สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้ชม 1,472

[16.4800561, 99.5106324, สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร]

         สงกรานต์แต่ละเมืองต่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป กำแพงเพชรเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มี เอกลักษณ์งานสงกรานต์เฉพาะตัว เพราะเป็นเมืองโบราณที่สืบทอดประเพณีสงกรานต์กันมาหลายร้อยปี โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมากซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว
         ประชาชนจะเริ่ม รดน้ำสาดน้ำกัน ในวันที่ 12 นี้ บรรยากาศสงกรานต์ ในทุ่งมหาราช ที่บรรยายภาพ ที่สนุกสนาน หนุ่มสาวจะมีโอกาสได้ใกล้ชิด และถูกเนื้อต้องตัวกันในประเพณีสงกรานต์ โดยที่ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตะลุมบอน และจับฝ่ายชาย มอมด้วยดินหม้อ ฝ่ายหญิงจะจับฝ่ายชายเพื่อเรียกค่าไถ่ แล้วนำมาดื่มกินอย่างสนุกสนานและเป็นกันเอง ไม่เลือกชั้นวรรณะเล่นกันอย่างสนุกสุดตัว ฝ่ายชายก็จะมอมหน้าฝ่ายหญิง ด้วย ดินหม้อเหมือนกัน ตอนกลางคืนจะเป็นการเข้าทรงแม่ศรี ซึ่งเหมือนกับเป็นการ คัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน ในสมัยโบราณในวันที่ 13 เมษายน ซึ่งถือกันว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรที่วัด ถือกันว่าเป็นการฉลองพระเจดีย์ทรายที่ก่อเมื่อวันวาน ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม หลังจากทำบุญตักบาตรในตอนเช้า แล้วจะทำบุญเลี้ยงพระในตอนเพล ประชาชนมาสรงน้ำพระสงฆ์
         ในระหว่างวันสงกรานต์ ชาวกำแพงเพชรไม่เรียกว่ารดน้ำดำหัว แต่เรียกว่าอาบน้ำผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพนับถือ จะมีการจัดขบวนไปอาบน้ำผู้ใหญ่ที่บ้าน เพื่อเป็นการขอศีลขอพรจากผู้ใหญ่ และในการนี้จะจัดเสื้อผ้า น้ำอบ น้ำหอมเพื่อไปผลัดเปลี่ยนให้ ในแต่ละบ้านจะนำพระพุทธรูปประจำบ้านหรือพระเครื่องมาสรงน้ำด้วย
         ในวันที่ 14 เมษายน ประชาชนจะมารวมกันที่วัด เพื่อนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสรงน้ำ เมื่อสรงน้ำแล้วจะถวายภัตตาหารเพล จากนั้นนัดกันแห่ผ้าไปห่มพระบรมธาตุ ที่เมืองนครชุม ประชาชนจะร้องรำเล่นกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งถือกันว่าในพระบรมธาตุมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ตั้งแต่พุทธศักราช 1900 สมัยมหาธรรมราชาลิไท เชื่อกันว่า ถ้าหากไหว้พระบรมธาตุนครชุมแล้ว เหมือนได้นบพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง
         ในวันที่ 15 เมษายน ซึ่งถือกันว่าเป็นวันพญาวัน ผู้เฒ่าผู้แก่ จะใช้ด้ายแดงและด้ายสีขาว ผูกข้อมือ หรือมัดมือบุตรหลาน ตลอดจนภาชนะสิ่งของสัตว์พาหนะต่างๆ พร้อมกับกล่าวคำกวยชัยให้พร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ทุกคน และทุกสิ่งในครอบครัว และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันที่ไหว้เจ้าพ่อหลักเมือง เพื่อกราบไหว้และขอพร ถ้าท่านใดยังค้างบนอยู่ให้แก้บน หรือใช้บน ให้เสร็จสิ้นในวันนี้ด้วย เมื่อสมัยก่อนการเดินทางไปเจ้าพ่อหลักเมืองถือว่าไกล และลำบากนัก ประชาชนจะแห่แหนไปด้วยความสนุกสนาน เป็นวันที่มีประชาชนมารวมกันมากที่สุด เพราะเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกำแพงเพชร ในปีหนึ่งขอให้ทุกคนได้มีโอกาสอาบน้ำเจ้าพ่อครั้งหนึ่ง จากนั้นได้ไปสรงน้ำพระอิศวร เทวรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีบรรยากาศที่สนุกสนานและประทับใจมาก ในอดีต จะมีความสุขมาก เพราะทุกคนไปด้วยความศรัทธาอย่างจริงใจ
         จากนั้นประชาชนหลายหมื่นคน มารวมตัวกันก่อพระทรายน้ำไหล ในบริเวณหน้าเมืองที่มีหาดทราย และน้ำตื้นเหมาะในการก่อพระทรายน้ำไหลมาก วันนี้เป็นวันที่สนุกที่สุดของหนุ่มสาว ในอดีต เป็นวันที่ รวมตัวของหนุ่มสาวในทุกหมู่บ้านตำบล และในวันนี้จะมีการแสดงพลังอำนาจ ของวัยรุ่นในหมู่บ้าน ว่าใครจะเป็นนักเลงจริง ในปัจจุบัน ประเพณีนี้หายไปจากหมู่บ้านแล้ว ชาวกำแพงเพชร ก่อพระทรายน้ำไหลกันด้วยความสามัคคี
         การเล่นรดน้ำ สาดน้ำ ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแต่การสาดน้ำในสมัยโบราณมีการสาดน้ำเล่นน้ำกันอย่างไม่ถือตัวฝ่ายชายหญิงที่ออกมาเล่นน้ำแสดงว่าพร้อมที่จะสนุกสนานด้วย การถูกเนื้อต้องตัว กันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ต้องเป็นไปตามการเล่น หรือกติกา ของสังคม ฝ่ายชายจะไม่ฉวยโอกาสลวนลาม ฝ่ายหญิง แต่ทุกอย่างเป็นไปตามครรลอง แห่งประเพณีอันดีงามประเพณีสงกรานต์ เป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของสังคมที่ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง เป็นการรวมตัวของผู้คนที่มีโอกาสได้พบกันในปีหนึ่งๆพ่อแม่พี่น้องที่ไปทำมาหากินไกลๆ ได้มีโอกาสมาพบกันโดยเป็นสิ่งที่งดงามมากในปีหนึ่ง ทุกคนในตระกูลจะได้มีโอกาสมาพบกัน นานถึงสามวันและเดือนเมษายน เป็นฤดูร้อน ได้ใช้น้ำมาดับร้อนกัน นอกจากจะเป็นความสามัคคี ในครอบครัว ยังเป็นความสามัคคี ในกลุ่มสังคม และในประเทศชาติอีกด้วย นอกจากนั้นสงกรานต์ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่นำเงินเข้าประเทศปีละไม่ใช่น้อย และเชื่อมั่นว่าสงกรานต์จะพัฒนาไปสู่กระบวนการที่ยั่งยืน และถาวรอย่างแน่นอน

 

ภาพโดย : https://www.kppnews.net/wp-content/uploads/2017/04/DSC_0409-512x341.jpg

คำสำคัญ : ประเพณีสงกรานต์

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06/06I.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=147&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=147&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ศาลเจ้าคลองลาน

ศาลเจ้าคลองลาน

ในทุกๆ ปี คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน (เถ่านั๊ง) จะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านค้าตลาดคลองลานพัฒนาทุกๆ บ้าน พ่อค้าประชาชนในตลาดคลองลานพัฒนาที่เลื่อมใสและศรัทธา จะทำการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง ผลไม้ห้าอย่าง ธูป เทียนแดง กระดาษไหว้ พร้อมด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน ออกมาเพื่อต้อนรับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่จะมาอำนวยอวยพรให้พวกเราทุกๆ คนประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,287

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร

ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 3,234

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

บ้านร้านดอกไม้ ในอดีต กลายมาเป็นบ้านลานดอกไม้ในปัจจุบัน ริมฝั่งน้ำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรไปเล็กน้อย มีชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ชุมชนโบราณบ้านลานดอกไม้ ในชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนดั้งเดิม ประชาชนอาศัยอยู่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมจึงฝังรากลึก ในบ้านลานดอกไม้ เพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมากว่าร้อยปี จึงอยู่ในสายเลือดของชาวบ้าน การตามหาเพลงพื้นบ้าน โดยการไปพบแม่เปรื่อง ผิวพรรณ วัย 70 ปี ลูกศิษย์เอกของแม่ต่อ นุ่มน่วม แม่เพลงในอดีต ที่เสียชีวิตไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,011

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 5,306

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,674

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)มีขึ้นภายหลังจากที่มีการอยู่กรรมจากการเผาไฟในไร่ช่วงกลางเดือนเมษายน ตรงกับเดือนอาข่า "ขึ่มสึ บาลา"อาข่าจะประกอบพิธี "ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว" เป็นประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีปีใหม่ชนไข่ เนื่องจากประเพณีนี้มีการนำไข่มาใช้ประกอบพิธี เด็กๆ จะมีการเล่นชนไข่ โดยการย้อมเปลือกไข่ให้เป็นสีแดง และใส่ตะกร้าห้อยไปมา เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,736

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,719

ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร

โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ คุยกัน เกี้ยวพาราสี กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมาก??ซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,562

สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

สงกรานต์กับเมืองโบราณกำแพงเพชร

สงกรานต์แต่ละเมืองต่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป กำแพงเพชรเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มี เอกลักษณ์งานสงกรานต์เฉพาะตัว เพราะเป็นเมืองโบราณที่สืบทอดประเพณีสงกรานต์กันมาหลายร้อยปีโดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,472

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,371