มะเขือม่วง
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 3,002
[16.4258401, 99.2157273, มะเขือม่วง]
มะเขือม่วง ชื่อสามัญ Eggplant
มะเขือม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)
สมุนไพรมะเขือม่วง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเขือกะโกแพง, มะเขือจาน, มะเขือจาวมะพร้าว, มะเขือหำม้า, มะแขว้งคม เป็นต้น
ลักษณะของมะเขือม่วง
- ต้นมะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่วไปและอาจมีหนามเล็ก ๆ แต่ไม่มากนัก สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ใบมะเขือม่วง ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับข้างกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนหนาสีเทา
- ดอกมะเขือม่วง ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมีกลีบสีเขียวเลี้ยงหนาแข็งประมาณ 4-5 แฉก โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วง มีลักษณะเป็นรูปดาว และดอกจะบานประมาณ 2-3 วัน
- ผลมะเขือม่วง ผลมีลักษณะกลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง ขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ลักษณะของผลอาจจะกลมเป็นรูปไข่หรือกลมยาว โดยมีขนาดยาวตั้งแต่ 4-30 เซนติเมตร สีผลอาจจะมีสีเดียวหรือหลายสี โดยอาจจะมีสีขาว เหลือง เขียว แดงม่วง หรือดำ ส่วนภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเล็กและเป็นสีน้ำตาล
หมายเหตุ : มะเขือโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ มะเขือม่วงเล็ก (ผลทรงยาวป้อม มีความยาวประมาณ 4 นิ้ว ผลเป็นสีม่วงอ่อนปนลายเขียวขาว เนื้อในนุ่ม กินดิบมีรสขมเล็กน้อย เมื่อสุกจะมีรสหวาน นิยมนำมากินเป็นผักสดหรือผักต้มแนมกับน้ำพริกและเครื่องจิ้มต่าง ๆ หรือนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วชุบแป้งทอด) และ มะเขือม่วงใหญ่ (เป็นมะเขือนำเข้า เนื้อในแน่นและละเอียดกว่ามะเขือม่วงเล็ก ไม่มีเมล็ด และแทบไม่มีรสชาติ คนไทยนิยมกันน้อย โดยส่วนใหญ่จะนำมาทำอาหารประเภทผักหรือหั่นชุบแป้งทอด)
สรรพคุณของมะเขือม่วง
- ดอกสดหรือดอกแห้ง นำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้ละเอียด ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน (ดอก)
- ผลแห้งมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ (ผลแห้ง)
- ลำต้นหรือรากใช้ต้มกินเป็นยาแก้บิด หรือจะนำใบแห้งมาป่นให้เป็นผงใช้เป็นยาแก้โรคบิดก็ได้เช่นกัน (ลำต้น, ราก, ใบแห้ง)
- ช่วยแก้อาการตกเลือดในลำไส้ (ผลแห้ง)
- ใบแห้งใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (ใบแห้ง)
- ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบแห้ง)
- ผลสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรังและผดผื่นคัน (ผลสด)
- ลำต้นหรือรากนำมาคั้นเอาน้ำใช้ล้างแผลเท้าเปื่อย (ลำต้น, ราก)
- ผลแห้งใช้ทำเป็นยาเม็ดแก้ปวด (ผลแห้ง)
หมายเหตุ : วิธีการใช้ผลตาม [1] ให้นำผลมะเขือม่วงมาปรุงเป็นอาหารรับประทานประมาณวันละ 1-2 ลูก
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเขือม่วง
- สารสำคัญที่พบในมะเขือม่วง ได้แก่ Flamonoid, กรดฟีโนลิก, ไฟโทสเทอรอล, ไกลโคแอลคาลอยด์, แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
- จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการดื่มน้ำมะเขือทุกวัน สามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือดและเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือดได้
ประโยชน์ของมะเขือม่วง
- ในด้านการนำมาประกอบอาหาร ส่วนใหญ่แล้วจะนำผลดิบมาเผารับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือฝานเป็นชิ้นชุบแป้งทอดกรอบก็อร่อยดี ส่วนอาหารญี่ปุ่นก็จะมีมะเขือม่วงเป็นส่วนประกอบเกือบทุกเมนู
- มะเขือม่วงอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือม่วง ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 24 แคลอรี, โปรตีน 1 กรัม, ไขมัน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม, ใยอาหาร 0.8 กรัม, เถ้า 0.6 กรัม, วิตามินเอ 130 หน่วยสากล, วิตามินบี1 10 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.05 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม, แคลเซียม 30 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม, โซเดียม 4 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 223 มิลลิกรัม
- สีม่วงที่เห็นในผลมะเขือม่วง เกิดจากสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายเท่า การรับประทานมะเขือม่วงเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค และช่วยสมานแผลได้ดี[2]
- สารแอนโทไซยานินในมะเขือม่วงมีฤทธิ์ขยายเส้นเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้ด้วย การใส่มะเขือม่วงลงไปในอาหารต่าง ๆ จึงเป็นที่ให้คุณค่าทางยาเพิ่มกับคุณค่าทางอาหาร
- มะเขือม่วงเป็นพืชผักเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกได้ง่าย ให้ผลผลิตดี เก็บเกี่ยวได้นาน และปัจจุบันสามารถส่งออกได้
คำสำคัญ : มะเขือม่วง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือม่วง. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1702&code_db=610010&code_type=01
Google search
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,088
ต้นกกธูปฤาษีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้นๆ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 5-3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ ใบกกธูปฤาษีลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีกาบใบเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบเป็นรูปแถบ มีความกว้างประมาณ 2-1.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเพราะมีเซลล์หยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำหมุนอยู่กลางใบ ส่วนด้านล่างของใบแบน
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,677
พญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 7,389
แครอทนับได้ว่าเป็นผักสารพัดประโยชน์ สามารถประทานได้ทั้งแบบสดและแบบสุก ทั้งแบบอาหารคาวและอาหารหวาน ทั้งแบบเป็นชิ้นและแบบเป็นน้ำ แครอทเป็นผักคู่ครัวของของไทยไปแล้ว แครอทนอกจากมีรถชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย สำหรับผู้ที่อยากได้รับประโยชน์จากแครอท แต่ไม่รับประทานผัก น้ำแครอทน่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะรสชาติดี รับประทานง่ายและจะทำให้ท่านได้รับประโยชน์จากแครอทอย่างเต็มที่
เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 980
ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,327
ลักษณะทั่วไป เป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน เลื้อยทอดขนานไปกับพื้นผิวดิน ชูส่วนยอด และช่อดอกสูง 15-20 ซม ลำต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มม. มีกาบหุ้มลำต้น มีระบบรากเป็นระบบรากฝอยออก ตามข้อ ของลำต้นใต้ดิน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียวยาว ประมาณ 5-15 ซม. ขอบใบเรียว ปลายใบแหลม ฐานใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นฐานใบมีสีน้ำตาลแดง
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,343
ปีบ (Cork Tree, Indian Cork) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก กาดสะลอง, กาซะลอง, ก้องกลางดง เป็นต้น โดยเป็นพรรณไม้ที่มีดอกและใบสวย พร้อมกลิ่นที่หอมชื่นใจ มักนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือตามข้างทางเพื่อให้ร่มเงา และดอกปีบนั้นยังถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของปราจีนบุรีอีกด้วย และด้วยความที่เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ผู้คนจึงได้มีการนำมาเป็นสัญลักษณ์ของการพยาบาลไทย ตลอดจนนำมาทำเป็นเครื่องเรือนสำหรับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม พบมากตามป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ, ภาคตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 786
จันทน์กะพ้อ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปลา เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา หรือสีเทาคล้ำ และมักมียางใสซึมออกมาตามรอยแตก ส่วนเปลือกชั้นเป็นสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีร่มเงาจากไม้อื่น มีความชื้นในอากาศดี และลมไม่แรงมากนัก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,316
ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,234
ชะครามไม้ล้มลุก หลายปี ลำต้นเกลี้ยง กิ่งก้านเล็กสีน้ำตาลแดง แตกแขนงที่โคนต้น สูง 30-100 ซม. ใบชะครามเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ อวบน้ำ รูปแถบหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบยาว 5-4 ซม. กว้าง 0.5-1.5 มม. ปลายใบแหลม เมื่อแก่ใบจะมีทั้งสีเขียวและสีแดงหรือบริเวณที่แล้งจัดจะมีใบสีม่วง ดอกชะครามช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 4-15 ซม. ดอกสมบุรณ์เพศออกเป็นกระจุกๆละ2-3 ดอก ใบประดับ ยาว 2-5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ รูปหอก วงกลีบรวม มี 2-3 ใบ รูปขอบขนานสีเขียวอ่อน
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 545