จักรนารายณ์

จักรนารายณ์

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 4,219

[16.4258401, 99.2157273, จักรนารายณ์]

จักรนารายณ์ ชื่อสามัญ Purple passion vine, Purple velvel plant
จักรนารายณ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura divaricata (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gynura ovalis DC.[1], Gynura auriculata Cass.[11]) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
หมายเหตุ : บางข้อมูลระบุว่าเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gynura procumbens (Lour.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gynura sarmentosa (Blume) DC.)
สมุนไพรจักรนารายณ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แปะตำปึง, แป๊ะตำปึง (ไทลื้อ), แปะตังปึง, แป๊ะตังปึง, แปะตังปุง ,ผักพันปี, กิมกอยมอเช่า, จินฉี่เหมาเยี่ย, ว่านกอบ ใบเบก (คนเมือง), ชั่วจ่อ (ม้ง), เชียตอเอี๊ยะ งู่ปุ่ยไฉ่ (จีน), ไป๋ตงเฟิง ไป๋เป้ยซันชิ (จีนกลาง), จักรนารายณ์ (ไทย) เป็นต้น

ลักษณะของจักรนารายณ์
        ต้นจักรนารายณ์ หรือ ต้นแปะตําปึง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน[7] โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโตประมาณเท่านิ้วก้อยและเป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ พืชชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ในที่ร่มมากนัก ชอบแสงแดดพอสมควร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำที่ก้นกระถาง เพราะรากจะเน่าได้
        ใบจักรนารายณ์ หรือ ใบแปะตำปึง ใบจะอยู่กับลำต้นที่แทงขึ้นจากราก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มน ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยัก ใบมีความยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและนุ่มคล้ายกำมะหยี่ หลังใบเป็นสีเขียวส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีม่วงแดงหรือสีขาวออกหม่น ๆ มีก้านใบสั้น[1],[2] และมีข้อมูลระบุว่าจักรนารายณ์มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดใบกลมและชนิดใบยาว โดยชนิดใบกลม จะเรียกว่า "แปะตําปึง" ลักษณะของใบหนา มีขนหนานุ่มคล้ายกำมะหยี่ทั้งสองด้าน ใบเป็นสีเขียวอ่อน เส้นใบด้านหลังลึกเช่นเดียวกับเส้นกลางใบ แต่ด้านท้องใบกลับนูน ชนิดนี้กิ่งก้านเป็นสีเขียวปนสีแดง เปราะและหักง่าย ส่วนอีกชนิดคือชนิดใบยาว จะเรียกว่า "จินฉี่เหมาเยี่ย" ชนิดนี้ลักษณะของใบจะค่อนข้างยาวและแหลมกว่า ผิวใบค่อนข้างเรียบ มีขนน้อย
          ดอกจักรนารายณ์ ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกหลายดอก กลีบดอกมีลักษณะเป็นเส้นฝอยกลมจำนวนมาก มีสีเหลืองสดคล้ายดอกดาวเรือง แต่จะมีขนาดเล็กกว่าดอกดาวเรือง และมีสีเหลือง โดยยาวได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้านอยู่ในกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียเป็นเส้นยืดออกมาภายนอกและมีผลติดอยู่ในดอก
          ผลจักรนารายณ์ ผลสุกเป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณของจักรนารายณ์

  1. ยอดอ่อนใช้เป็นส่วนผสมในการต้มไก่กระดูกดำ ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย (ยอดอ่อน)
  2. ราก ก้าน และใบ มีรสหวานชุ่ม เค็มและเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาเย็นมีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และม้าม มีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเย็น ช่วยกระจายโลหิต แก้เส้นเลือดอุดตันและแก้อาการตกเลือด (ราก, ก้าน, ใบ)
  3. ช่วยฟอกโลหิต ทำให้ระบบโลหิตและน้ำเหลืองดีขึ้น (ใบ)
  4. ช่วยล้างพิษภายในออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ และทางตา (ใบ)
  5. ใช้รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานใบสดก่อนอาหารประมาณ 2-5 ใบในช่วงตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้า (จะได้ผลดีเพราะเป็นช่วงที่ลำไส้เริ่มทำงาน) และให้รับประทานอีกครั้งในช่วงหลังอาหารเย็นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือใช้กินก่อนนอนทุกวัน โดยให้ทำเช่นนี้ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ แล้วหยุดดูอาการอีก 2-3 วัน แล้วจึงรับประทานต่อเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงเร็วเกินไป (ปริมาณการใช้ของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้รับประทานและขนาดของใบที่ใช้ สำหรับผู้ที่เริ่มรับประทานให้ทดลองรับประทานแต่น้อย ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ ดูอาการ และควรรับประทานแบบระมัดระวัง เพราะยังไม่มีผลการวิจัยรองรับอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระบุว่าจักรนารายณ์ใบยาวจะลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าชนิดใบกลม)
  6. ใบใช้รับประทานสดร่วมกับลาบ ช่วยแก้โรคความดันโลหิตสูง (ใบ)
  7. ช่วยทำให้ระบบหายใจดีขึ้น ไม่เหนื่อยไม่หอบ (ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ใบ)
  9. ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ราก, ก้าน, ใบ)
  10. ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ราก, ก้าน, ใบ)
  11. ช่วยรักษาโรคตา ตาต้อ ตาอักเสบ ตามัว ด้วยการใช้ใบสดล้างให้สะอาด นำมาบด ขยี้ หรือโขลกให้แหลกในครกสะอาด แล้วนำมาพอกตาข้างที่มีอาการประมาณ 30 นาที (เข้าใจว่าพอกตรงเปลือกตา) แล้วล้างออกด้วยน้ำ โดยให้พอกทั้งเช้าและเย็น อาการของตาจะดีขึ้น ดวงตาจะสว่างขึ้น โดยสมุนไพรจักรนารายณ์ที่ปลูกเองไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลง หรือถ้ามีการใช้ปุ๋ยก็ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเก็บใบใช้ในการพอกตา (ใบ)
  12. ช่วยแก้อาการปวดเหงือก ปวดฟัน ปากเป็นผล หรือลำคออักเสบ ให้รับประทานใบสดเป็นยาในช่วงกลางคืนหลังการแปรงฟัน โดยค่อย ๆ รับประทานใบยา เคี้ยวและอมทิ้งไว้สักระยะหนึ่งแล้วค่อยกลืนลงไป เมื่อตื่นมาตอนเช้าอาการปวดจะหายไป อีกทั้งยังช่วยให้ขับถ่ายได้โล่งสบายยิ่งขึ้นอีกด้วย (ใบ)
  13. ใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคในปอด (ราก, ก้าน, ใบ)
  14. ใช้แก้อาการไอ คออักเสบ ด้วยการใช้ใบและก้านประมาณ 10 กรัม ใส่ไข่และน้ำตาลเล็กน้อย ใช้รับประทาน (ใบและก้าน)
  15. ใบอ่อนและยอดอ่อน ใช้รับประทานเป็นประจำ จะช่วยรักษาหรือป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งมดลูกได้ (ใบอ่อน, ยอดอ่อน)
  16. ช่วยขับลมที่แน่นภายในช่องท้อง ด้วยการใช้ใบสดนำมารับประทานในขณะที่มีอาการ (ใบ)
  17. ช่วยรักษาโรคกระเพาะหรือมีอาการปวดท้อง ก็ให้ใช้ใบนำมากินเดี๋ยวนั้น สักพักอาการปวดก็จะหายไป (ใบ)
  18. ใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ได้พอเหมาะ แล้วนำมายัดใส่ทวารหนัก จะทำให้แผลและริดสีดวงหายเร็วขึ้น ติ่งที่โผล่ออกมาจะยุบ และเลือดที่ออกก็จะหยุด (ใบ)
  19. ช่วยรักษาโรคเริม (ใบ)
  20. ช่วยแก้งูสวัด ด้วยการนำใบมาตำกับน้ำตาลทรายแดง เพื่อให้จับตัวกันเป็นก้อน ๆ และไม่หลุดได้ง่าย แล้วนำมาพอกตรงรอยแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือจะนำใบมาคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาสด ๆ หรือใช้ตำพอกเลยก็ได้ (ใบ)
  21. ใช้เป็นยาใส่แผลสดเพื่อห้ามเลือด (ราก, ก้าน, ใบ)
  22. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ราก, ก้าน, ใบ)
  23. ช่วยสมานบาดแผล รักษาแผลภายนอกได้ (เข้าใจว่าคือส่วนของใบ)
  24. ใบนำมาขยี้ทาชโลมให้ทั่วบริเวณที่มีอาการคัน จะช่วยแก้ผดผื่นคัน บรรเทาอาการคันได้ (ใบ)
  25. ช่วยแก้ฝีบวม ฝีร้อน ฝีภายนอก แก้อาการปวดฝี ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น หรือจะใช้ใบสดนำมาตำผสมกับเหล้าแล้วนำมาใช้พอกก็ได้เช่นกัน (ใบสด)
  26. ช่วยบรรเทาอาการอักเสบเนื่องจากเริมและงูสวัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของใบ)
  27. ใบสดนำมาตำให้แหลกผสมกับสุราขาว ใช้สำลีชุบให้เปียกแล้วนำไปปิดบริเวณที่มีอาการปวดหรืออักเสบ แก้ปวดหัวลำมะลอก หรือใช้พอกแก้พิษอักเสบทุกชนิด พิษหัวลำมาลอก แก้พิษตะขาบ พิษจากแมลงป่อง พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย โดยยานี้เมื่อพอกแล้วจะรู้สึกเย็นสบาย และให้พอกประมาณวันละ 2-3 ครั้ง จะเป็นยาดับพิษและดูดถอนพิษได้ดี (ใบสด)
  28. ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำ แล้วนำมาผสมกับเหล้า คั่วให้ร้อน แล้วนำมาใช้เป็นยาพอก หรือจะใช้ใบสดนำมาตำผสมกับเหล้าแล้วนำมาใช้พอกเลยก็ได้ (ใบสด)
  29. หากเป็นมะเร็งให้ใช้ใบนำมารับประทานเป็นผักทุกวัน เช่น การนำมาจิ้มกับน้ำพริก และให้กินก่อนนอนอีก 5-7 ใบ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน จะช่วยทำให้มะเร็งมีขนาดเล็กลง (ใบ)
  30. มีข้อมูลระบุว่าสมุนไพรจักรนารายณ์เป็นสมุนไพรครอบจักรวาล เพราะรักษาได้หลายโรคหลายอาการ โดยมีผู้รับรองว่าโรคที่ใช้สมุนไพรชนิดนี้รักษาหายมาแล้ว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคโลหิตจาง ช่วยฟอกโลหิต ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย ไทรอยด์ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ หอบหืด ตาเป็นต้อ ตาอักเสบ หรือโรคตาต่าง ๆ แก้อาการปวดเหงือก ปวดฟัน ช่วยขับลม โรคกระเพาะอาหาร ขับนิ่ว ริดสีดวงทวารหนัก อาการปวดประจำเดือนของสตรี เนื้องอกต่าง ๆ ในไต งูสวัด แผลสะเก็ดเงิน แผลอักเสบ แผลฝีหนองทั่วไป โรคผิวหนังทั่วไป เกาต์ อาการปวดเส้นปวดหลัง ช่วยทำให้กินได้นอนหลับ และสำหรับคนทั่วไปหรือผู้ที่เป็นโรคเอดส์รับประทานแล้วจะมีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น (ใบ)

วิธีใช้สมุนไพรจักรนารายณ์

  • ใช้ภายใน ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ประมาณ 5-10 ใบ นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา หรือถ้าเป็นยาแห้งให้นำมาบดเป็นผง หรือนำไปดองกับเหล้าโรงใช้รับประทานเป็นยาก็ได้[1] หากเป็นใบสด ให้นำมาล้างให้สะอาด ซับน้ำให้แห้ง แล้วนำมาเคี้ยวกินสด ๆ หรือนำไปใช้ประกอบอาหารรับประทาน หรือจะนำมาผึ่งให้แห้งแล้วนำมาบดหรือตำคั้นเอาแต่น้ำไปนึ่งจนสุก ปล่อยให้เย็นเก็บใส่ขวด ใส่ตู้เย็นไว้จะเก็บได้นาน แต่ที่ได้ผลดีที่สุดก็คือให้กินใบสดประมาณ 3-5 ใบก่อนเข้านอน
  • ใช้ภายนอก ให้ใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น โดยให้เลือกใบสดนำมาล้างให้สะอาด
  • ในวงศ์จักรนารายณ์ ยังมีสายพันธุ์อีกหลายชนิด เช่น Gynura ovalis DC. และ Gynura Sarmentora DC. แต่ชาวบ้านได้นำมาใช้ทดแทนกัน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของจักรนารายณ์

  • มีการศึกษาด้านพฤกษเคมีและคุณสมบัติทางชีวภาพ พบว่าสารสกัดเอทานอลมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม โดยสารที่แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสชนิดนี้คือสารผสมของกรดคาฟีออยควินิก (3, 5- และ 4, 5-di -O-caffeoyl quinic acids) และจากการศึกษาร่วมกับการศึกษาในสัตว์ทดลองก็ไม่พบว่าสมุนไพรจักรนารายณ์มีพิษแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีศักยภาพเป็นยาทาภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือระคายเคืองที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากการแพ้ แมลงสัตว์กัดต่อย และโรคเริม
  • สมุนไพรจักรนารายณ์ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริมในหลอดทดลอง ซึ่งสารกลุ่มที่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม 1, 2-bis-dodecanoyl-3-alpha-D-glucopyranosyl-sn-glycerol, dicaffeoyl quinic acids, sitosteryl- และ stigmasteryl glucosides จึงได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดจากจักรนารายณ์เป็นตัวยาในผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก โดยพบว่าปริมาณไวรัสมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก
  • มีการศึกษาในหลอดทดลองและในหนูทดลองระบุว่า จักรนารายณ์สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาในคน
  • งานวิจัยสมุนไพรจักรนารายณ์ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 โดยพบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์จากส่วนเหนือดินของจักรนารายณ์มีคุณสมบัติต้านการอักเสบในสัตว์ทดลอง และยังพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์หลายชนิด ได้แก่ Kaempferol ในรูปอิสระและไกลโคไซด์, Quercetin ในรูปอิสระและไกลโคไซด์ โดยฟลาโวนอยด์เป็นสารที่อาจแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ จึงได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดจากจักรนารายณ์ 2.5% เป็นตัวยา ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งมักจะมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ โดยพบว่าสามารถช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของอาการได้อย่างมีนัยสำคัญ

ประโยชน์ของต้นจักรนารายณ์
        ใบสดสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดหรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหารได้ เช่น ทำแกงจืด ผัดน้ำมัน ผัดเต้าเจี้ยว หรือใช้เป็นเครื่องเคียงกับขนมจีน ลาบ แหนม ส้มตำ หรือสลัดผัก เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรจักรนารายณ์
       สำหรับผู้ที่ธาตุไฟอ่อน ร่างกายอ่อนแอและมีไข้ ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
       อาหารที่แสลงกับสมุนไพรจักรนารายณ์ ได้แก่ เนื้อ กุ้ง ปู ปลาทู ปลาหมึก ปลาร้า หูฉลาม ข้าวเหนียว กะปิ หน่อไม้ แตงกวา เผือก หัวผักกาด สาเก ของดอง ชาหรือกาแฟ แอลกอฮอล์ เป็นต้น จึงไม่ควรรับประทานร่วมกัน แต่หากจำเป็นต้องรับประทาน ก็ให้รับประทานสมุนไพรจักรนารายณ์ก่อนหรือหลังประมาณ 2 ชั่วโมง

คำสำคัญ : จักรนารายณ์

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จักรนารายณ์. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1592&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1592&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,711

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นมักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 7,502

กัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  สูงประมาณ 12 เมตร เปลือกต้นสีเทาเรือนต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 5-7 คู่ รูปขนาน ปลายและโคนกลมมีขนอ่อนนิ่มทั้งหลังและท้องใบ ดอกช่อออกตามกิ่ง สีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นขาว ออกดอกหลังผลัดใบ ผลฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม มีขนนิ่มปกคลุมยาว 30-40 ซม. มีผนังกั้นระหว่างเมล็ดยุ่น ๆ สีขาวแกมเขียว เมื่อแห้งจะแยกกันเป็นชั้น ๆ ปอกเปลือกออกจะเห็นเป็นรูปเหรียญกลม ๆ มีเมล็ดอยู่ภายใน เขย่าได้ ตลอดฝักเมล็ดกลมลีบแบน  นิเวศวิทยาขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป  ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,331

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร จัดเป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่น ๆ ของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นกระจายอยู่ตามป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,748

เสลดพังพอนตัวเมีย

เสลดพังพอนตัวเมีย

สลดพังพอนตัวเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถา มักเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง ต้นอ่อนเป็นสีเขียว ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นปล้องสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกเหง้าแขนงไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 14,573

งาขาว

งาขาว

งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 4,666

เตยหอม

เตยหอม

เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,910

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ มักพบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้หัวฝังดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดีและมีอินทรียวัตถุ และเป็นไม้ที่เลี้ยงยากและหาดูได้ยาก โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน อาจเลื้อยได้ยาวถึง 5 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,155

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ

ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,292

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,570