ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 2,250

[16.3630433, 99.6451875, ประวัติบ้านโคน]

ประวัติความเป็นมาของบ้านโคน 
          ประวัติบ้านโคน การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งช่วงประวัติของหมู่บ้านออกเป็น 3 ช่วง ตามประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของชุมชน วัฒนธรรมพื้นบ้านสังคมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 
          ยุคแรกเริ่ม 
          ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ 
          บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 
          สัญนิฐานว่าเป็นเมืองคณฑี แรกเริ่มมีครอบครัวประมาณ 5 – 10 ครัวเรือน และห่างออกไปบริเวณวัดกาทึ้ง มีประชากรตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มๆ มีวัดกาทึ้งเป็นศูนย์กลาง ต่อมาพม่าเข้ามาทำศึกกับทางกรุงศรีอยุธยา ทัพพม่าได้ทำลายวัตถุโบราณและบ้านเรือน ทำให้ชาวบ้านแถบนั้นหนีเข้าป่าหรือไม่ก็อพยพไปอยู่ที่อื่น เมื่อสงครามสงบศึก ผู้คนที่หลงเหลืออยู่ได้มาจองที่ดินและขนวัตถุโบราณมาไว้ที่วัดปราสาทและมาตั้งบ้านเรือนแถบลุ่มแม่น้ำปิง มาปฏิสังขรณ์วัดปราสาทแทนในช่วงนั้นมีวัดที่สำคัญในบริเวณบ้านโคนอยู่ 4 วัด ดังนี้   
           1. วัดช้างแก้ว เป็นวัดแรกที่มีในบริเวณนี้แต่ถูกพม่าเผาทำลายเพียงแต่ซากเล็กน้อยเท่านั้น 
           2. วัดท่าชัย ปัจจุบันไม่เหลือซากแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าเคยมีพระใหญ่ตั้งอยู่บริเวณต้นโพธิ์ ( ปัจจุบันเป็นเหมืองสูบน้ำข้างปราสาทอนุสรณ์ ) แต่พระพุทธรูปโบราณได้พังลงแม่น้ำปิงไปแล้ว 
           3. วัดกาทึ้ง     
           4. วัดปราสาท เป็นวัดที่สร้างหลังสุด วัดกาทึ้งและวัดปราสาทจะได้กล่าวถึงในช่วงตำนานหรือนิทานที่เกี่ยวข้อง
          ยุคการคมนาคมทางน้ำเจริญรุ่งเรือง
          หลังจากที่มีการติดต่อทางน้ำระหว่างกรุงเทพมหานครกับชุมชนบ้านโคนมากขึ้น ทำให้แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญใช้ในการคมนาคม ต่อมาชุมชนเริ่มขยายขึ้น มีประชากรที่อพยพมาจากวัดกาทึ้งมาสมทบเพิ่มมากขึ้นและได้ถือเอาวัดปราสาทเป็นศูนย์กลางของชุมชน เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มมีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ โดยการคมนาคมนั้นใช้การคมนาคมทางน้ำ ในสมัยนั้นจะมีเรือเหลืองและเรือแดง ซึ่งเป็นเรือกลไฟสำหรับโดยสาร ราคาโดยสารนั้นเรือแดงจะแพงกว่าเพราะเป็นเรือกลไฟมีความรวดเร็ว  นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าชาวจีนที่ล่องเรือมาขายสินค้า โดยสินค้าที่นำมาขาย ได้แก่ เครื่องแต่งตัว เครื่องใช้ในครัวเรือนและอาหาร โดยสินค้าที่นำมานี้จะรับมาจากที่ต่างๆ แล้วมาขายต่ออีกทีหนึ่ง 
          ในช่วงสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “ สมเด็จพระพันปี “ หรือ “ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “ ทรงเสด็จประพาสต้นเมื่อเสด็จผ่านชุมชนจึงเสด็จขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดปราสาท โดยกำนันได้เกณฑ์ชาวบ้านไปตัดไม้มาทำพลับเพลารับเสด็จที่หน้าวัด พระองค์เสด็จขึ้นที่วัดปราสาทนมัสการหลวงพ่อโต แล้วทรงเสด็จยังวัดกาทึ้ง เพื่อนมัสการโบราณสถาน พระองค์สันนิษฐานว่า บริเวณแถบนี้เคยเป็นบ้านเมืองโบราณมาก่อน ( ตามเสด็จประพาสต้นรัชกาลที่ ๕ ณ จังหวัดกำแพงเพชร  ) ในสมัยนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นป่า โดยเริ่มตั้งแต่ทางทิศใต้ถึงท่าเสลียง ทางเหนือถึงโขมงหัก ทางทิศตะวันออกไปจนถึงบ่อทองเป็นป่าเกือบทั้งหมด 
          ประชาชนของชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ทำนาทำไร่ และทำไม้ แต่ที่ทำกันมากที่สุดคือ “ การทำไม้ “ ผู้ที่มีอาชีพทำไม้ในสมัยนั้นได้แก่ นายสุขขัง เกิดพันธ์ นายพุดซ้อน เกิดสว่าง นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นต้น โดยแต่ละคนที่ทำไม้จะต้องทำเรื่องขอสัมปทานทำไม้จากรัฐบาลเสียก่อน และมีการกำหนดอาณาเขตในการทำไม้ ไม้ที่ทางรัฐบาลอนุญาตก็ได้แก่ ไม้แดง ไม้รัง ไม้เต็ง ไม้เหี้ยง ไม้พลวง ฯลฯ แต่ที่ไม่อนุญาตให้ตัด คือ ไม้สัก เพราะเริ่มเป็นไม้ที่หายาก  เมื่อผู้รับสัมปทานได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก็จะนำลูกน้องเข้าไปตัดไม้ในบริเวณที่ได้รับอนุญาตโดยจะใช้ช้างและควายลากไม้ออกจากป่า มาทิ้งไว้ที่ริมแม่น้ำปิง แล้วก็จะมัดไม้ทั้งหมดที่ตัดมาทำเป็นแพล่องแม่น้ำปิงไปขาย โดยมากพ่อค้าไม้จะไปขายกันที่ตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เพราะเป็นแหล่งรวมที่ค้าไม้ ( มวน อินทรสูตร, 2541 : สัมภาษณ์ ) ถ้าไปไกลหน่อยก็จะไปขายกันในแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะได้ราคาดีขึ้น 
          ยุคนี้เป็นยุคที่ชุมชนบ้านโคนเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากการเป็นชุมชนระหว่างเส้นทางคมนาคม และเป็นชุมชนค้าไม้จะเห็นได้จากการมีบ้านคหบดีจากการค้าไม้ 2 – 3 หลัง 
          ยุคหลังการตัดถนนกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ – ขาณุวรลักษบุรี 
          เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นประกอบกับความเจริญด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากจึงมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเปลี่ยนไปคือ ในชุมชนเริ่มมีประชากรเพิ่มมากขึ้น โดยประชากรเหล่านี้ก็ได้ย้ายบ้านเรือนจากบริเวณริมแม่น้ำปิง พอในช่วงที่ตั้งของชุมชนได้ถูกแม่น้ำปิงกัดเซาะประชากรของชุมชนจึงต้องย้ายบ้านเรือนหนีการกัดเซาะของแม่น้ำมาเรื่อยๆ ส่วนลูกหลานที่แต่งงานกันต้องการจะออกเรือน ผู้เป็นพ่อกับแม่ก็ยกที่ดินแถบบริเวณตะวันออกของหมู่บ้านให้ปลูกเรือน และในช่วงนั้นได้มีการตัดถนนลูกรังผ่านหมู่บ้าน จึงทำให้ปลูกเรือนอยู่บริเวณสองฟากถนนมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นเริ่มมีรถโดยสารประจำทางระหว่างชุมชนกับเมืองกำแพงเพชร  ต่อมามีการสร้างถนนลาดยางสายกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ ผ่านชุมชนบ้านโคนในปี พ.ศ. 2524 ยิ่งทำให้มีประชากรอพยพมาอยู่ริมถนนมากขึ้น การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดบทบาทลงเพราะล่าช้า ไม่สะดวกประชากรเริ่มหันมาใช้การคมนาคมทางบกแทน เพราะมีความสะดวกรวดเร็วกว่า และมีรถโดยสารประจำทางระหว่างตัวเมืองกำแพงเพชรจึงทำให้ลักษณะหมู่บ้านเริ่มเปลี่ยนไป คือ มีลักษณะการตั้งบ้านเรือนตามแนวยาวของถนนแทนที่การตั้งบ้านเรือนแบบยาวตามลำน้ำ  ส่วนบ้านโคนเหนือนั้นในช่วงที่การทำไม้เริ่มหมดไป กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ได้พาญาติพี่น้องอพยพไปตั้งบ้านเรือนบริเวณไร่นาของบิดา ( บ้านโคนเหนือ ) ในตอนแรกที่อพยพไปมีครอบครัวตั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ 5 ครอบครัว พอกำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ และญาติพี่น้องพร้อมกับคนงานเข้าไปสมทบก็ประมาณราวๆ 20 ครัวเรือน  กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นคนที่มีที่ดินมากหลายร้อยไร่ ก็ชวนชาวบ้านในแถบอื่นๆ เข้ามาตั้งบ้านเรือนสมทบ โดยได้แบ่งที่ดินขายให้ราคาถูกเพื่อจะได้มีเพื่อนบ้านเพราะในสมัยนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุม มีการปล้นสดมบ่อยครั้ง จะได้มีเพื่อนบ้านไว้คอยต่อสู้กับพวกผู้ร้าย ต่อมาในบริเวณที่กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ไปตั้งถิ่นฐานชาวบ้านเรียกว่า “ บ้านโคนเหนือ “

คำสำคัญ : บ้านโคน

ที่มา : http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=125

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติบ้านโคน. สืบค้น 17 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1121&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1121&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,410

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,320

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,414

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,435

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,400

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,195

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,527

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 247

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,721

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,612