ลิเกป่า

ลิเกป่า

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 2,555

[16.4336195, 99.4094765, ลิเกป่า]

ที่มา
        เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

วิธีการเล่น
        ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด 

การแต่งกาย
        ชายหญิง แต่งกายธรรดาเหมือนอยู่บ้าน 

เนื้อเพลง
ชาย  - แม่คิ้วโก่งเหมือนวงฆ้อง พี่อยากได้นวลน้องเข้ามาพาที แม่กลิ่นเอยกลิ่นธูปที่เขาจุดฟังเทศน์มาตัดสวาทขาดเด็ด ช่างไม่เหลียวหลัง ทำให้พี่หลงรอ เชียวนะแม่ช่อดอกรัง
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย       
หญิง - พ่อคิ้วโก่งเหมือนวงพระจันทร์ คิ้วน้องนี้ไม่ต้องกันมันก็โก่งอยู่เอง พ่อผมแหวกหว่างหวีทำให้น้องนี้วังเวง
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย
ชาย - พี่รักน้องมานาน ไม่รู้จะไปไหว้วานใครเขามาเป็นสื่อ พี่ก้มหน้าเขียนสารจนชาวบ้านเขาลื
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - อย่ามัวรักน้องเลย เดี๋ยวชาวบ้านเขาเย้ยเอานะพ่อปูก้ามเก จงถอยหลังลงรูปเถิดนะพ่อปูทะเล
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย       
ชาย - แม่ปลาปิ้งข้าวปั้น น้องอย่ามาทำป่วนปั่นว่าพี่เกี้ยวไม่เป็น พี่เอามือเขาไปแปะ น้องก็ป่ายมือปัด มือพี่ไม่กัดเนื้อเป็นน้องจะเว้าก้เว้า แม่นกกาเหว่าเสียเย็น
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่ออ้อยลำโอน ปล่อยให้ใครเขาโหน เอาเสียจนลำเอน ไม่กลัวแฟนๆ ที่ว่า จะสู้ก้ม หน้ารับเดน
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย
ชาย - แม่ทับทิมริมตลิ่ง ขอให้พี่ตอนสักกิ่งพี่จะเอาไว้ทำพันธุ์ ถ้าทับทิมไม่ตาย เราคงไม่วายรักกัน
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย      
หญิง - พ่อทับทิมริมสระ ให้พี่ไปบวชเป็นพราะ ไม่เถิดนะพี่ไป พี่อย่ามาหลงรักน้อง เดี๋ยวจะไม่ได้ครองผ้าไตร
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย
ชาย  - อนิจจาแม่ยาใจ พี่มีความรักใคร่กับแม่ พอถึงวันดีพี่จะมาหมั้น พอถึงวันจันทร์พี่จะมาขอแม่แขนอ่อนเหมือนท่อนจันทน์ ถ้ารักฉันน้องจงรอ
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่อ ร. เรือรุ่งริ่ง พ่อ ล. ลิงจับหลัก พี่อย่ามาพะวงหลงรัก เลยนะพ่อ ร. เรือรูปหล่อ พ่อ ร. เรือหลุดหลักถึงมาบอกรักน้องก็ไม่รอ
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
ชาย  - แม่ฝรั่งข้างรั้ว น้องจะสุกคาขั้วเอาไว้คอยใคร น้องจะหล่นก็หล่น ขอให้พี่คนละใบ
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ เอ๊ย
หญิง - พ่อฝรั่งข้าวรั้ว น้องไม่สุกคาขั้วเอาไว้คอยใคร รักน้องไม่หล่นไม่เล็ด แม้แต่เท่าเม็ดพริกไทย
ลูกคู่  - โย้นๆ จัง เขาไม่รักเราจริงก็ไปเสียดอกกระมัง ก้ไปเสียดอกกระมัง เอ้อ เออ เอ่อ  เอ๊ย 

ผู้แสดง
                นางแฉล้ม  บุญสุข   แสดงเป็นชาย
                นางพวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา  แสดงเป็นหญิง

ลูกคู่ลิเกป่า นางลั่นทม  โรจนพัฒนกุล
                นางสุภาพ  สุขสำราญ
                นางเนียม   เกตุน้อย
                นางบุญมา  เงินอาจ
                นางมณี   กาวีสูง
                ด.ญ. นันทิกาญจน์  เงินอาจ
                นางมาลี  คำอินทร์

 ลักษณะคำประพันธ์
        เป็นคำคล้องจองที่ใช้ปฏิภาณไหวพริบ ทำให้เกิดสัมผัสระหว่างวรรคใช้ลีลาทำนองและน้ำเสียงคล้ายๆ ลิเก แต่เป็นการโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาว ดัดแปลงมีลูกคู่กำกับเหมือนลำตัดและเพลงฉ่อย แต่ลักษณะคำประพันธ์หาแบบฉบับที่มาตรฐานไม่ได้ จึงเป็นลักษณะวรรณกรรมชาวบ้าน ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งทั้งจำนวนวรรค ไม่สามารถสรุปเป็นรูปแบบได้

คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน

ที่มา : สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2544). การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ลิเกป่า. สืบค้น 15 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=126&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=126&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 2,521

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,919

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 7,605

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

การยกยอดฉัตรองค์พระบรมธาตุนครชุม

พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จพญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อ โดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,298

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,213

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 10,823

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,864

ตักบาตรข้าวต้ม

ตักบาตรข้าวต้ม

ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,880

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 789

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 6,365