กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้ชม 5,476
[16.3937891, 98.9529695, กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย]
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ : เจ้าเมืองสุโขทัยเชื้อสายบ้านโคนเมืองกำแพงเพชร
ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”
ข้อความในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ในหนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 หน้า 17 ได้กล่าวถึงราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ว่า มีมเหสีชื่อนางเสือง โอรสองค์โตเสียชีวติเมื่อยังเล็ก โอรสองค์ที่ 2 พ่อขุนบานเมือง โอรสองค์ที่ 3 พ่อขุนรามคำแหง หรือรามราช องค์ที่ 4 และ 5 เป็นราชธิดา
จากจารึกหลกัที่ 2 และ 1 นั้นไม่ได้กล่าวถึงเชื้อชาติตระกูล หรือถิ่นฐานของพ่อขุนศรีอินทรา ทิตย์ ว่ามาจากที่ใด ตามหลักฐานที่นักประวัติศาสตร์ของการขึ้นครองราชและสิ้นรัชกาลนั้น พอจะสรุปได้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1780-1792 และสิ้นรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 1821หรือ พ.ศ. 1822 (เพราะพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 1821 หรือ 1822)
พระร่วงผู้ครอบครองเมืองสุโขทัยมาจากไหนบ้าง
ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 กล่าวถึงพระร่วงซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุโขทัย มีถึง 3 ราชวงศ์ ได้แก่
1. พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน)
2. พระร่วงจากเมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี)
3. พระร่วงจาก เมืองพิจิตรปราการ (จังหวัดกำแพงเพชร)
พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย จังหวัดลำพูน
จากพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องพระร่วงอรุณราชกุมารเมืองสวรรคโลก ในหนังสือประชุม พงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หนา้ 88-92 มีข้อความที่สรุปได้ว่า พระยาอภัยคามินีราช เมืองหริภุญไชย (ลำพนู) ได้ออกไปจำศีลอยู่ในเขาใหญ่ ได้เสพเมถุน (สังวาส) กับนางนาค (สาวชาวบ้าน) จนเกิดราชบุตรองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “อรุณราชกุมาร” เมื่อโตขึ้นพระยาอภัยคามินีราชให้ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย มีพระนามว่า “พระยาร่วง”
พระยาร่วง ได้เสด็จไปเมืองจีน มีความชอบทางพนัน ชอบเล่นว่าว มีวาจาสิทธิ์ พระร่วงได้ สิ้นพระชนม์ เมื่อคราวที่ทรงเล่นน้ำที่กลางแก่งหลวง แล้วจมหายไป ไม่สามารถจะตามหาพระศพได้ เมื่อปี พุทธศกัราช 1200 จุลศกัราช 152 ปีชวด สัปตศก
พระร่วงจากเมืองละโว้ จังหวัดลพบุรี
จากพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องพระร่วงเมืองสุโขทัย ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หนา้ 99-102 มีข้อความที่กล่าวไว้ว่า นายคงเครา ซึ่งเป็นนายส่วยน้ำดูแลสระน้ำ ทะเลชุบศรที่เมืองละโว้ เป็นน้ำที่ชาวกัมพูชานำไปเสวยทุก ๆ 3 ปีจะมาขน 1 ครั้ง นายคงเครามีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ นายร่วง เป็นคนที่มีวาจาสิทธิ์ หลังจากนายคงเคราเสียชีวิตแล้ว ไพร่ทั้งหลายก็ยกนายร่วงเป็นนายกองบังคับไพร่ดูแลสระน้ำทะเลชุบศรต่อไป
ครั้นเมื่อครบกำหนดมาขนน้ำ นักคุ้มของกัมพูชาควบคุมไพร่มาขนน้ำที่เมืองละโว้ นำเกวียนมา 50 เล่ม แต่ละเล่มใส่ลุ้งน้ำ (ภาชนะใส่น้ำรูปทรงกระบอกเตี้ยๆ) เล่มละ 25 ใบ เมื่อถึงเมืองละโว้ ได้เรียกหา นายคงเคราให้เปิดประตูเพื่อตักน้ำ พบแต่นายร่วงซึ่งไพร่ได้อธิบายว่านายร่วงบุตรของนายคงเคราเป็นผู้ควบคุมดูแลแทน นายร่วงได้บอกนักคุ้มว่าน้ำที่นำมาขนน้ำนั้นจะเสียเวลา ขนน้ำไปได้น้อย ครั้งนี้ให้สานเป็นชะลอมใส่น้ำไปดีกว่า จะได้น้ำทีละมาก ๆ ใช้ได้นาน ไม่ต้องมาขนบ่อย นักคุ้มจึงถามว่าชะลอมตาห่าง จะใส่น้ำได้หรือ นายร่วงกล่าวว่ากลัวจะไม่มีน้ำมาใส่ชะลอมเสียมากกว่า ด้วยความกลัวนักคุ้มจึงเกณฑ์ ไพร่สานชะลอมเล่มละ 25 ใบ ครั้นกำหนดจะเดินทางกลับ จึงเปิดประตูเอาชะลอมจุ่มน้ำแล้วยกขึ้นใส่เกวียน เดินทางไปกัมพูชา มาถึงด่านแห่งหนึ่งคนคุมน้ำมาสงสัยในใจอยู่ว่าชะลอมจะขังน้ำได้หรือ ก็เกิดบันดาลให้มีน้ำไหลล้นออกมาจากชะลอมทุกคนต่างก็เห็นว่ามีน้ำ จึงกล่าวสรรเสริญถึงความสักสิทธิ์ของนายร่วง ในขณะที่กองเกวียนผ่านไปนั้น ผู้คนก็เล่าลือกันว่าชะลอมที่บรรทุกมานั้นมีแต่ชะลอมเปล่า ไม่มีน้ำ เมือถึงกัมพูชา กษัตริย์กัมพูชาเรียกนักคุ้มผู้คุมเกวียนไปสอบถาม นักคุ้มได้ทูลเรื่องราวทุกประการ บรรดานายนายทัพนายกองได้ยกชะลอมที่บรรทุกมานั้นเทลงไปในหม้อน้ำ ก็เกิดมีน้ำเต็มหม้อน้ำและล้นออกมา
กษัตริย์กัมพูชาทรงตกพระทัยเห็นว่านายร่วงเป็นผู้ที่มีบุญมาเกิด จึงคิดจับตัวมาฆ่าเสีย นายทัพนายกองจึงเกณฑ์ทหารไปตามจับนายร่วงรู้ข่าวก็หนีไปทางเมืองพิจิตร ไปถึงสุโขทัยอาศัยวัดอยู่และได้อุปสมบทเป็นภิกษุ จึงได้เรียกว่า “พระร่วง” ทหารขอมที่รับอาสามาจับนายร่วงมาถึงเมืองละโว้ ได้ถามหานายร่วง ชาวบ้านบอกว่าขึ้นไปเมืองเหนือ ทหารได้แยกกันไป ไปถึงเมืองสวรรคโลก ชาวบ้านบอกว่าเขาเล่าลือกันว่าไปอยู่เมืองสุโขทัยบวชเป็นภิกษุอยู่ ครั้นเมื่อตามไปถึงสุโขทัยเห็นพระร่วงกำลังกวาดวัด ทหารขอมจึงถามว่าพระร่วงอยู่ที่ไหน พระร่วงบอกให้คอยอยู่เดี๋ยวจะไปบอก ขอมก็คอยอยู่จนกลายเป็นหินจนถึงวันนี้
เมื่อปีพุทธศกัราช 1502 กษัตริย์สุโขทัยสิ้นพระชนม์ ไม่มีวงศานุวงศ์ เสนาบดีได้ประชุมเพื่อหาบุคคลมาเป็นเจ้าเมือง ก็เห็นแต่พระร่วงบวชอยู่ที่วัดเหมาะที่จะเป็นเจ้าเมืองได้ ก็พร้อมใจกันไปที่วัดเชิญพระร่วงลาผนวช รับพระร่วงเข้ามาครองเมืองสุโขทัย
พระร่วงจากเมืองพิจิตรปราการ (จังหวัดกำแพงเพชร)
จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 177-188 ได้กล่าวถึงพระร่วง องค์หนึ่ง ซึ่งภายหลังได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเจ้าเมืองสุโขทัย โดยมี อัยกา (ปู่) และชนก (พ่อ) เป็นเจ้าเมือง กำแพงเพชร โดยจะขอนำเรื่องราวโดยย่อมาเสนอดังนี้
เมื่อจุลศกัราช 536 (พศ. 1717) พระเจ้าสุริยราชาเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริยราชา ได้มาครอบครองเมืองกำแพงเพชร โดยมีพระโอรสทรงพระนามว่า พระเจ้าจันทรกุมาร อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าจันทรกุมารเสด็จประพาสป่าพร้อมด้วยทหารจำนวนมาก พบหญิงสาวนางหนึ่งมีรูปโฉมงดงาม พระองค์มีความเสน่หา รักใคร่และได้นางนั้น จนเกิดโอรสมีพระนามว่า พระร่วง พระเจ้าจันทกุมาร ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรต่อจากพระเจ้าสุริยราชา เมื่อจุลศกัราช 570 (พ.ศ.1751) ทรงพระนามว่าพระเจ้าจันทราชา ในเวลาต่อมาทรงทิ้งเมืองกำแพงเพชรไปครองเมืองสุโขทัย พระเจ้าจันทราชาขึ้นครองราชย์ได้ 30 ปี ก็สิ้นพระชนม์ พระร่วงได้ขึ้นครองราชเป็นเจ้าเมือง สุโขทัยต่อมา เมื่อ พ.ศ. 1781
ในปลายรัชกาลนั้น มีชาวมอญชื่อมะกะโท เขา้มาคา้ขายในเมืองสุโขทัย แล้วเลิกเข้าไปฝากตัวอยู่กับนายช้างพระที่นั่งโรงใน ช่วยดูแลรักษาเก็บกวาดมูลช้างทำให้โรงช้างสะอาดอยู่เสมอ นายช้างให้ความเมตตารักใคร่ นายมะกะโท ทำความดีเรื่อยมาจนเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้า จนได้เลื่อนให้มะกะโท ขึ้นเป็นขุนวัง ตำแหน่งกรมวัง มะกะโทมีความรักใคร่พระนางสุพรรณเทวี พระราชธิดาของพระร่วงเจ้า จึงตัดสินใจพาพระราชธิดานั้นหนีออกจากสุโขทัยไปอยู่ที่บ้านตะเกาะวุนซึ่งเป็นบ้านเดิมของตน ในเวลาต่อมาด้วยอำนาจวาสนาของมะกะโท ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองเมาะตะมะ ทรงพระ นามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว
พระร่วงได้ครองราชยสมบัติเป็นเป็นสุขมาช้านาน เมื่อแรกขึ้นครองราชยส์มบัติมีพระชนม์ ได้ 35 พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ 35 พรรษา รวมพระชนมาย ุ75 พรรษาก็เสด็จสวรรคต
พระร่วงจากกำแพงเพชร คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เจ้าเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” จากศิลาจารึก และ “พระร่วง” จากประชุมพงศาวดาร ย่อมเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยอาศัยหลักฐานต่อไปนี้
1. พระร่วงได้ขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 1781-1821 ซึ่งตรงกับศักราชที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์ตามที่นักประวัติศาสตร์ตรวจสอบไว ้
2. พงศาวดารพม่าได้บันทึกว่า มะกะโท เข้ามารับราชการที่กรุงสุโขทัยกับพระร่วง เมื่อ พ.ศ. 1815 ซี่งเป็นช่วงที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยังครองเมืองสุโขทัยอยู่
3. จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ในหนา้ 112-113 มีข้อความตอนหนึ่งเชื่อว่าพ่อขุน ศรีอินทราทิตย์ ประสูติที่บ้านโคน กำแพงเพชร ดังข้อความต่อไปนี้
“ ได้ยินว่าที่ตำบลที่บ้านโคน ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนาง เทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่จะร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้น จึงเกิดบุตรชายหนึ่งและบุตรชายคนนั้น มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าร่วง”
ผู้แปลหนังสือเล่มนี้มีคำอธิบายว่า บ้านโค อาจเป็น บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ : กำแพงเพชร
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย. สืบค้น 24 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1292&code_db=610001&code_type=01
Google search
พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แก่พระยากำแพงเพชร (นุช ) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,245
เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,058
นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)
เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 5,750
เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,755
เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,778
ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,530
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,527
เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,397
ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,532
พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย
เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 1,145