ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 876

[16.4264988, 99.2157188, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)]

           บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ ครั้นจะรออยู่ค้นหาต่อไปก็ไม่มีเวลาพอ จึงได้ขอให้พระวิเชียรปราการจัดหาคนที่รู้จักภูมิประเทศ เที่ยวตรวจคนดูทางเหนือเมืองกำแพงเพชรขึ้นไป ว่าจะหาอะไรที่พอจะสันนิษฐานว่าเป็นเมืองได้บ้างหรือไม่ แล้วก็ออกเดินทางต่อไป ฝ่ายพระวิเชียรปราการได้ไปด้วย ถึงที่บ้านพรานกระต่ายพบสนทนากับขุนภักดีนายอำเภอ ตกลงเป็นสั่งให้ขุนภักดีไปตรวจค้นหาเมืองตามที่ข้าเจ้าแนะนำ ขุนภักดีได้ไปเที่ยวตรวจค้นจนพบ แล้วรีบตามไปที่สวรรคโลก บอกว่าได้พบเมืองโบราณเมืองหนึ่งอยู่เหนือเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปประมาณ 200 เส้นเศษเป็นเมืองย่อมๆ เป็นคูและเทินดิน ราษฎรแถบนั้นเรียกว่าเมืองเทินทอง หรือชุมนุมกองทอง เมืองนั้นตั้งอยู่ริมลำน้ำเรียกว่าคลองเรือ ปากคลองทะลุลำน้ำแควน้อย และมีถนนจากเมืองนั้นไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แต่มาขาดเสียกลางทาง นี่เป็นพยานอยู่ว่าการที่สันนิษฐานไว้นั้นถูกต้องแล้ว..” เคยมีการสำรวจวัดลั่นทม วัดเขาพระ บริเวณค่ายลกูเสือจังหวัดกำแพงเพชร ได้พบร่องรอยและซากโบราณสถานที่อยู่บนเนินเขา แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นสิ่งก่อสร้างใด มีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จมาเมืองกำแพงเพชร เมื่อวนัที่ 16 มกราคม 2450 และเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง พร้อมทั้งได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางเอาไว้ในหนังสือ เที่ยวเมืองพระร่วง ในบทพระราชนิพนธ์ของพระองค์ทรงตั้งข้อสงัเกตเอาไว้วา่บริเวณเหนือเมืองกำแพงเพชร ขึ้นไปนา่จะมีเมืองโบราณตั้งอยู่แต่เดิมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐานวา่เมืองเนินทองที่อยู่ที่ตำบลหนอง ปลิงนั้น คือเมืองเชียงทอง เมืองโบราณที่อยู่ในเส้นทางเสด็จของพระมหาสมีสังฆราชที่เสด็จ ผ่านเมืองเชียงทอง เมืองจันทร เมืองพาน เมืองวาน ถึงเมืองสุโขทัย แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า เมืองเชียงทอง ปัจจุบันคือเมืองที่อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดตาก (ในอดีตเมืองเชียงทองเป็นเมืองบริวารของกำแพงเพชร) ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำปิง
            จากการศึกษาร่องรอยของประวัติศาสตร์จะพบวา่ จะมีแนวถนนสายหนึ่งตั้งต้นออกจากเมือง กำแพงเพชรตัดผ่านเข้าไปในกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่บริเวณอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ในท้องที่ของตำบลหนองปลิง โบราณสถานขนาดใหญ่เหล่านั้นตั้งเรียงรายอยู่บริเวณทางด้านทิศเหนือของตัวเมือง อันได้แก่ วัดป่ามืด วัดพระนอน และวัดพระสี่อิริยาบถ แนวถนนตัดขึ้นไปทางด้านทิศเหนือผ่านวัดช้างรอบ แล้วตัดออกไปจนถึงเมืองเนินทอง บ้างก็เรียกวา่เมืองกองทอง หรือเมืองเทินทอง และอาจเป็นสุพรรณภาวตามจารึกก็เป็นได้ เมืองเนินทองเป็นเมืองโบราณขนาดย่อม มีเกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชรโดยอาจเป็นเมืองบริวารล้อมรอบ ซึ่งเมื่อศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจะพบว่าเมืองกำแพงเพชรมีเมืองบริวารล้อมรอบทั้ง 4 ด้านดังนี้
           ด้านทิศเหนือ เมืองเทินทอง หรือเมืองเนินทอง อยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร
           ด้านทิศตะวนัตก เมืองโนนม่วง อยู่ที่ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร
           ด้านด้านทิศตะวันออก เมืองบางพาน อยู่ที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย
           ด้านทิศใต้  เมืองเทพนครหรือคณฑี อยู่ที่ตำบลคณฑี อำเภอเมืองก าแพงเพชร
           เหตุที่เมืองกำแพงเพชรต้องมีเมืองบริวารล้อมรอบเพื่อให้เมืองเหล่านั้นหน้าที่เป็นป้อมปราการ ป้องกันและดูแลบริเวณรอบนอก และเมื่อข้าศึกเข้ามารุกรานทางเมืองกำแพงเพชรสามารถส่งกำลังเข้าไปช่วยเหลือได้ทัน ทำให้ข้าศึกเข้าถึงเมืองกำแพงเพชรได้ยากขึ้น ลักษณะของเมืองเนินทองหรือเมืองเทินทอง เมืองหน้าด่านของเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางด้านทิศเหนือของเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่บนเนินเขาขนาดย่อม ไม่สูงมากนัก บริเวณเขตเมืองทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีลำน้ำคลองบางทวนไหลผ่านออกมาบรรจบกับแม่น้ำปิง ทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศเหนือสำหรับตรวจตราและตั้งรับข้าศึกที่จะยกกองทัพมาทางแม่น้ำปิง ก่อนที่จะเข้าถึงเมืองกำแพงเพชร ที่ตั้งของเมืองเนินทองหรือเทินทอง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร มีการก่อสร้างทับซ้อนซากโบราณสถานและแปรเปลี่ยนสภาพไปจนเกือบไม่เหลือร่องรอยใดๆ คูน้ำและคันดินรอบเมืองถูกไถกรบจนไม่ปรากฏร่องรอยให้เห็น และในปัจจุบันมีเอกชนและหน่วยราชการเข้าไปใช้พื้นที่ ส่วนหนึ่งเป็นวัดลั่นทม และสำนักสงฆ์ ซึ่งเป็นวัดใหม่ที่สร้างแทนซากโบราณสถานร้างบนเนินเขา ส่วนทางด้านที่ราบชายเนินเขาเป็นค่ายลกูเสือจังหวัดกำแพงเพชร และสวนส้มของเอกชน สิ่งที่สูญหายไปแล้วย่อมเป็นเรื่องยากที่จะเรียกร้องให้กลับคืนมา แต่สิ่งที่ยังคงเหลืออยู่ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คนรุ่นหลงัจะต้องมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแล และหวงแหนเอาไว้เพื่อความภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของบรรพชนที่ได้สร้างสรรค์เอาไว้ในท้องถิ่นตน 

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง, เนินทอง, หนองปลิง

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง). สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1310&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1310&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,254

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,374

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง คือ หลักใจของคนกำแพงเพชร เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดลำบากเดือดร้อนก็จะไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อช่วยเหลือเหลือคุ้มครอง เจ้าพ่อหลักเมืองก็จักช่วยเหลือคุ้มครองทุกครั้ง จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วบ้านทั่วเมืองแม้คนต่างจังหวัดก็มาขอความช่วยเหลือจากเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร แม้ลำบากไกลแสนไกลก็ดั้นด้นกันมาพึ่งบารมีเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองเมืองกำแพงเพชรมาทุกยุคทุกสมัย อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณในการสร้างบ้านแปงเมือง

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,058

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,941

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,244

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,364

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,850

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 850

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,901

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,459