เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร

เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 2,840

[16.3937891, 98.9529695, เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร]

          โอม บรเมศวราย ผายผาหลวงอะคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าภิฆจรรไร

           กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครอง สัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น คือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก
          พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2053 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สูง 210 เซ็นติเมตร เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นผู้หล่อขึ้น ลักษณะของเทวรูปพระอิศวร เมืองกำแพงเพชร มีพระพักตร์ดุพระพักตร์รูปสี่เหลี่ยม แสดงถึงพระราชอำนาจ มีพระมัสสุ (หนวด) มีเครา ปรากฏชัดเจน ลักษณะของผ้าทรงมีอิทธิพลของศิลปะเขมรสมัยปลายรัชสมัยพระจ้าชัยวรมันที่ 7 กรองศอและสายรัดพระองค์มีอุบะสั้นๆ ห้อยประดับผ้าโจงกระเบนที่นุ่งสั้นมีชายผ้าเป็นสามเหลี่ยมห้อยอยู่ข้างหน้า กรรเจียกหรือรัดเกลา้ข้างพระเศียรเหนือพระกรรณ (หู) ไม่เคยปรากฏในเทวรูปสมัยสุโขทัย
          พระอิศวรแต่เดิมประดิษฐานอยู่บริเวณศาลพระอิศวร เยื้องหลังที่ว่าการอำเภอเมืองในปัจจุบันสภาพรกร้าง และถูกทำลายโดยสิ้นเชิง และถูกโจรกรรมไปเพื่อนำไปต่างประเทศ ในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ติดตามคืนมาและนำไปไว้ที่กรุงเทพมหานครชั่วคราว ในที่สุดนำมาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชรในปัจจุบัน ส่วนพระอิศวรที่ประดิษฐาน ณ ศาลพระอิศวร ที่เห็นทุกวันนี้ ได้หล่อขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ที่ระลึก ณ ศาลพระอิศวร เมืองกำแพงเพชร เป็นองค์พระอิศวร แทนให้ประชาชนได้สัการะบูชา         
           จากจารึกที่ฐานเทวรูปพระอิศวร พระองค์นี้ เรียกว่าจารึกหลักที่ 13 จารึกไว้ความตอนหนึ่งว่า เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ประดิษฐานพระอิศวรเป็นเจ้านี้ไว้ให้ครองสัตว์สี่ตีน สองตีนในเมืองกำแพงเพชร จารึกฐานพระอิศวร องค์นี้ทำให้เราทราบถึงประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจน ทำให้เราภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเราที่บันทึกประวัติศาสตร์ ไว้บนฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือเทวรูปพระอิศวร ทำให้จารึกสำคัญนี้สามารถอยู่ได้มาถึงจนสมัยปัจจุบัน ประวัติศาสตร์กำแพงเพชรจึงสว่างและชัดเจนขึ้น ด้วยพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร นอกจากพระอิศวรจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมีหลักฐานมา จารึกหลกัที่ 13 เรียกตามลักษณะของการจารึกว่า จารึกบนฐานพระอิศวร ซึ่งหล่อด้วยสำริด 
           ศิลาจารึกหลักนี้จารึกไว้ เมื่อ พ.ศ.2063 ด้วยตัวอักษรไทย ภาษาไทย จารึกไว้ที่ฐานรองบาทพระอิศวร มีตัวอักษร 3 บรรทัด จารึกเรียงเป็นบรรทัดความสำคัญตามลำดับโดยรอบ ในอดีตองค์พระอีศวรสำริดและจารึกประดิษฐานไว้ที่เทวสถาน ประชาชนเรียกว่า "ศาลพระอิศวร" ตั้งอยู่ข้างหลังศาลจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเคยถูกคนร้าย ลักตัดเศียรและพระหัตถ์จะส่งไปต่างประเทศถูกจับได้ที่กรุงเทพฯ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งองค์ พระอิศวรลงไปไว้ที่กรุงเทพฯ จนเมื่อมีการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงอัญเชิญรูปหล่อพระอิศวรสำริดขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดกำแพงเพชร จนทุกวันนี้ 
            เนื้อหาคำอ่านของศิลาจารึกหลักที่ 13 ตามเอกสารประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ของคณะกรรมการพิจารณา และจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี มีดังนี้ 
             "ศักราช 1432 มะเมียนกษัตร อาทิตยพารเดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ได้หัสตฤกษ์ เพลารุ่งแล้ว 2 นาฬิกา จึง เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชประดิษฐานพระอิศวรเป็นเจ้านี้ไว้ให้ครองสัตว์สี่ตีนสองตีนในเมืองกำแพงเพชร และช่วยเลิกศาสนาพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์และเทพกรรมมิให้หม่นให้หมองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว และซ่อมแปลงพระมหาธาตุและวัดบริพารในเมืองนองเมือง และที่แดนเหย้าเรือนนถนนถลา อันเป็นอันตรธานไปเถิงบางพนานขุดแม่ไตรบางพร้อ อนึ่งแต่ก่อนย่อมขายวัวไปแก่ละว้า อันจะให้ขายดุจก่อนนั้น ก็ห้ามมิให้ขาย อนึ่งเมื่อทำนาไซร้ ย่อมข้าวพืชข้าวในนานั้นปลูกเอง มิได้เอาในยุ้งมีหว่านไปดำดังทั้งหลาย อนึ่งท่อป่พระยาร่วงทอำเอน้ำไปเถิงบางพรานนั้น ก็ถมหานสิ้นและเขาย่อมท านาทางฟ้าและหาท่อนนั้นพบกระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนา ให้เป็นนาเหมืองนาฝาย มิได้เป็นทางฟ้า อันทำทั้งนี้ถวายพระราชกุศลแต่สมเด็จบพิตร พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ฯ"          
             การเฉลิมฉลอง พระอิศวรเมืองกำแพงเพชร กำหนดเฉลิมฉลอง เมื่อครบ 500 ปี เมื่อปี 2553 แต่ในที่สุด เลื่อนมา อีก 4 ปี มาเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ที่กำแพงเพชรของเรา
             พระอิศวร เป็นเทวรูปที่ชาวกำแพงเพชรสักการะมาช้านาน สิ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกำแพงเพชร ในทุกวันสงกรานต์จะมีการบวงสรวงและสรงน้ำพระอิศวรทุกปี  เป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกำแพงเพชรนับถือมากที่สุดมาหลายชั่วอายุคน พระอิศวรเมืองกำแพงเพชรที่คนกำแพงเพชร ไม่รู้ลืม

คำสำคัญ : พระอิศวร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 28 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1284&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1284&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องมีตัวตนจริงๆ ที่บ้านปากคลอง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราวพศ. ๒๔๒๐ และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา ๔ คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 5,055

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,919

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,973

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,620

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,913

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 865

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,160

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,972

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,161

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 834