พิธีโกนจุก

พิธีโกนจุก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 6,675

[16.1553981, 99.9413734, พิธีโกนจุก]

       สมัยก่อน เด็กไทยชายหญิงจะมีทรงผมที่นิยมไว้คล้ายๆ กัน เช่น ผมจุก ผมเปีย ผมแกละ หรือผมโก๊ะ แต่ปัจจุบันทรงผมเหล่านี้เริ่มหายไปจากสังคมไทยแล้ว จะพอหาได้ตามต่างจังหวัดเท่านั้น ทรงผมของเด็กไทยโบราณนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อของคนในสมัยก่อนที่ว่า เด็กที่เจ็บออดๆ แอดๆ หรือเลี้ยงยาก ถ้าไว้ผมจุก ผมเปียจะหายเจ็บไข้ได้ป่วย กลับมาแข็งแรง เลี้ยงง่าย
       สาเหตุที่เด็กไทยสมัยก่อนต้องไว้ผมจุก ผมเปียของเด็กสมัยก่อนนั้น ถ้าพูดถึงเรื่องของความเชื่อแล้ว เชื่อกันว่าเด็กที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บไข้กระเซาะกระแซะบ่อยๆ ให้ไว้ผมจุก หรือผมเปียแล้วจะหายจากอาการป่วยนั้นได้ และเมื่ออายุครบก็จะต้องโกนจุกหรือเปียนั้นทิ้ง หลังจากนั้นเด็กคนนั้นก็จะอยู่เย็นเป็นสุข
       แต่ถ้าพิจารณากันตามหลักเหตผลแล้วจะพบว่า ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การให้เด็กไว้ผมยาวจะทำให้เด็กเกิดความรำคาญ ดูแลรักษายาก แต่จะให้โกนผมออกทั้งหมดก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากกลางกระหม่อมหรือกลางกะโหลกศีรษะเด็กซึ่งจะเรียกกันว่า ขวัญ ยังบอบบางเป็นเพียงเนื้ออ่อนๆ เท่านั้น จำเป็นต้องมีสิ่งปกปิดป้องกันอันตราย หากมีการโกนผมในส่วนนั้นออกอาจจะเป็นอันตรายกับกะโหลก สมองของเด็กได้ จึงโกนเฉพาะส่วนอื่นๆ แล้วปล่อยส่วนกลางกระหม่อมเอาไว้
       หลังจากที่ไว้ผมจุก ผมเปียมาได้ระยะหนึ่ง บางคนอาจจะ 5 ปี 7 ปี 9 ปี หรือ 11 ปี ถึงจะโกนผมจุกผมเปียออก แต่จะไม่นิยมโกนจุกเมื่อเด็กอายุตกเลขคู่ ครอบครัวที่มีฐานะดีหรือพอมีฐานะก็จะนิมนต์พระตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป มาสวดมนต์ (สวดขยันโต) เพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเด็ก มีการถวายภัตตาหารเช้า จัดมหรสพมาฉลอง เช่น ลิเก ภาพยนตร์ แต่ถ้าบ้านไหนฐานะไม่ค่อยดี ก็มักจะโกนกันพอเป็นพิธีโดยอาจจะให้พระธุดงค์ทำพิธีโกนให้ หรือใช้ยางรัดจุดแล้วตัดปลายจุกเท่านั้นเพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลือง แต่พ่อแม่จะไม่โกนกันเองเพราะเชื่อกันว่าถ้าทำกันเองแล้วเด็กอาจจะเสียสติเป็นบ้าได้ ถ้าจะโกนก็จะต้องนิมนต์พระสงฆ์มาทำโกนจุกให้เท่านั้น
       อุปกรณ์สำหรับพิธีโกนจุกจะประกอบด้วยสิ่งของหลายอย่าง กรรไกรด้ามเงิน กรรไกรด้ามทอง และกรรไกรด้ามธรรมดา ใบบอนหรือใบบัวสำหรับเย็บกระทง ดอกไม้ ธูป เทียน ใบเงิน ใบทอง หอยสังข์สำหรับตักน้ำมนต์รด หญ้าแพรกสำหรับพันเป็นแหวนหัวพิรอด
       พิธีโกนผมจุกจะเริ่มพิธีในตอนเช้าเมื่อพระสวดชยันโต ถวายภัตตาหารเช้า จากนั้นจะใช้หอยสังข์ตักน้ำมนต์ที่ผ่านพิธีสวดชยันโตแล้ว รดลงบนศีรษะเด็ก พระสงฆ์จะใช้กรรไกรขลิบผมพอเป็นพิธีและส่งต่อให้พ่อแม่เด็กหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือเป็นคนโกนผมต่อไป แล้วจะใช้แหวนหัวพิรอดมาสวมครอบจุกเอาไว้ ส่วนครอบครัวที่ฐานะดีจะใช้ปิ่นปักผมปักผมจุกแทน ส่วนผมที่โกนออกก็จะเก็บใส่กระทงใบบัวหรือใบบอนที่เตรียมไว้ พร้อมกับดอกไม้ ธูปเทียน แล้วนำไปลอยน้ำ เป็นอันเสร็จพิธี
       ในบางท้องถิ่น ก่อนจะเข้าสู่พิธีโกนผมจุกจะมีการทำขวัญก่อน คล้ายการทำขวัญนาค เนื่องจากเชื่อกันว่าขวัญของเด็กอาจจะไปเที่ยวเล่นที่ไหนไกล จำเป็นต้องเรียกขวัญกลับมาอยู่กับตัวเสียก่อน และก่อนที่จะทำพิธีโกนผมจุก จะไม่ให้เด็กไปเที่ยวเล่นที่ไหนอีกเพื่อเป็นการรักษาเนื้อรักษาตัวเด็กไว้สำหรับพิธีโกนจุก หากจำเป็นต้องเดินทางจะใช้การขี่คอเด็กคนอื่นแทนไปก่อน

 

 

คำสำคัญ : ประเพณีและพิธีโกนจุก

ที่มา : ประเพณีและวันสำคัญต่างๆ ของไทย. (2552). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.9bkk.com/article/custom/custom2.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พิธีโกนจุก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=180&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=180&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 22,870

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 4,807

ระบำ ก. ไก่

ระบำ ก. ไก่

ชุมชนบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หลายด้าน เช่น นิทานเรื่องท้าวแสนปม การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงระบำ ก. ไก่ ซึ่งมีลักษณะการใช้ภาษาที่โดดเด่นเล่นคำอักษร ก ถึง ฮ เนื้อหาของบทร้องเป็นไปในเชิงเกี้ยวพาราสี โดยสะท้อนถึงชีวิตของคนไทยสมัยหนึ่ง จึงเป็นกิจกรรมที่พึงกระทำ และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อมา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,139

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,946

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,594

ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดกำแพงเพชร

โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ คุยกัน เกี้ยวพาราสี กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมาก??ซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,845

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,589

ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีลอยกระทงธารประทีป จังหวัดกำแพงเพชร

เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและของท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 2,542

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

บ้านร้านดอกไม้ ในอดีต กลายมาเป็นบ้านลานดอกไม้ในปัจจุบัน ริมฝั่งน้ำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรไปเล็กน้อย มีชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ชุมชนโบราณบ้านลานดอกไม้ ในชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนดั้งเดิม ประชาชนอาศัยอยู่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมจึงฝังรากลึก ในบ้านลานดอกไม้ เพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมากว่าร้อยปี จึงอยู่ในสายเลือดของชาวบ้าน การตามหาเพลงพื้นบ้าน โดยการไปพบแม่เปรื่อง ผิวพรรณ วัย 70 ปี ลูกศิษย์เอกของแม่ต่อ นุ่มน่วม แม่เพลงในอดีต ที่เสียชีวิตไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,195

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 935