ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้ชม 261

[16.4196308, 99.1705869, ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร]

เจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ เฉพาะเท่าที่สามารถตรวจสอบได้จากจารึกพงศาวดาร และเอกสารทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเท่านั้น มีดังนี้
      (1) พระยางั่ว                                            ก่อน พ.ศ. 1890
      (2) พระยาคำแหง                                       ราวปี พ.ศ. 1916
      (3) พระยาญาณดิศ                                     ราวปี พ.ศ. 1921
      (4) เจ้านครอินทร์                                       ราวปี พ.ศ. 1940
      (5) พระยาบาลเมือง                                    ราวปี พ.ศ. 1962
      (6) พระยาแสนสอยดาว                                ราวปี พ.ศ. 1963
      (7) พระยาศรีธรรมโศกราช                             ราวปี พ.ศ. 2053
      (8) ออกญารามรณรงค์สงครามอภัยพิรียะพาหะ      ราวปี พ.ศ. 2178

หลักฐานแสดงความเป็นมา
       1. พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย
       2. พระยาคำแหง ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งกรุงสุโขทัย ปรากฎหลักฐานในประชุมพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า ในปี พ.ศ.1916 และ พ.ศ. 1919 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) เสด็จไปตีชากังราว พระยาคำแหง เจ้าเมืองซากังราว สามารถยกพลเข้าต่อสู้จนกองทัพอยุธยาต้องยกทัพกลับทั้งสองคราว แสดงว่า พระยาคำแหงเป็นเจ้าเมืองชากังราวอยู่ระหว่าง พ.ศ.1916-1919 อย่างชัดเจน
       3. พระยาญาณดิศ ในปี พ.ศ.1921 ตามพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) ยกทัพมาตีชากังราว พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงยอมแพ้และออกมาถวายบังคม กรุงสุโขทัยต้องขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้จัดแบ่งสุโขทัยออกเป็น 2 ภาค โดยให้พระมหาธรรมราชาที่ 2 ปกครองอาณาเขดทางลำน้ำยมและน่าน โดยมีพิษณุโลกเป็นเมืองเอกภาคหนึ่ง ส่วนด้านลำน้ำปิงให้พระยายุทิษฐิระราชบุตรบุญธรรมเป็นผู้ปกครอง คือบริเวณตากและกำแพงเพชร โดยมีเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอก และเข้าใจว่าเมืองชากังราว เมืองนครชุม ตลอดจนเมืองอื่นคงจะรวมกันเป็นเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่นั้นมา พระยายุทิษฐิระ หรือที่เรียกกันว่าพระยาญาณดิศก็เป็นเจ้าเมืองครองเมืองกำแพงเพชร ในราวปี 1921
       4. เจ้านครอินทร์ในเรื่องเจ้านครอินทร์เป็นเจ้าครองเมืองกำแพงเพชร อาจารย์พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี กรมคิลปากร ได้นำเสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 บทความเรื่องความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชรว่า…."พ.ศ. 1940 ในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือกฎหมายลักษณะโจะได้แสดงความยิ่งใหญ่ทางการปกครองของกษัตริย์ผู้เสวยราชย์ที่เมืองกำแพงเพชร ทรงพระนาม...จักรพรรดิราชผู้นำหลักกฎหมายหลักนี้มาประกาศไว้ ท่ามกลางเมืองสุโขทัย" และได้ให้ข้อคิดเห็นว่า "กษัตริย์กำแพงเพชรผู้นี้คือ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองกรุงศรีอยุธยา...มีเหตุผลชักจูงให้คิดว่า สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ได้เคยมาครองราชย์สมบัติที่เมืองกำแพงเพชรนั้น คือ.... พระนามจักรพรรดิ์ ปรากฎว่าเป็นพระนามอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ในสุพรรณบัฏ พบที่พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุสุพรรณบุรี" ความจริงอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอเหตุผลไว้หลายข้อ แด่เฉพาะข้อนี้ก็พอที่จะสันนิษฐานได้ว่า พระนามจักรพรรดิราช คือพระนามสมเด็จพระนครินทราชาธิราช และพระนามนี้ ก็คือ พระนามของเจ้านครอินทร์ก่อนขึ้นเสวยราชย์ที่กรุงศรีอยุธยา และเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1940
       5. พระยาบาลเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ บันทึกเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ของพระยาบาลเมืองไว้ ตอนหนึ่งว่า "ในปี พ.ศ.1962 พระอินทรราชาธิราชที่ 1 เสด็จขึ้นไปปราบจลาจลเมืองเหนือ แล้วโปรดเกล้าฯให้พระยารามคำแหง ครองเมืองสุโขทัยให้พระยาบาลเมือง ครองเมืองชากังราว พระยาบาลเมือง จึงเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 1962
       6. พระยาแสนสอยดาว เรื่องราวความเป็นมาของเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้นี้ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้เสนอไว้ในเอกสารพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เรื่อง ความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชร “จารึกสมเด็จพระมหารัตนโมลี" ซึ่งพบที่พระเจดีย์เก่า วัดพระยืนกำแพงเพชร และได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือจารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ.2529 ได้กล่าวถึงเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้หนึ่ง ชื่อว่า"สมเด็จพระญาสอย" ได้ขึ้นเสวยราชย์ในเมืองกำแพงเพซร เมื่อ พ.ศ. 1963 สมเด็จพระญาสอย ผู้นี้น่าจะตรงกับชื่อ พระยาแสนสอยดาว เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งปรากฎฏชื่อพร้อมเจ้าเมืองอื่น ๆ อีก 3 เมือง ในแควันสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1983 ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ : เลขที่ 222.2/ก 104 จ.ศ.801-803 มัดที่ 27 และจารึกลานเงินที่มีผู้ได้ที่วัดพระมหาธาตุ ในบริเวณวัดพระแก้วระบุว่า เจ้าแสนสอยดาวเป็นผู้สร้างวัดนี้ พระยาแสนสอยดาวคือเจ้าเมืองกำแพงเพชรตามจารึก
       7. พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้สร้างพระอิศวร บูรณะซ่อมแชมและพัฒนาบ้านเมือง มีการทำชลประทานไปถึงเมืองบางพาน ในปี พ.ศ. 2053 ตามจารึกที่ฐานพระอิศวร พระญาศรีธรรมโศกราช จึงน่าจะเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในสมัยนั้น
       8. ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะ เมืองกำแพงเพชร ตามหลักฐานในกฎหมายตามสามดวง ที่ ตร.ประเสริฐ ณ นคร เสนอไว้ในรายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร วิทยาลัยครูกำแพงเพชร 7-9 กุมภาพันธ์ 2527 หน้า 266-267 กล่าวถึงกฎหมายดราสามดวงที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าเมืองของท่านผู้มีความชอบไปรั้ง ไปครองเมืองกำแพงเพชร พิชัย..หน้า 175 นายทหารหัวเมือง (ควรเป็น พ.ศ.2021) ออกญารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิรียะพาหะเมืองกำแพงเพชร เมืองโท 10,000 ขึ้น ประแฎงเสนาฎขวา" เจ้าเมืองท่านนี้ จึงน่าจะเป็นผู้ครองเมืองในปี พ.ศ. 2178

คำสำคัญ : ทำเนียบ กำแพงเพชร เจ้าเมืองชากังราว

ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2566). ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร. สืบค้น 30 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2203&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2203&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,615

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 14,767

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 859

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,648

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,423

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,920

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,986

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,973

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,589

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,396