เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 5,001

[16.4258401, 99.2157273, เกล็ดปลาช่อน]

เกล็ดปลาช่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllodium pulchellum (L.) Desv. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedysarum pulchellum L., Desmodium pulchellum (L.) Benth., Meibomia pulchella
(L.) Kuntze) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรเกล็ดปลาช่อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เกล็ดลิ่นใหญ่ (นครราชสีมา), ลูกหนีบต้น (ปราจีนบุรี), หางลิ่น (สุราษฎร์ธานี), หญ้าเกล็ดลิ่น (ภาคเหนือ, ภาคใต้), เกล็ดลิ่นใหญ่ ลิ่นต้น หญ้าสองปล้อง (ภาคกลาง), กาสามปีกเล็ก, เกล็ดลิ้น เป็นต้น

ลักษณะของเกล็ดปลาช่อน
         ต้นเกล็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย โดยพบขึ้นทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ตามพื้นที่ป่า ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่าสน ป่าไผ่ ชายป่าดิบ ที่ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 เมตร
         ใบเกล็ดปลาช่อน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปฝ่ามือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยด้านข้าง มีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม มน หรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ บางครั้งเป็นคลื่น มีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนมีขนสั้นนุ่มขึ้นบาง ๆ เมื่อแก่จะเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีขนสั้นนุ่มขึ้นหนาแน่น (หลังใบหยักเป็นลอนตามเส้นใบแบบขนาน ส่วนท้องใบก็เป็นลอนด้วยเช่นกัน) ใบย่อยด้านข้าง 2 ใบนั้นมีลักษณะรูปร่างคล้ายใบย่อยตรงกลาง แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบมีข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบย่อยสั้น มีขนาดยาวได้ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร มีขน หูใบย่อยเป็นขนแข็ง ยาวคล้ายหาง ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แก่นช่อใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อใบยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร
         ดอกเกล็ดปลาช่อน ออกดอกเป็นช่อกระจุกประมาณ 3-5 ดอก เรียงอยู่บนแกนช่อดอก แบบช่อกระจะจะค่อนข้างยาว โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกแต่ละกระจุกจะมีใบประดับคล้ายใบประกบหุ้มไว้ 2 ใบ ใบประดับจะมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา เป็นรูปเกือบกลม ปลายแหลมหรือเว้าตื้น โคนกลมหรือเป็นรูปหัวใจตื้น มีขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร มีขนทั้งสองด้าน และมีใบประดับอีกหนึ่งใบอยู่ปลายสุด ลดรูปเป็นเส้นใบประดับย่อย ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีขน ใบประดับหุ้มดอกและติดอยู่จนติดผล ก้านดอกยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉก 4 แฉก แฉกบนและแฉกข้างมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนแฉกล่างจะมีลักษณะเป็นรูปไข่เช่นกัน แต่จะแคบและยาวกว่าแฉกอื่น ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบกลางจะเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลม มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีก้านกลีบสั้น ๆ กลีบด้านข้างจะเป็นรูปรีแคบ ปลายมน โคนมีติ่ง มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ส่วนกลีบคู่ล่างจะยาวเท่ากับกลีบคู่ข้าง แต่จะกว้างกว่า รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง มีออวุล 2-4 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียโค้ง ที่โคนมีขน
         ผลเกล็ดปลาช่อน ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ฝักมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน หยักคอดเป็นข้อประมาณ 2-4 ข้อ มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ผิวฝักมีขน มีลวดลายแบบร่างแหชัดเจน ส่วนเมล็ดเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ออกดอกและเป็นผลในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของเกล็ดปลาช่อน
1. เปลือกต้นใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคตา (เปลือกต้น)
2. รากมีรสจืดเฝื่อน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการผู้ป่วยทางจิต อาการเพ้อ กล้ามเนื้อสั่นกระตุก อาการชักในเด็กทารก แก้ปวดฟัน เลือดจับตัวเป็นลิ่ม (ราก)
3. ใบมีรสจืด ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้จับสั่น (ใบ)
4. ดอกใช้เป็นยาแก้อาเจียน (ดอก)
5. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น)
6. รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง (ราก)
7. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการตกเลือด แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษ (เปลือกต้น)
8. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากเกล็ดปลาช่อน นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคตับพิการ บรรเทาอาการตับทำงานผิดปกติ ส่วนตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ตับพิการ (ราก, ทั้งต้น)
9. ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้พยาธิใบไม้ในตับ (ทั้งต้น)
10. ใบใช้เป็นยารักษาแผลพุพอง (ใบ)
11. รากหรือเปลือกรากใช้ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม (ราก, เปลือกราก)
12. รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดเส้น ปวดข้อ ปวดหลัง (ราก)
13. รากใช้ผสมกับรากกาสามปีกใหญ่, รากดูกอึ่ง, รากโมกมัน และรากหางหมาจอก ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้คุณไสย (มีอาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาเพ้อคลั่งและร้องไห้)

ประโยชน์ของเกล็ดปลาช่อน
1. ต้นเกล็ดปลาช่อน จัดเป็นต้นไม้มงคล จะใช้เมื่อเอาข้าวขึ้นยุ้งฉาง
2. ในทางอาหารจะใช้ยอดเกล็ดปลาช่อนนำมากินสด ๆ เป็นผักจิ้ม มีรสฝาดมันและขมเล็กน้อย
3. ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติของโค กระบือ สำหรับแทะเล็ม ส่วนที่กินได้ (ใบรวมก้านใบย่อย) จะมีโปรตีน 16.7%, เยื่อใยส่วน ADF 34.47%, NDF 41.94%, แคลเซียม 0.84%,
    ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.52%, แทนนิน 3.74%

คำสำคัญ : เกล็ดปลาช่อน

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เกล็ดปลาช่อน. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1568&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1568&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

สารภี

สารภี

สารภีไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบแคบหรือสอบเรียว ปลายใบมนหรือสอบทู่ๆ อาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 1,873

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,327

กล้วยหักมุก

กล้วยหักมุก

สำหรับกล้วยหักมุกนั้นเป็นกล้วยที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และไม่ชอบน้ำมาก ลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบด้านในสีเขียวอ่อน ส่วนด้านนอกมีประดำเล็กน้อย บริเวณก้านใบมีร่องแคบ มีครีบ ใช้ทำเป็นใบตองได้ดี ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ปลีรูปไข่แบบป้อมๆ ม้วนงอขึ้นด้านบน และเมื่อออกผลใน 1 เครือ จะมีอยู่ประมาณ 7 หวี และในหวีหนึ่งๆ จะมีประมาณ 10-16 ผลใหญ่ ก้านผลจะยาว ปลายลีบลง เหลี่ยมค่อนข้างชัด เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อดิบเป็นสีเขียว หากสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีส้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 26,908

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว (Cow Pea, Chinese Long Bean) เป็นพืชผักสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก ถั่วนา, ถั่วขาว หรือถั่วฝักยาว ส่วนภาคเหนือเรียก ถั่วหลา, ถั่วปี หรือถั่วดอก เป็นต้น ซึ่งถั่วฝักยาวนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เรียกว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่ชาวเอเชียเรานิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันเป็นอย่างมากชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ และในถั่วฝักยาวนี้ก็ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราหลากหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, โฟเลต, แมงกานีส ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 7,609

ส้มกบ

ส้มกบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นวัชพืชพุ่มเตี้ย อายุยืนหลายฤดูลำต้นทอดเลื้อย ตามพื้นดิน มีมีไหลไต้ยาว  ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ  ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลืองส่วนโคนกลีบดอกจะก้านยาว ออกดอกตลอดปี  ติดผลเป็นฝักตั้งตรง เป็นเหลี่ยมห้าเหลี่ยม ฝักยาว 4-6 ซม. เมื่อผลแก่จะแห้งและแตกดีดเมล็ดออกมา เมล็ดเป็นรูปไข่แบน ผิวเมล็ดย่นสีน้ำตาล   พบขึ้นเป็นวัชพืชในสวนผักและไม้ดอก และในพื้นที่ทำการเกษตรโดยทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,510

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,572

ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงตั้งแต่ 1-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลายของลำต้น เรียงกันหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น เป็นไม้ลงราก รากมีลักษณะกลมโตสีเขียวและยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท มักพบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 8,699

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา จัดเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตได้ในดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี พบได้ทั่วไป ชอบขึ้นตามริมแม่น้ำ ในพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า พื้นที่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและฝนตกชุก ใบบุกอีรอกเขา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวมีลักษณะกลมและอวบน้ำ ไม่มีแกน ยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร ใบมีลายสีเขียว เทา น้ำตาล และดำเป็นจุดพื้นจุดด่าง มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ 2-3 ก้าน และมีใบประดับ 10-120 ใบ ออกเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปคล้ายหอก ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-50 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวใบเป็นคลื่น หูใบติดกับก้านใบย่อย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,425

มะเขือม่วง

มะเขือม่วง

ต้นมะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่วไปและอาจมีหนามเล็ก ๆ แต่ไม่มากนัก สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับข้างกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนหนาสีเทา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ผลมีลักษณะกลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง ขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,410

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก จัดเป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ รากหนา ยาว และมีขน มีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้านใบ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และในญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคกลาง) โดยมักขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,600 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้จนถึง 3,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 1,877