ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 5,041

[16.4258401, 99.2157273, ประเพณีเทศน์มหาชาติ]

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า มหาชาติมีหลักฐานครั้งแรก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงโปรดให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิต แต่งมหาชาติคำหลวงขึ้น เป็นวรรณกรรมชั้นสูง เดิมใช้สวด ต่อมาพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้ แต่งกาพย์มหาชาติ เพื่อใช้เทศน์ และในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการแต่งมหาชาติกลอนเทศน์ ซึ่งใช้เทศน์ในปัจจุบันทำให้เป็นประเพณี การเทศน์มหาชาติสืบต่อกันมานับพันปี มีความชื่อว่า การได้มีโอกาสฟังเทศน์ มหาชาติครบ 13 กัณฑ์ ในหนึ่งวันถือว่าเป็นอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นการยากมาก เพราะถือว่าเป็นการอดทนอย่างสูงที่ทำได้ และมีความเชื่อว่าจะได้ไปเกิดในศาสนาพระศรีอารย์ ศาสนาพระศรีอารย์ เป็นสังคมในอุดมคติ เป็นศาสนาใหม่จะมาถึงเมื่อพระพุทธศาสนาสิ้นไป เมื่อพุทธศักราช 5000 พุทธศาสนิกชน ทุกคนมีความใฝ่ฝันที่จะได้เกิดในศาสนาพระศรีอารย์ นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่มากว่าถ้ามนุษย์สามารถฟังเทศนามหาชาติ ที่มีตัวอย่างเช่น พระเวสสันดร ซึ่งมีความตั้งใจ ว่าจะให้ทานทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ ลูกเมีย คนใดก็ตามที่ละ สิ่งเหล่านี้ได้ย่อมมีคุณอันยิ่งใหญ่ต่อตนเองและผู้อื่น สมควรมารจะเกิดในศาสนาพระศรีอารย์ 

การเทศน์มหาชาติ ในปัจจุบัน มักจะทำตามรูปแบบ อาจมิได้ยึดหลักการในอดีตอีกต่อไป นับว่าน่าเสียดายมาก …ถ้าการเทศน์มหาชาติ เป็นเรื่องของอุดมคติ ความวุ่นวาย จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป ความรักความหวังดี การให้ความช่วยเหลือต่อกันและกัน การเสียสละ การให้ทาน นับว่าเป็นอานิสงส์อันสูงสุด ที่ไม่มี สิ่งใดมาเทียบเคียงได้  ประเพณีการเทศน์มหาชาติ มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ตามความเหมาะสมของสภาวะสังคม ไม่สามารถที่จะ รักษาไว้ได้อย่างเดิม เพราะเป็นภาวะปกติของสังคม ในการเปลี่ยนแปลง เทศนามหาชาติในปัจจุบัน เป็นการรักษาวัฒนธรรม ดั้งเดิมไว้ ส่วนอานิสงส์จะเกิดขึ้นเหมือนเดิมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของผู้ฟังเทศน์ ถ้าสักแค่ให้ครบตามโอกาสคงไม่เกิดประโยชน์อันใด ความตั้งใจมั่น เจตนาที่ดี ของการให้ทานย่อมส่งอานิสงส์ ให้เป็นสุข ในสังคมอุดมคติ ไม่ต้องรอไปถึงสังคมศาสนาพระศรีอารย์

ภาพโดย : http://www.dhammajak.net/board/files/2_116.jpg

 

คำสำคัญ : เทศน์มหาชาติ

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06/06E.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีเทศน์มหาชาติ. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=154&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=154&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 555

รำโทน

รำโทน

รำโทนมีมาก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการพบปะกันระหว่างหนุ่มสาวในงานเทศกาลต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ผู้สืบค้น แม่ลำภุ ทองธรรมชาติ และแสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น  ดนตรีและนักร้องเริ่มบรรเลง หนุ่มสาวจะออกรำเป็นคู่ๆ รำไปรอบลงจะมีลีลาและท่าทางประกอบในแต่ละเพลง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,292

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 2,982

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษา

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,716

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน 

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,669

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,269

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,725

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,629

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,427

วัฒนธรรมข้ามโลก

วัฒนธรรมข้ามโลก

ความรักและบุเพสันนิวาส เป็นสิ่งที่ไม่มีคำตอบและคำถาม ว่าทำไมคนสองคนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลก จึงมีโอกาสได้อยู่ด้วยกัน ได้รักกัน ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะโลกไร้พรมแดนอย่างจริงจัง การที่สาวไทยไปแต่งงานกับคนต่างชาติ มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย พม่า กะเหรี่ยง เวียดนาม ลาว หรือชาติบ้านใกล้เรือนเคียง ปัจจุบันยุโรปและอเมริกา คนละซีกโลก แต่เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็ลัดฟ้ามาพบกันได้ เราจึงเรียกเขยฝรั่งเหล่านี้ว่า สานสัมพันธ์วัฒนธรรมข้ามโลก ดำเนินการโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 900