กะเพรา]

กะเพรา ชื่อสามัญ Holy basil, Sacred basil
กะเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum L.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรกะเพรา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่), ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ (แม่ฮ่องสอน), กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
         กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบน 4 แฉก ปากล่าง 1 แฉกและยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรตัวผู้มี 4 อัน ส่วนผลเป็นผลแห้ง เล็ก เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำถึงน้ำตาลคล้ายรูปไข่กะเพราจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำรับยาไทยและ
         ต่างประเทศก็ระบุว่ากะเพราเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายด้าน อย่างตำราสมุนไพรไทยบ้านเราก็บรรยายสรรพคุณของกะเพราเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ช่วยขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้อง ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยบำรุงธาตุ เป็นต้น และในต่างประเทศก็มีการใช้กะเพราในการรักษาโรคกันอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าบ้านเราเสียอีก โดยเฉพาะประเทศอินเดีย เขาถือว่ากะเพราเป็นยารักษาโรคได้ทุกโรค และยังจัดเป็นราชินีแห่งสมุนไพร (The Queen of herbs) หรือเป็นยาอายุวัฒนะ (The Elixir of life) เลยก็ว่าได้
         กะเพรามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กะเพราแดงและกะเพราขาว โดยกะเพราแดงจะมีฤทธิ์ที่แรงกว่ากะเพราขาว ในสรรพคุณทางยาจึงนิยมใช้กะเพราแดง โดยส่วนที่นำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนของใบ ยอดกะเพรา (ทั้งสดและแห้ง) และทั้งต้น แต่ถ้านำมาใช้ประกอบอาหารจะนิยมใช้กะเพราขาวเป็นหลัก

สรรพคุณของกะเพรา
1. ใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะ (the elixir of life)
2. ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นและป้องกันอาการหวัดได้ (ใบ)
3. กะเพราเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายชนิด เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทางเด็ก ฯลฯ
4. รากแห้งนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยแก้โรคธาตุพิการ (ราก)
5. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
6. ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใบ)
7. ช่วยแก้อาการปวดด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาคั้นรับประทานสด 1 ถ้วยตะไล จะช่วยแก้อาการปวดมวนท้องได้เป็นอย่างดี (ใบ)
8. ช่วยขับลมแก้อาการปวดท้องอุจจาระ (ใบ)
9. ใบกะเพรามีสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
10. ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (ใบ)
11. ช่วยแก้ลมซานตาง (ใบ)
12. น้ำสกัดจากทั้งต้นของกะเพรามีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
13. ช่วยย่อยไขมัน (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
14. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
15. กะเพรามีสรรพคุณช่วยขับน้ำดี (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
16. ช่วยแก้ลมพิษ ด้วยการใช้ใบกะเพราประมาณ 1 กำมือนำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ (ใบ)
17. ใช้ทำเป็นยารักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาขยี้ให้น้ำออกมา แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย (ใบ)
18. ใช้เป็นยารักษาหูด ด้วยการใช้ใบกะเพราแดงสดนำมาขยี้แล้วทาบริเวณที่เป็นหูดเช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุดออกมา โดยระวังอย่าให้เข้าตาและถูกบริเวณผิวที่ไม่ได้เป็นหูด เพราะจะ
      ทำให้เนื้อดีเน่าเปื่อยและรักษาได้ยาก (ใบสด)
19. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกกัด ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาดเพราะจะมีสารยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งอาจ
      จะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและอาจถึงขั้นโคม่าได้ (ใบ)
20. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ (น้ำมันใบกะเพรา)
21. มีงานวิจัยพบว่ากะเพราสามารช่วยยับยั้งสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่มักพบเจือปนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็งได้ (สารสกัดจากกะเพรา)
22. ใบกะเพรามีฤทธิ์ในการช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ โดยมีการใช้ใบ
      กะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายกินใบกะเพราติดต่อ 4 สัปดาห์พบว่าระดับไขมันโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันเลว (LDL) ลดลง แต่ไขมันชนิดดี (HDL) กลับเพิ่มขึ้น
23. ช่วยเพิ่มน้ำนมให้สตรีหลังคลอดบุตร ด้วยการใช้ใบกะเพราสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่แกงเลียงรับประทานบ่อย ๆ ในช่วงหลังคลอด (ใบ)
24. นำเมล็ดไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาว นำมาใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองก็จะหลุดออกมา โดยไม่ทำให้ตาของเรานั้นช้ำอีกด้วย (เมล็ด)
25. ใบและกิ่งสดของกะเพรามีการนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยด้วยการต้มกลั่นจนได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 08 - 0.1 โดยมีราคาประมาณกิโลกรัมละหนึ่งหมื่นบาท
26. ใช้ไล่ยุงหรือฆ่ายุง ด้วยการใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด เอาใบมาขยี้แล้ววางใกล้ตัว ๆ จะช่วยไล่ยุงและแมลงได้ โดยน้ำมันกะเพราที่สกัดมาจากใบจะมีคุณสมบัติช่วยไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด
      (ใบสด, กิ่งสด)
27. น้ำมันสกัดจากใบสด ช่วยล่อแมลง ทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้ (น้ำมันสกัดจากใบสด)
28. ใช้ในการประกอบอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ในเมนูกะเพราสุดโปรด เช่น ผัดกะเพรา แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว แกงเขียวหวาน แกงส้มมะเขือขื่น ผัดกบ ผัดหมู ผัดปลาไหล
      พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง หรือจะนำใบกะเพรามาทอดแล้วใช้โรยหน้าอาหารเมนูต่างๆ ก็ได้ ฯลฯ
29. ใบกะเพราสามารถช่วยดับกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้ (ใบ)

คำสำคัญ : กะเพรา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กะเพรา. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1564&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1564&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เขยตาย

เขยตาย

เขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,842

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,662

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,882

ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,939

ลำไยป่า

ลำไยป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร  พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย  โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู  ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป  ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,562

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,273

จักรนารายณ์

จักรนารายณ์

ต้นจักรนารายณ์ หรือ ต้นแปะตําปึง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโตประมาณเท่านิ้วก้อยและเป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ พืชชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ในที่ร่มมากนัก ชอบแสงแดดพอสมควร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำที่ก้นกระถาง เพราะรากจะเน่าได้

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,395

มะเขือม่วง

มะเขือม่วง

ต้นมะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่วไปและอาจมีหนามเล็ก ๆ แต่ไม่มากนัก สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับข้างกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนหนาสีเทา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ผลมีลักษณะกลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง ขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 10,270

เพกา

เพกา

ลักษณะทั่วไป     ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว  ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.  สีม่วงคล้ำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,852

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 3,152