ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 2,739

[16.4258401, 99.2157273, ติ่งตั่ง]

ติ่งตั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Getonia floribunda Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calycopteris floribunda (Roxb.) Lam. ex Poir.) จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)
สมุนไพรติ่งตั่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดอกโรค (เลย), งวงชุม (ขอนแก่น), มันเครือ (นครราชสีมา), ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี), เถาวัลย์นวล (ราชบุรี), มันแดง (กาญจนบุรี), ประโยค ดอกประโยค (ตราด), งวงสุ่มขาว เมี่ยงชะนวนไฟ สังขยาขาว (พิษณุโลก, สงขลา), ตะกรูด (นครศรีธรรมราช), กรูด (สุราษฎร์ธานี), ติ่งตั่งตัวผู้ (ภาคเหนือ), งวงสุ่ม ฮวงสุ่ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ข้าวตอกแตก (ภาคกลาง), หน่วยสุด (ภาคใต้), เครือตีนตั่ง (คนเมือง), เครืองวงสุ่ม, เถาวัลย์ชนวน, ตะกรุด, สะแกวัลย์, หมันเครือ เป็นต้น

ลักษณะของติ่งตั่ง
         ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป
        ใบติ่งตั่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบสอบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบมีลักษณะเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-17 เซนติเมตร หลังใบด้านบนมีขนนุ่มหนาแน่นเมื่อยังอ่อนอยู่ ส่วนท้องใบมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแกมเหลืองขึ้นหนาแน่น
        ดอกติ่งตั่ง ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่แบบแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกย่อยเป็นสีเขียวแกมเหลือง มีกลีบรองดอก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายเป็นรูปถ้วย มี 5 แฉก ข้างในมีขน ส่วนกลีบดอกไม่มี ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เรียงกันเป็น 2 วง วงละ 5 อัน ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
        ผลติ่งตั่ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรีหรือรูปกระสวย มีสันยาว 5 สัน ที่ปลายมีกลีบรองดอกที่เจริญเป็นปีก 5 ปีก ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณของติ่งตั่ง
1. ใบมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาเจริญอาหาร (ใบ)
2. ใบใช้เป็นยารักษาไข้ป่า ไข้มาลาเรีย (ใบ)
3. รากใช้เป็นยาแก้พิษไข้เด็ก (ราก)
4. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)
5. เนื้อไม้เป็นยาแก้เบื่อเมา แก้พิษสุราเรื้อรัง (เนื้อไม้)
6. ใช้เป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่น (ใบ)
7. ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด (ใบ)
8. ใช้เป็นยาระบายท้อง (ใบ)
9. ใบใช้เป็นยาขับพยาธิ (ใบ)
10. ช้เป็นยาแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้น)
11. ช่วยแก้ปัสสาวะดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด (เนื้อไม้)
12. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากติ่งตั่งนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กามโรค (ราก)
13. ตำรายาพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาจะใช้ใบติ่งตั่งเป็นยารักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับเนยทาแผล (ใบ)
14. ใบใช้เป็นยาแก้แมลงพิษกัดต่อย (ใบ) ส่วนรากใช้เป็นยาแก้พิษงู (ราก)
15. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นและรากติ่งตั่ง ผสมกับลำต้นเปล้าลมต้น ลำต้นเปล้าลมเครือ ลำต้นบอระเพ็ด ลำต้นรางแดง ลำต้นแหนเครือ และลำต้นหนาด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
      แก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้นและราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของติ่งตั่ง
       ดอกติ่งตั่งมีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเนื้องอก

ประโยชน์ของติ่งตั่ง
       ลำต้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องจักสานได้
       เครือติ่งตั่งมีเนื้อไม้เหนียว สามารถนำมาใช้ทำขอบกระบวยวิดน้ำสำหรับตักน้ำรดน้ำผักหรือขอบเครื่องจักสาน ทำด้ามมีด เครื่องใช้สอย

คำสำคัญ : ติ่งตั่ง

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ติ่งตั่ง. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1601&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1601&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พุดจีบ

พุดจีบ

พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็กๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 8,282

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,392

มะอ้า

มะอ้า

มะอ้า ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ประมาณ 12-25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมแผ่กว้างทึบชั้นในสีชมพูแดงเรื่อ ๆใบเป็นช่อยาว ออกเรียงสลับกันใบอ่อนรูปขอบขนาน โคนเบี้ยว เนื้อค่อนข้างหนาเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียวอ่อน ๆ ออกเป็นช่อผลสีน้ำตาล รูปไข่กลับ เอบกลม เปลือกหนา ผลแก่แตกอ้า เผยให้เห็นเนื้อเยื่อสีแดงภายใน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,750

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,355

พุดซ้อน

พุดซ้อน

พุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,376

บัวบก

บัวบก

บัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,533

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,504

รากสามสิบ

รากสามสิบ

สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,277

ขี้หนอน

ขี้หนอน

ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และมีหนามตามลำต้นหรือกิ่งไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายกับผักหวาน ดอกนั้นจะดกมาก จะมีขนาดเล็ก มีพิษกินเข้าไปทำให้ตายได้ ผลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลือง นิเวศวิทยาเป็นพรรณไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ดอกไม่งาม ผลแก่มีสีเหลือง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ประโยชน์สมุนไพรเปลือกใช้สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่น้ำตีให้แตกฟองแล้วใช้ฟอกสุมหัวเด็ก ใช้รักษาอาการหวัดคัดจมูก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,345

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,455